โฆษณาแนวนอน728*90

บทความใหม่

ประวัติและวัตถุมงคลหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ เจ้าของไหมเบญจรงค์ที่เลื่องชื่อ

ภาพถ่ายหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ สมุทรสงคราม
หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ สมุทรสงคราม

         หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ หรือ พระครูสุนทรธรรมกิจ อดีตเจ้าอาวาสวัดแก้วเจริญ ตำบลเหมืองใหม่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ท่านเป็นพระที่มีชื่อเสียงโด่งดังจากไหม ๗ สี หรือ ไหมเบญจรงค์ ซึ่งเป็นที่เสาะแหวงหากันเป็นอันมาก

         หลวงพ่อหยอด พื้นเพท่านเป็นชาวราชบุรี เกิดเมื่อวันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ ที่ตำบลตาหลวง อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี มีชื่อจริงว่าสนุทร ชุติมาศ มีชื่อเรียกกันโดยทั่วไปว่า หยอด โยมบิดาชื่อนายมุ่ย แซ่อึ้ง มีโยมมารดาชื่อนางเหมือน แซ่อึ้ง ต่อมาได้เปลี่ยนมาใช้นามสกุล ชุติมาศ เมื่อยังเล็กท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดแก้วเจริญ โดยมีหลวงพ่อเปลี่ยน เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ ได้ศึกษาเล่าเรียนวิชาต่างๆกับหลวงพ่อเปลี่ยน

ภาพถ่ายหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ สมุทรสงคราม
หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ สมุทรสงคราม

         ปี พ.ศ. ๒๔๗๔ หลวงพ่อหยอดมีอายุครบบวช ท่านจึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดแก้วเจริญ ตำบลวัดประดู่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม เมื่อวันที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๔ ได้รับฉายาว่า "ชินวังโส" โดยมี

         พระราชมงคลวุฒาจารย์ (ใจ) วัดเสด็จ เมื่อครั้งยังเป็นที่ ‘พระครูสุทธิสารวุฒาจารย์’ เป็นพระอุปัชฌาย์

         หลวงพ่อเปลี่ยน (สุวณฺณโชโต) วัดแก้วเจริญ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ 

         พระครูอุดมสุตกิจ (พลบ) วัดปราโมทย์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

         หลังจากอุปสมบทท่านได้อยู่จำพรรษาที่วัดแก้วเจริญ เพื่อรับใช้หลวงพ่อเปลี่ยน และร่ำเรียนวิชาต่างๆ ทั้งจากหลวงปู่ใจ วัดเสด็จ และหลวงพ่อเปลี่ยน วัดแก้วเจริญ หลังจากนั้นจึงได้ร่ำเรียนวิชาจนสามารถสอบปริยัติธรรมได้นักธรรมตรีในปี พ.ศ. ๒๔๗๓ นักธรรมโทในปี พ.ศ. ๒๔๗๖ และนักธรรมเอกในปี พ.ศ. ๒๔๗๘

ภาพถ่ายหลวงปู่ใจ วัดเสด็จ สมุทรสงคราม
หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ สมุทรสงคราม พระอุปัชฌาย์ของหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ

         และเมื่อหลวงพ่อเปลี่ยน ได้มรณภาพลงในวันที่ ๑๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๔  วัดแก้วเจริญจึงได้ว่างตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดอีกครั้งหนึ่ง พระราชมงคลวุฒาจารย์ (หลวงปู่ใจ) วัดเสด็จ ในฐานะเจ้าคณะอำเภออัมพวา ได้เรียกประชุมสงฆ์เพื่อปรึกษาสรรหาเจ้าอาวาสวัดสืบแทน ที่สุดจึงเลือกหลวงพ่อสุนทร หรือ หลวงพ่อหยอด ชินวังโส ดูแลและรักษาการตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดไปก่อน

         วัดแก้วเจริญ เป็นวัดโบราณของชาวรามัญ สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้สร้าง และมีนามเดิมชื่อว่าวัดอะไร เพราะได้รกร้างมาเป็นเวลานาน 

         มีเรื่องเล่าว่า ชาวบ้านท่าใหญ่กรุงศรีอยุธยาได้อพยพหลบภัยพม่า เมื่อเสียกรุง พ.ศ. ๒๓๑๐ มาถึงสถานที่แห่งนี้แล้วเห็นว่ามีทำเลเหมาะสม จึงช่วยกันแผ้วถางป่าลึก เข้าไปประมาณ ๓ เส้น ได้พบวัดร้าง มีซากอุโบสถ พระพุทธรูปศิลาแลง ปางต่างๆ มากมาย และพระพุทธรูปสร้างด้วยแก้ว มีใบเสมารอบอุโบสถ พระพุทธรูปหล่อด้วยทองสมฤทธิ์ไม่มีผ้าพาด ซึ่งเรียกว่าพระกรวยอยู่เป็นอันมาก 

ภาพถ่ายหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ สมุทรสงคราม
หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ สมุทรสงคราม

         บริเวณวัดยังมีเจดีย์รามัญ ๒ องค์ ชำรุดหักพังอยู่ ชาวบ้านเห็นว่าคงไม่เหมาะกับการสร้างที่อยู่อาศัยเพราะมีวัดร้างอยู่ จึงไปแผ้วถางสถานที่แห่งใหม่ ห่างจากวัดประมาณ ๕ เส้น ตั้งเป็นหมู่บ้านท่าใหญ่ตามชื่อเดิมของผู้อพยพ

         จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๓๔๐ เจ้าอาวาสชื่อพระอธิการต่าย ได้ปฏิสังขรณ์วัดให้มีสภาพดีขึ้น โดยพระพุทธรูปที่สร้างด้วยแก้วเป็นปูชนียวัตถุที่สำคัญ ประชาชนจึงเรียกวัดนี้ว่า วัดแก้ว ต่อมาพระพุทธรูปแก้วองค์นี้ เนื่องจากมีขนาดเล็กมาก เกรงว่าจะไม่ปลอดภัย 

         และเห็นว่าควรจะเก็บไว้ในที่ปลอดภัย จึงฝังไว้ที่ใต้ฐานชุกชีของพระประธาน ปัจจุบันอยู่ภายนอกฐานชุกชีแล้ว วัดประกาศตั้งเป็นวัดเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๗๕ ชื่อว่า "วัดแก้วเจริญ" และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๙  

ภาพถ่ายหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ สมุทรสงคราม
หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ สมุทรสงคราม

         หลวงพ่อหยอด รักษาการเจ้าอาวาสเรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ. ๒๔๘๗ หลวงพ่อหยอด จึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดแก้วเจริญ และเจ้าคณะตำบลเหมืองใหม่-วัดประดู่ ไปพร้อมๆกันอีกตำแหน่งหนึ่งด้วย

         หลังจากได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาส หลวงพ่อหยอดได้พัฒนาวัดอย่างสุดความสามารถ จนวัดเจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับ ทั้งการจัดการให้วัดเป็นสถานพยาบาลรักษาญาติโยมที่เดือดร้อนต่างๆ แต่ที่โด่งดังมากคือการต่อกระดูก ประสานกระดูก เรียกว่าสมัยก่อนใครแขนหักขาหัก ไม่มีชาวบ้านคนไหนไปโรงพยาบาล แต่มารักษาที่วัดแก้วเจริญกันแทบทั้งสิ้น

         ปี พ.ศ. ๒๔๙๑ ด้วยคุณงามความดีของท่าน ท่านจึงได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรีที่ "พระครูสุนทรธรรมกิจ"

         ปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ 

         ปี พ.ศ. ๒๕๐๗ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท 

         ปี พ.ศ. ๒๕๑๗ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญาบัตรชั้นเอก

         หลวงพ่อหยอด ปกครองวัดแก้วเจริญเรื่อยมาจนถึงแก่มรณภาพลงด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ นับสิริรวมอายุได้ ๘๖ ปี ๙ เดือน ๒๔ วัน ๖๖ พรรษา ร่างกายหาได้เปื่อยเน่าไม่.

วัตถุมงคลของหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ 

         พระซุ้มลึก หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่นแรก

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ เพื่อออกให้บูชาหารายได้สร้างศาลาการเปรียญของทางวัด จัดเป็นพระเครื่องยุคแรกของหลวงพ่อหยอด ลักษณะเป็นพระเนื้อผงยา มีการสร้างด้วยเนื้อผงยาเสียเป็นส่วนมาก จัดเป็นพระพิมพ์หายากพิมพ์หนึ่งของหลวงพ่อ  จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

พระเนื้อผงยา หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ สมุทรสงคราม รุ่น1 ปี 2497 ซุ้มลึก
พระพิมพ์ลึก หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ เนื้อผงยา

พระพิมพ์ซุ้มเรือนแก้วเนื้อผงยา หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ สมุทรสงคราม รุ่น1 ปี 2497
พระพิมพ์ซุ้มเรือนแก้ว หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ เนื้อผงยา

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปพระพุทธปางมารวิชัย ประทับนั่งบนฐานบัวลึกเข้าไปในซุ้ม ไม่ปรากฏอักษรภาษาไทยใดๆในองค์พระ

         ด้านหลัง เรียบ ไม่ปรากฏอักขระอักษรไทยใดๆ

         พระพิมพ์บัวคว่ำบัวหงาย หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่นแรก

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ เพื่อออกให้บูชาหารายได้สร้างศาลาการเปรียญของทางวัด จัดเป็นพระเครื่องยุคแรกของหลวงพ่อหยอด ลักษณะเป็นพระเนื้อผงยา มีการสร้างด้วยเนื้อผงยาเสียเป็นส่วนมาก จัดเป็นพระพิมพ์หายากพิมพ์หนึ่งของหลวงพ่อ  จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

พระพิมพ์ซุ้มบัวคว่ำบัวหงายเนื้อผงยา หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ สมุทรสงคราม รุ่น1 ปี 2497-2
พระพิมพ์บัวคว่ำบัวหงาย หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ เนื้อผงยา

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปพระพุทธปางมารวิชัย ประทับนั่งบนฐานบัว ภายในซุ้มเรือนแก้ว ไม่ปรากฏอักษรภาษาไทยใดๆในองค์พระ

         ด้านหลัง เรียบ ไม่ปรากฏอักขระอักษรไทยใดๆ

         พระพิมพ์ซุ้มทวารวดี หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่นแรก

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ เพื่อออกให้บูชาหารายได้สร้างศาลาการเปรียญของทางวัด จัดเป็นพระเครื่องยุคแรกของหลวงพ่อหยอด ลักษณะเป็นพระเนื้อผงยาพิมพ์ทวารวดี มีการสร้างด้วยเนื้อผงยาเสียเป็นส่วนมาก แต่ก็มีบ้างที่พบเจอเนื้อผงสีขาว และเนื้อดิน(หายาก) จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

พระพิมพ์ซุ้มทวารวดีเนื้อผงยา หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ สมุทรสงคราม รุ่น1 ปี 2497
พระพิมพ์ซุ้มทวารวดี หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ เนื้อผงยา

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปพระพุทธปางมารวิชัย ประทับนั่งบนฐานบัวอยู่ในซุ้มเรือนแก้ว แบบพระทวารวดี ไม่ปรากฏอักษรภาษาไทยใดๆในองค์พระ

         ด้านหลัง เรียบ ไม่ปรากฏอักขระอักษรไทยใดๆ

         พระพุทธชินราช หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่นแรก

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ เพื่อออกให้บูชาหารายได้สร้างศาลาการเปรียญของทางวัด จัดเป็นพระเครื่องยุคแรกของหลวงพ่อหยอด ลักษณะเป็นพระเนื้อผงยาพิมพ์สามเหลี่ยม มีการสร้างด้วยเนื้อผงยาเสียเป็นส่วนมาก แต่ก็มีบ้างที่พบเจอเนื้อผงพุทธคุณสีขาวอมเหลือง จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

พระพุทธชินราชเนื้อผงยา หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ สมุทรสงคราม รุ่น1 ปี 2497
พระพุทธชินราช หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ เนื้อผงยา

พระพุทธชินราชเนื้อผงยา หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ สมุทรสงคราม รุ่น1 ปี 2497
พระพุทธชินราช หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ เนื้อผง

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปพระพุทธชินราช ประทับนั่งบนฐานบัวแหลมสวยงาม แต่ไม่ปรากฏอักษรภาษาไทยใดๆในองค์พระ

         ด้านหลัง เรียบ ไม่ปรากฏอักขระอักษรไทยใดๆ

         พระร่วงนั่ง หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่นแรก

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ เพื่อออกให้บูชาหารายได้สร้างศาลาการเปรียญของทางวัด จัดเป็นพระเครื่องยุคแรกของหลวงพ่อหยอด ลักษณะเป็นพระเนื้อผงยาพิมพ์สามเหลี่ยม มีการสร้างด้วยเนื้อผงยาเสียเป็นส่วนมาก แต่ก็มีบ้างที่พบเจอเนื้อผงพุทธคุณสีขาวอมเหลือง จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

พระร่วงนั่งเนื้อผงยา หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ สมุทรสงคราม รุ่น1 ปี 2497
พระร่วงนั่ง หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ เนื้อผงยา

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปพระพุทธปางสมาธิ ประทับนั่งบนฐานบัว ๒ ชั้น สวยงาม แต่ไม่ปรากฏอักษรภาษาไทยใดๆในองค์พระ

         ด้านหลัง เรียบ ไม่ปรากฏอักขระอักษรไทยใดๆ

         พระซุ้มนครโกษา หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่นแรก

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ เพื่อออกให้บูชาหารายได้สร้างศาลาการเปรียญของทางวัด จัดเป็นพระเครื่องยุคแรกของหลวงพ่อหยอด ลักษณะเป็นพระเนื้อผงยาพิมพ์ห้าเหลี่ยม มีการสร้างด้วยเนื้อผงยาเสียเป็นส่วนมาก แต่ก็มีบ้างที่พบเจอเนื้อผงพุทธคุณสีขาวอมเหลือง จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

พระพิมพ์ซุ้มนครโกษาเนื้อผงยา หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ สมุทรสงคราม รุ่น1 ปี 2497
พระพิมพ์นครโกษา หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ เนื้อผงยา

พระพิมพ์ซุ้มนครโกษาเนื้อผงยา หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ สมุทรสงคราม รุ่น1 ปี 2497-2
พระพิมพ์นครโกษา หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ เนื้อผงยา

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปพระพุทธปางสมาธิ ประทับนั่งบนฐานบัวแหลมสวยงาม องค์พระมีซุ้มแบบพระนครโกษา จึงเป็นที่มาของชื่อพิมพ์นี้ แต่ไม่ปรากฏอักษรภาษาไทยใดๆในองค์พระ

         ด้านหลัง เรียบ ไม่ปรากฏอักขระอักษรไทยใดๆ

         พระสมเด็จอกครุฑ หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่นแรก

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ เพื่อออกให้บูชาหารายได้สร้างศาลาการเปรียญของทางวัด จัดเป็นพระเครื่องยุคแรกของหลวงพ่อหยอด ลักษณะเป็นพระสมเด็จเนื้อผง พิมพ์สี่เหลี่ยม มีการสร้างด้วยเนื้อผงพุทธคุณสีขาวอมเหลือง ซึ่งมีส่วนผสมของผงวิเศษต่างๆที่หลวงพ่อรวบรวมเอาไว้ นอกจากนี้ยังมีผงพุทธคุณที่หลวงพ่อได้ลบผงเอง เป็นส่วนผสมหลัก พิมพ์นี้จัดเป็นพิมพ์หายาก จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

พระสมเด็จอกครุฑหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่นแรก 2497
พระสมเด็จอกครุฑ หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ เนื้อผง

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปพระสมเด็จอกครุฑหูบายศรี องค์พระสมเด็จประทับนั่งบนฐานเขียง ๕ ชั้น จึงเป็นที่มาของชื่อพิมพ์พระ องค์พระมีซุ้มระฆังครอบสวยงาม แต่ไม่ปรากฏอักษรภาษาไทยใดๆในองค์พระ

         ด้านหลัง เรียบ ไม่ปรากฏอักขระอักษรไทยใดๆ

         พระสมเด็จอกร่องหูบายศรี หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่นแรก

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ เพื่อออกให้บูชาหารายได้สร้างศาลาการเปรียญของทางวัด จัดเป็นพระเครื่องยุคแรกของหลวงพ่อหยอด ลักษณะเป็นพระสมเด็จเนื้อผง พิมพ์สี่เหลี่ยม มีการสร้างด้วยเนื้อผงพุทธคุณสีขาวอมเหลือง ซึ่งมีส่วนผสมของผงวิเศษต่างๆที่หลวงพ่อรวบรวมเอาไว้ นอกจากนี้ยังมีผงพุทธคุณที่หลวงพ่อได้ลบผงเอง เป็นส่วนผสมหลัก พิมพ์นี้จัดเป็นพิมพ์หายาก จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

พระสมเด็จอกร่องหูบายศรีหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่นแรก 2497
พระสมเด็จอกร่องหูบายศรี หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ เนื้อผง

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปพระสมเด็จอกร่องหูบายศรี องค์พระสมเด็จประทับนั่งบนฐานเขียง ๕ ชั้น จึงเป็นที่มาของชื่อพิมพ์พระ องค์พระมีซุ้มระฆังครอบสวยงาม แต่ไม่ปรากฏอักษรภาษาไทยใดๆในองค์พระ

         ด้านหลัง เรียบ ไม่ปรากฏอักขระอักษรไทยใดๆ

         พระสมเด็จฐานแซม หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่นแรก

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ เพื่อออกให้บูชาหารายได้สร้างศาลาการเปรียญของทางวัด จัดเป็นพระเครื่องยุคแรกของหลวงพ่อหยอด ลักษณะเป็นพระสมเด็จเนื้อผง พิมพ์สี่เหลี่ยม มีการสร้างด้วยเนื้อผงพุทธคุณสีขาวอมเหลือง ซึ่งมีส่วนผสมของผงวิเศษต่างๆที่หลวงพ่อรวบรวมเอาไว้ นอกจากนี้ยังมีผงพุทธคุณที่หลวงพ่อได้ลบผงเอง เป็นส่วนผสมหลัก พิมพ์นี้จัดเป็นพิมพ์หายาก จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

พระสมเด็จพิมพ์ฐานแซมหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ 2497
พระสมเด็จพิมพ์ฐานแซม หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ ปี พ.ศ. ๒๔๙๗

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปพระสมเด็จอกตันหูบายศรี องค์พระสมเด็จประทับนั่งบนฐานเขียง ๓ ชั้น แต่มีฐานเล็กๆอีกฐานใต้องค์พระ จึงเป็นที่มาของชื่อพิมพ์พระ องค์พระมีซุ้มระฆังครอบสวยงาม แต่ไม่ปรากฏอักษรภาษาไทยใดๆในองค์พระ

         ด้านหลัง เรียบ ไม่ปรากฏอักขระอักษรไทยใดๆ

         พระสมเด็จฐานบัว หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่นแรก

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ เพื่อออกให้บูชาหารายได้สร้างศาลาการเปรียญของทางวัด จัดเป็นพระเครื่องยุคแรกของหลวงพ่อหยอด ลักษณะเป็นพระสมเด็จเนื้อผง พิมพ์สี่เหลี่ยม มีการสร้างด้วยเนื้อผงพุทธคุณสีขาวอมเหลือง ซึ่งมีส่วนผสมของผงวิเศษต่างๆที่หลวงพ่อรวบรวมเอาไว้ นอกจากนี้ยังมีผงพุทธคุณที่หลวงพ่อได้ลบผงเอง เป็นส่วนผสมหลัก พิมพ์นี้จัดเป็นพิมพ์หายาก จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

พระสมเด็จฐานบัวหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่นแรก 2497
พระสมเด็จฐานบัว หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ เนื้อผง

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปพระสมเด็จหูบายศรี องค์พระสมเด็จประทับนั่งบนฐานเขียง ๖ ชั้น ชั้นที่ ๗ ล่างสุดเป็นฐานบัว จึงเป็นที่มาของชื่อพิมพ์พระ องค์พระมีซุ้มระฆังครอบสวยงาม แต่ไม่ปรากฏอักษรภาษาไทยใดๆในองค์พระ

         ด้านหลัง เรียบ ไม่ปรากฏอักขระอักษรไทยใดๆ

         พระสมเด็จฐานคู่ หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่นแรก

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ เพื่อออกให้บูชาหารายได้สร้างศาลาการเปรียญของทางวัด จัดเป็นพระเครื่องยุคแรกของหลวงพ่อหยอด ลักษณะเป็นพระสมเด็จเนื้อผง พิมพ์สี่เหลี่ยม มีการสร้างด้วยเนื้อผงพุทธคุณสีขาวอมเทา ซึ่งมีส่วนผสมของผงวิเศษต่างๆที่หลวงพ่อรวบรวมเอาไว้ นอกจากนี้ยังมีผงพุทธคุณที่หลวงพ่อได้ลบผงเอง เป็นส่วนผสมหลัก พิมพ์นี้จัดเป็นพิมพ์หายาก จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

พระสมเด็จฐานคู่หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่นแรก 2497
พระสมเด็จฐานคู่ หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ เนื้อผง

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปพระสมเด็จหูบายศรี องค์พระสมเด็จประทับนั่งบนฐานเขียง รองด้วยฐานคู่ ๓ ชั้น และฐานเขียงชั้นล่างสุดอีกชั้นหนึ่ง จึงเป็นที่มาของชื่อพิมพ์พระ องค์พระมีซุ้มระฆังครอบสวยงาม แต่ไม่ปรากฏอักษรภาษาไทยใดๆในองค์พระ

         ด้านหลัง เรียบ ไม่ปรากฏอักขระอักษรไทยใดๆ

         พระสมเด็จไหล่ตรง หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่นแรก

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ เพื่อออกให้บูชาหารายได้สร้างศาลาการเปรียญของทางวัด จัดเป็นพระเครื่องยุคแรกของหลวงพ่อหยอด ลักษณะเป็นพระสมเด็จเนื้อผง พิมพ์สี่เหลี่ยม มีการสร้างด้วยเนื้อผงพุทธคุณสีขาวอมเหลือง ซึ่งมีส่วนผสมของผงวิเศษต่างๆที่หลวงพ่อรวบรวมเอาไว้ นอกจากนี้ยังมีผงพุทธคุณที่หลวงพ่อได้ลบผงเอง เป็นส่วนผสมหลัก พิมพ์นี้จัดเป็นพิมพ์หายาก จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

พระสมเด็จไหล่ตรงหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่นแรก 2497
พระสมเด็จไหล่ตรง หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ เนื้อผง

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปพระสมเด็จไหล่ตรง องค์พระสมเด็จประทับนั่งบนฐานเขียง ๓ ชั้น จึงเป็นที่มาของชื่อพิมพ์พระ องค์พระมีซุ้มระฆังครอบสวยงาม แต่ไม่ปรากฏอักษรภาษาไทยใดๆในองค์พระ

         ด้านหลัง เรียบ ไม่ปรากฏอักขระอักษรไทยใดๆ

         พระสมเด็จพิมพ์วัดสุทัศน์ หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ เพื่อออกให้บูชาหารายได้สร้างศาลาการเปรียญของทางวัด จัดเป็นพระเครื่องยุคแรกของหลวงพ่อหยอด ลักษณะเป็นพระสมเด็จเนื้อผง พิมพ์สี่เหลี่ยม มีการสร้างด้วยเนื้อผงพุทธคุณสีขาวอมเทา ซึ่งมีส่วนผสมของผงวิเศษต่างๆที่หลวงพ่อรวบรวมเอาไว้ นอกจากนี้ยังมีผงพุทธคุณที่หลวงพ่อได้ลบผงเอง เป็นส่วนผสมหลัก พิมพ์นี้จัดเป็นพิมพ์หายาก จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

พระสมเด็จพิมพ์วัดสุทัศน์หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ 2497
พระสมเด็จพิมพ์วัดสุทัศน์ หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ ปี พ.ศ. ๒๔๙๗

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปพระสมเด็จของพระครูมูล วัดสุทัศน์ องค์พระสมเด็จประทับนั่งบนฐานชุกชี ๓ ชั้น องค์พระมีซุ้มระฆังครอบสวยงาม แต่ไม่ปรากฏอักษรภาษาไทยใดๆในองค์พระ

         ด้านหลัง เรียบ ไม่ปรากฏอักขระอักษรไทยใดๆ

         พระสมเด็จพิมพ์คะแนน หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ เพื่อออกให้บูชาหารายได้สร้างศาลาการเปรียญของทางวัด จัดเป็นพระเครื่องยุคแรกของหลวงพ่อหยอด ลักษณะเป็นพระสมเด็จเนื้อผง พิมพ์สี่เหลี่ยมขนาดเล็ก แบบพระคะแนนทั่วไป มีการสร้างด้วยเนื้อผงพุทธคุณสีขาวอมเหลือง และเนื้อผงยา ซึ่งมีส่วนผสมของผงวิเศษต่างๆที่หลวงพ่อรวบรวมเอาไว้ นอกจากนี้ยังมีผงพุทธคุณที่หลวงพ่อได้ลบผงเอง เป็นส่วนผสมหลัก พิมพ์นี้จัดเป็นพิมพ์หายาก จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

พระสมเด็จพิมพ์คะแนนหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ 2497
พระสมเด็จพิมพ์คะแนน หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ ปี พ.ศ. ๒๔๙๗

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปพระสมเด็จของพระครูมูล วัดสุทัศน์ขนาดเล็กฐาน ๓ ชั้น องค์พระมีซุ้มระฆังครอบสวยงาม แต่ไม่ปรากฏอักษรภาษาไทยใดๆในองค์พระ

         ด้านหลัง เรียบ ไม่ปรากฏอักขระอักษรไทยใดๆ

         พระสมเด็จหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่น ๒

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๑ จัดเป็นพระเครื่องยุคแรกสมเด็จรุ่นสองของหลวงพ่อหยอด ลักษณะเป็นพระสมเด็จเนื้อผง พิมพ์สี่เหลี่ยม มีการสร้างด้วยเนื้อผงพุทธคุณสีขาวอมเหลือง ซึ่งมีส่วนผสมของผงวิเศษต่างๆที่หลวงพ่อรวบรวมเอาไว้ นอกจากนี้ยังมีผงพุทธคุณที่หลวงพ่อได้ลบผงเอง เป็นส่วนผสมหลัก จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

พระสมเด็จหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่น 2  2511
พระสมเด็จหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่น ๒ ปี พ.ศ. ๒๕๑๑ เนื้อผง

         ด้านหน้า จำลองเป็นรูปพระสมเด็จหูบายศรี องค์พระสมเด็จประทับนั่งบนฐาน ๕ ชั้น มีซุ้มระฆังครอบสวยงาม แต่ไม่ปรากฏอักษรภาษาไทยใดๆในองค์พระ

         ด้านหลัง เรียบ ไม่ปรากฏอักขระอักษรไทยใดๆ

         เหรียญหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่นแรก

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๔ เนื่องในโอกาสฉลองอายุครบ ๕ รอบ หรือ ๖๐ ปี ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มแบบมีหูในตัว มีการสร้างขึ้นด้วยเนื้อโลหะทองแดง และทองแดงกระไหล่ทองเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

เหรียญหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่นแรก 2514 ทองแดง
เหรียญหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๕๑๔ เนื้อทองแดง ของคุณนคร อิงพิสุทธิ์

         ด้านหน้า มีตรงกลางเป็นรูปจำลองหลวงพ่อหยอดครึ่งองค์ห่มจีวรลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฏิ ในวงกลมรูปไข่ ด้านบนมีอักขระยันต์ "เฑาะว์" พร้อมรัศมีแฉกจากขอบบนเหรียญ ด้านล่างเป็นโบภายในมีอักษรภาษาไทยเขียนว่า "พระครูสุนทรธรรมกิจ" ด้านขอบล่างเหรียญเป็นมุมขยัก

         ด้านหลัง พื้นเรียบ มีอักขระอักษรไทยเขียนว่า "วัดแก้วเจริญ อายุครบ ๕ รอบ ๒๕๑๔"

         เหรียญหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่น ๒

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๒๖ เนื่องในโอกาสฉลองอายุครบ ๖ รอบ หรือ ๗๒ ปี ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มทรงเสมาแบบมีหูในตัว มีการสร้างขึ้นด้วยเนื้อโลหะทองแดงเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

เหรียญหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่น 2 2526 ทองแดงกระไหล่ทอง
เหรียญหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่น๒ ปี พ.ศ. ๒๕๒๖ เนื้อทองแดงกระไหล่ทอง

เหรียญหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่น 2 2526 ทองแดง
เหรียญหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่น๒ ปี พ.ศ. ๒๕๒๖ เนื้อทองแดง

         ด้านหน้า ตรงกลางเป็นรูปจำลองหลวงพ่อหยอดนั่งสมาธิเต็มองค์บนพรม องค์หลวงพ่อห่มจีวรลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฏิ ด้านบนมีอักขระยันต์อ่านได้ว่า "อะ ระ หัง พุท โธ นะ โม พุท ธา ยะ" ด้านล่างมีอักษรภาษาไทยเขียนว่า "พระครูสุนทรธรรมกิจ วัดแก้วเจริญ จังหวัดสมุทรสงคราม"

         ด้านหลัง พื้นเรียบ มีอักขระยันต์ "เฑาะว์" ตรงกลางเหรียญ มีอักขระอักษรไทยเขียนว่า "งานอายุครบ ๖ รอบ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๒๖"

         เหรียญหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่นผูกพัทธสีมา

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ เพื่อแจกในงานผูกพัทธสีมาของทางวัด ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่แบบมีหูในตัว มีการสร้างขึ้นด้วยเนื้อโลหะทองแดงเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

เหรียญหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่นผูกพัทธสีมา 2530 ทองแดง
เหรียญหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่นผูกพัทธสีมา ปี พ.ศ. ๒๕๓๐ เนื้อทองแดง

         ด้านหน้า ตรงกลางเป็นรูปจำลองหลวงพ่อหยอดนั่งสมาธิเต็มองค์บนพรม องค์หลวงพ่อห่มจีวรลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฏิ ที่สังฆาฏิมีการตอกโค้ดตัว "เฑาว์"  ด้านล่างมีอักษรภาษาไทยเขียนว่า "พระครูสุนทรธรรมกิจ"

         ด้านหลัง พื้นเรียบ มีอักขระยันต์พระเจ้าห้าพระองค์ตรงกลางเหรียญ มีอักขระอักษรไทยเขียนว่า "งานผูกพัทธสีมา วัดแก้วเจริญ สมุทรสงคราม ๒๕๓๐"

         เหรียญกลมหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่นลายเซนต์

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ เพื่อแจกในงานผูกพัทธสีมาของทางวัด ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปวงกลมแบบไม่มีหู มีการสร้างขึ้นด้วยเนื้อโลหะทองแดงเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

เหรียญหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่นลายเซนต์ 2530 ทองแดง
เหรียญหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่นลายเซนต์ ปี พ.ศ. ๒๕๓๐ เนื้อทองแดง

         ด้านหน้า ตรงกลางเป็นรูปจำลองหลวงพ่อหยอดครึ่งองค์หันข้าง องค์หลวงพ่อห่มจีวรลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฏิ ด้านล่างมีอักษรภาษาไทยเขียนว่า "พระครูสุนทรธรรมกิจ หยอด" ซึ่งเป็นลายเซนต์ของหลวงพ่อ

         ด้านหลัง เป็นมีอักขระยันต์บนรูปดอกบัว ตรงกลางมีอักขระยันต์ "เฑาะว์" ใต้ตัวเฑาะว์มีอักขระภาษาขอมอ่านได้ว่า "พุท ธะ สัง มิ" มีอักขระอักษรไทยที่กลีบบัวเขียนว่า "แก้วเจริญ ๒๕๓๐"

         เหรียญหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่นอายุ ๘๐ ปี

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ เพื่อแจกให้กับผู้ที่ร่วมบริจาคทรัพย์ให้กับวัดแก้วเจริญและร่วมในงานฉลองอายุครบ ๘๐ ปี ของหลวงพ่อ ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่แบบมีหูในตัว มีการสร้างขึ้นด้วยเนื้อทองคำ เนื้อเงิน เนื้อนวะ และเนื้อทองแดง จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

เหรียญหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่น 80 ปี ทองคำ
เหรียญหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่นอายุ ๘๐ ปี ปี พ.ศ. ๒๕๓๔ เนื้อทองคำ

         ด้านหน้า ตรงกลางเป็นรูปจำลองหลวงพ่อหยอดครึ่งองค์ องค์หลวงพ่อห่มจีวรลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฏิ ด้านล่างมีอักษรภาษาไทยเขียนว่า "พระครูสุนทรธรรมกิจ (หยอด)" ด้านบนของเหรียญมีอักษรภาษาไทยเขียนว่า "อายุครบ ๘๐ ปี" ที่สังฆาฏิมีการตอกโค้ด

         ด้านหลัง พื้นเรียบตรงกลางมีอักขระยันต์ "เฑาะว์" มีอักขระอักษรไทยเขียนว่า "วัดแก้วเจริญ สมุทรสงคราม พ.ศ. ๒๕๓๔"

         เหรียญหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่นทรัพย์ล้นเหลือ (สไบทอง)

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ เพื่อแจกให้กับผู้ที่ร่วมบริจาคทรัพย์ให้กับวัดแก้วเจริญ และเนื่องในวาระหลวงพ่อหยอดอายุครบ ๘๑ปี เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๔ ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่แบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยกัน ๒ บล็อกคือ บล็อกอุเหนือบ่า และบล็อกอุในบ่า มีการสร้างขึ้นด้วยเนื้อทองคำ เนื้อเงิน เนื้อนวะ และเนื้อทองแดง จำนวนการสร้างมีการจดบันทึกไว้ดังนี้

         เนื้อทองคำ กรรมการ (อุ เหนือบ่า) สร้าง ๒๙ เหรียญ เนื้อทองคำ (อุ ในบ่า) สร้าง ๓๖๙ เหรียญ 

         เนื้อเงิน (อุ เหนือบ่า) สร้าง ๒,๐๐๐ เหรียญ เนื้อเงิน (อุ ในบ่า) สร้าง ๖,๔๐๐ เหรียญ

         เนื้อนวะ (อุ เหนือบ่า) สร้าง ๒,๐๐๐ เหรียญ เนื้อนวะ (อุ ในบ่า) สร้าง ๖,๔๐๐ เหรียญ

         เนื้อทองแดง (อุ เหนือบ่า) สร้าง ๒๐,๐๐๐ เหรียญ เนื้อทองแดง (อุ ในบ่า) สร้าง ๖๐,๐๐๐ เหรียญ

         เนื้อทองแดง บล็อคลองพิมพ์ หรือหลังไม่มีขอบ สร้าง ๘๑ เหรียญ

เหรียญหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่นทรัพยืล้นเหลือ 2534 ทองคำ อุในบ่า
เหรียญหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่นทรัพย์ล้นเหลือ ปี พ.ศ. ๒๕๓๔ เนื้อทองคำ (อุ ในบ่า) ของคุณกิตติ จันทร์จารุวัฒน์

เหรียญหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่นทรัพยืล้นเหลือ 2534 ทองคำ79 อุในบ่า
เหรียญหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่นทรัพย์ล้นเหลือ ปี พ.ศ. ๒๕๓๔ เนื้อทองคำ (อุ ในบ่า) ของคุณกิตติ จันทร์จารุวัฒน์

เหรียญหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่นทรัพยืล้นเหลือ 2534 เงิน อุในบ่า สวย
เหรียญหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่นทรัพย์ล้นเหลือ ปี พ.ศ. ๒๕๓๔ เนื้อเงิน (อุ ในบ่า)
เหรียญหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่นทรัพยืล้นเหลือ 2534 นวะ อุในบ่า
เหรียญหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่นทรัพย์ล้นเหลือ ปี พ.ศ. ๒๕๓๔ เนื้อนวะ (อุ ในบ่า)

เหรียญหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่นทรัพย์ล้นเหลือ 2534 ทองแดง อุบนบ่า
เหรียญหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่นทรัพย์ล้นเหลือ ปี พ.ศ. ๒๕๓๔ เนื้อทองแดง (อุ เหนือบ่า)

เหรียญหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่นทรัพย์ล้นเหลือ 2534 ทองแดง หลังเรียบ
เหรียญหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่นทรัพย์ล้นเหลือ ปี พ.ศ. ๒๕๓๔ เนื้อทองแดง (ลองพิมพ์ ไม่มีขอบ) ของคุณอภิศักดิ์ สุขเกษม

         ด้านหน้า ตรงกลางเป็นรูปจำลองหลวงพ่อหยอดครึ่งองค์ องค์หลวงพ่อห่มจีวรลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฏิ มีอักษรภาษาไทยเขียนว่า "พระครูสุนทรธรรมกิจ (หยอด) วัดแก้วเจริญ ครบรอบ ๘๑ ปี พ.ศ. ๒๕๓๔" ที่สังฆาฏิมีการตอกโค้ดตัว "เฑาว์" และมีปิดทองที่สังฆาฏิ

         ด้านหลัง พื้นเรียบตรงกลางมีอักขระยันต์ "เฑาะว์" เหนือยันต์เฑาะว์มีตัว นะ ใต้ตัวเฑาะว์มีอักขระยันต์ มีอักขระอักษรไทยเขียนว่า "ทรัพย์ล้นเหลือ เมตตา ระงับภัย" ใต้ยันต์มีอักขระอักษรไทยเขียนว่า "ศิษย์สร้างถวาย"

         เหรียญหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่นฉลองเจ้าอาวาสครบ ๕๐ ปี

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ เพื่อแจกให้กับผู้ที่ร่วมบริจาคทรัพย์ให้กับวัดแก้วเจริญและร่วมในงานฉลองเป็นเจ้าอาวาสครบ ๕๐ ปี ของหลวงพ่อ ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่แบบมีหูในตัว มีการสร้างขึ้นด้วยเนื้อเงิน เนื้อนวะ และเนื้อทองแดง จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

เหรียญหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่นที่ระลึกเจ้าอาวาส 2534 เงินลงยาน้ำเงิน
เหรียญหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่นฉลองเจ้าอาวาส ปี พ.ศ. ๒๕๓๔ เนื้อเงิน(ลงยาน้ำเงิน)
เหรียญหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่นที่ระลึกเจ้าอาวาส 2534 นวะ
เหรียญหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่นฉลองเจ้าอาวาส ปี พ.ศ. ๒๕๓๔ เนื้อนวะ
เหรียญหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่นที่ระลึกเจ้าอาวาส 2534 ทองแดง
เหรียญหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่นฉลองเจ้าอาวาส ปี พ.ศ. ๒๕๓๔ เนื้อทองแดง

         ด้านหน้า ตรงกลางเป็นรูปจำลองหลวงพ่อหยอดครึ่งองค์ องค์หลวงพ่อห่มจีวรลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฏิ มีอักษรภาษาไทยเขียนว่า "หลวงปู่หยอด" ที่สังฆาฏิมีการตอกโค้ดตัว "เฑาว์" ในเนื้อนวะและเงินจะมีตอกตัว "ยะ" เพิ่มอีกหนึ่งตัว

         ด้านหลัง พื้นเรียบตรงกลางมีอักขระยันต์ มีอักขระอักษรไทยเขียนว่า "ที่ระลึกเป็นเจ้าอาวาสครบ ๕๐ ปี วัดแก้วเจริญ จ.สมุทรสงคราม ๒๕๓๔" ขอบเหรียญมีการแกะเป็นรูปไหมล้อมรอบเหรียญเป็นเอกลักษณ์

         รูปหล่อหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่นแรก

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ คุณปรีชา ตั้งประเสริญและคณะฯ เป็นผู้ดำเนินการจัดสร้าง รูปเหมือนปั้มรุ่นแรกนี้ สร้างในวาระหลวงพ่อ ทำบุญวันเกิดอายุครบ ๘๐ ปี ในครั้งแรกทางคณะผู้จัดสร้างคิดว่าจะทำแจกในวันเกิด แต่มีเหตุบังเอิญว่าทางวัดได้จัดงานใหญ่มากซึ่งจำนวนลูกศิษย์ที่มา มีจำนวนมากจริงๆ ในปีนั้น ทางคณะจึงปรึกษากันว่า จะนำพระชุดนี้จัดเป็นของสมนาคุณแก่ผู้ร่วมเป็นเจ้าภาพผ้าป่าสามัคคี โดยจะนำเงินทั้งหมดถวายแด่หลวงพ่อ เพื่อนำไปใช้ประตามความเหมาะสม ลักษณะเป็นรูปหล่อปั๊มขนาดเล็ก  จำนวนการสร้างมีการจดบันทึกไว้ดังนี้ 

         เนื้อทองคำ สร้าง ๑๖ องค์
         เนื้อเงิน สร้าง ๕๐ องค์
         เนื้อนวโลหะ สร้าง ๕๐ องค์
         เนื้ออัลปาก้า สร้าง ๕๐ องค์
         เนื้อทองเหลือง สร้าง ๕๐๐ องค์

รูปหล่อหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่นแรก 2534 เงิน
รูปหล่อหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๕๓๔ เนื้อเงิน
รูปหล่อหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่นแรก 2534 นวะ
รูปหล่อหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๕๓๔ เนื้อนวะ ของคุณดุสิต ชุณวิจิตรา

รูปหล่อหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่นแรก 2534 ทองเหลือง
รูปหล่อหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๕๓๔ เนื้อทองเหลือง

         ด้านหน้า ตรงกลางเป็นรูปจำลองหลวงพ่อหยอดนั่งสมาธิเต็มองค์บนฐานเขียง องค์หลวงพ่อห่มจีวรลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฏิ ที่สังฆาฏิตอกโค้ด "เฑาะว์" ที่ฐานเขียงมีอักษรภาษาไทยเขียนว่า "หลวงพ่อหยอด"

         ด้านหลัง ตรงชายสังฆาฏิมีการตอกโค้ดตัว "๘๐ ในวงกลม" ที่ฐานเขียงมีอักษรภาษาไทยเขียนว่า "วัดแก้วเจริญ"  

         ด้านฐาน ใต้ฐานตอกโค้ด "เฑาะว์มหาอุด" ในองค์พระปกติฐานจะเรียบ แต่พระที่มีการจัดชุดเพื่อออกบูชาจะมีการเจาะรูที่ฐาน เพื่อบรรจุเส้นเกศาของหลวงพ่อแล้วปิดทับด้วยเทียนชัย

         ตะกรุดโลกธาตุ หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ

         สร้างขึ้นก่อนปี พ.ศ. ๒๕๓๐ เพื่อแจกให้กับผู้ที่ร่วมบริจาคทรัพย์ให้กับวัดแก้วเจริญ ลักษณะเป็นตะกรุดลูกอมพันไหม ๗ สี ซึ่งเป็นวิชาที่หลวงพ่อหยอด เรียนมาจากหลวงปู่ใจ วัดเสด็จ ซึ่งเป็นศิษย์หลวงปู่เฒ่ายิ้ม วัดหนองบัว กล่าวกันว่าผู้ที่จะเรียนวิชานี้ต้องผ่านการทดสอบอำนาจสมาธิจิตจากหลวงปู่ยิ้มทุกองค์ โดยท่านให้นั่งสมาธิเพ่งไส้เทียนให้ขาดก่อนถึงจะเรียนวิชานี้ได้ มีการสร้างขึ้นด้วยเนื้อทองคำ เนิื้อเงิน เนื้อนาก และเนื้อทองแดง จำนวนการสร้างมีการจดบันทึกไว้ดังนี้

ตะกรุดโลกธาตุหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่นแรก เนื้อเงิน
ตะกรุดโลกธาตุหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่นแรก โค๊ตเฑาะว์กลม เนื้อเงิน

         ตะกรุดโลกธาตุนี้ ภายในจะลงจารครบตามตำราหัวใจโลกธาตุ หรือเรียกอีกอย่างว่า คาถาพระพุทธเจ้าเดินจงกรมในพระครรภ์มารดา คือ "อิจฉันโต จิตโต อิจฉันโต โลกธาตุมหิ อัตตะภาเวนัง นาทุยิ วาระวีสะติ สิทธังละอะ" และกลึงปิดหัวท้ายพระยันต์ดังกล่าวด้วยยันต์ใบพัดพร้อมสวดพระคาถา ม้วน แล้วรัดด้วยเส้นไหม ๕ สีแท้ชุบน้ำข้าว ปลุกเสกตามกรรมวิธี

ตะกรุดโลกธาตุหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ เนื้อเงิน โค้ด ยะ
ตะกรุดโลกธาตุหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่น ๒ โค้ดยะ เนื้อเงิน

         เล่ากันว่าเมื่อถึงคราวจวนตัว ผจญศัตรูนับร้อยพัน ให้ระลึกพระรัตนตรัย ครูบาอาจารย์แล้วอมตะกรุดไว้ในปาก จะเป็นมหากำบังล่องหนหายตัว ศัตรูจะมองไม่เห็น เมื่อรอจนพ้นอันตรายแล้ว ท่านให้นำดอกไม้ธูปเทียนมาอาราธนาตะกรุดออกจากตัว โดยกระทำก่อนนอน เมื่อตื่นขึ้นตะกรุดจะวางอยู่ที่หัวนอน ครูบาอาจารย์ท่านว่า หากทำสำเร็จจริงตะกรุดนั้นจะไม่ออกเบื้องต่ำเลย จึงเรียกว่า "ตะกรุดลูกอม" 

ตะกรุดโลกธาตุหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ เนื้อทองคำ รุ่น 3
ตะกรุดโลกธาตุหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่น ๓ โค้ดเฑาะว์ เนื้อทองคำ ของคุณดุสิต ชุณวิจิตรา

ตะกรุดโลกธาตุหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ เนื้อนาก รุ่น 3
ตะกรุดโลกธาตุหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่น ๓ โค้ดเฑาะว์ เนื้อนาก ของคุณดุสิต ชุณวิจิตรา

         ตะกรุดโลกธาตุ ต้องมีน้ำหนัก ๑ สลึง ขนาดยาวประมาณ ๗ ใบมะขาม  ตะกรุดลูกอมรุ่นแรก จะมีโค๊ตภาษาขอม "เฑาะว์วงกลม" ที่ตะกรุด ซึ่งส่วนใหญ่โค๊ตของตะกรุดลูกอมรุ่นแรกจะติดไม่ค่อยชัด เนื่องจากใช้วิธีบีบโค๊ต ที่แผ่นเงิน (ไม่ใช่วิธีตอก) ทำให้น้ำหนักที่บีบโค๊ต ไม่แรงเหมือนกับการใช้วิธีตอก โค๊ตจึงติดไม่ชัดเจน ต่อมารุ่น ๒ ก็จะเป็นโค๊ตตัวขอมตัว "ยะ" โค๊ตจะดูชัดเจนมาก รุ่น ๓ จะเป็นโค๊ต "เฑาะว์" แต่ไม่มีวงกลมล้อมรอบ

         ไหมห้าสี(ไหมเบญจรงค์) หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ รุ่นแรก

         จัดเป็นวัตถุมงคลยุคแรกๆ อีกชนิดหนึ่งของหลวงพ่อ สมัยก่อนคนชอบเข้าใจผิดเรียกไหม ๗ สี ทั้งที่ความจริงคือไหม ๕ สี ตามคำว่า "เบญจ" ที่หมายถึง ๕ คือสี ขาว เขียว น้ำเงิน  เหลือง และแดง 

         ถ้าเอ่ยชื่อหลวงพ่อหยอดอย่างแรกที่คนนึกถึงก็ต้องไหมเบญจรงค์ ไหมเบญจรงค์ของหลวงพ่อมีมานานหลายยุคสมัย ยุคแรกๆจะสร้างด้วยเส้นไหมแท้ๆ และไม่มีปมขมวด ส่วนปมขมวดนี้มีมาทีหลัง 

ไหมห้าสีหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ ยุคแรก
ไหมห้าสีหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ ยุคแรก ของคุณจ๊อด

         บางข้อมูลบอกว่า หลวงพ่อหยอดได้เรียนปมขมวดนี้มาจากหลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม แต่ก็ให้น่าแปลกใจเหตุใด สายสิญจน์และวัตถุมงคลต่างๆของหลวงพ่อแช่มทำไมจึงไม่มีปมขมวดนี้เลย 

ไหมห้าสีหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ ยุคกลาง-ท้าย
ไหมห้าสีหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ ยุคกลาง-ยุคหลัง

         ไหมยุคกลาง และยุคหลังของหลวงพ่อจึงมีปมขมวดเพิ่มเข้ามา  แต่จะไม่ได้สร้างจากไหมแท้แต่จะเป็นสมมุติไหม ( ไหมเทียม )ปัจจุบันถ้าเป็นรุ่นแรกจะหาชมได้ยาก จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

         เรื่องของพุทธคุณของไหม ๕ สีนี้ มีพุทธคุณโดดเด่นด้านเมตตา แต่ก็มีเรื่องของคล้าดแคล้วคงกะพันอีกด้วย ดังเรื่องของ ผอ.ประสิทธิ์ชัย ศรีไกรสิทธิ์ ผอ.โรงเรียนวัดแก้วเจริญอำนวยวิทย์ สมัยยังเด็กห้อยไหมหลวงพ่อหยอด คล้องคอเพียงเส้นเดียว โดนลูกมะพร้าวตกใส่หลัง แต่ไม่ถึงกับชีวิตรอดมาได้อย่างไม่น่าเชื่อ แต่ก็มีบาดเจ็บพอควรต้องพักรักษาตัวอยู่หลายวัน

 

 

หมายเหตุ: พระเครื่องบางรุ่นไม่ได้ถูกจัดเก็บไว้ ต้องกราบขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

โดย : สารานุกรมพระเครื่องลุ่มน้ำแม่กลอง

บทความที่เกี่ยวข้อง


***-[เป็นกำลังใจและสนับสนุน​ให้เราเขียนบทความดีๆ ช่วยกดดูโฆษณาด้านล่างนะคะ]-***

ไม่มีความคิดเห็น

ค้นหาบล็อกนี้