โฆษณาแนวนอน728*90

บทความใหม่

ประวัติและวัตถุมงคลหลวงพ่อแดง วัดโพธาราม ราชบุรี เหรียญเก่าหายากของโพธาราม

ภาพถ่ายหลวงพ่อแดง หรือ พระธรรมเสนาณี วัดโพธาราม ราชบุรี
หลวงพ่อแดง หรือ พระธรรมเสนาณี วัดโพธาราม ราชบุรี

         หลวงพ่อแดง วัดโพธาราม หรือ พระครูธรรมเสนานี(แดง) อดีตเจ้าอาวาสวัดโพธาราม ประวัติของท่านค่อนข้างเลือนลาง ทราบเพียงแต่ว่าท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๒

         ท่านเป็นพระเถระผู้ทรงคุณประโยชน์ทางการศึกษา ของอำเภอโพธารามเป็นอย่างยิ่ง ด้วยมีหลักฐานประกาศในราชกิจจานุเบกษาความว่า พระอธิการแดง กับพระชื่น รองเจ้าอธิการวัดโพธาราม พร้อมด้วยหลวงราษฏร์โพธาพิบาล นายอำเภอโพธาราม

         ได้ร่วมกันบอกบุญเรี่ยไรเงินจากข้าราชการและประชาชนในท้องที่ แล้วจัดการสร้างอาคาร เป็นโรงเรียนที่วัดโพธาราม ซึ่งต่อมาคือ โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี ในปัจจุบัน จึงเป็นเครื่องยืนยันคุณูปการของหลวงพ่อแดงที่มีต่อการศึกษาของชาวโพธารามได้เป็นอย่างดี

ภาพถ่ายหลวงพ่อแดง วัดโพธาราม ราชบุรี
หลวงพ่อแดง หรือ พระธรรมเสนาณี วัดโพธาราม ราชบุรี

          กล่าวกันว่า พระครูธรรมเสนานี(แดง) หรือ หลวงพ่อแดง ท่านยังได้มีตำแหน่งการปกครองคณะสงฆ์ในตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดราชบุรีอีกด้วย 

         หลวงพ่แดง วัดโพธาราม ท่านได้ถึงแก่มรณภาพลงด้วยโรคชรา เมื่อราวปี พ.ศ. ๒๔๗๒  นับรวมสิริอายุได้ ๘๐ ปี 

วัดถุมงคลของหลวงพ่อแดง

         เหรียญหลวงพ่อแดง วัดโพธาราม รุ่นแรก

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๗๒ ได้มีการสร้างเหรียญที่ระลึกรูปเหมือนของท่าน เพื่อแจกจ่ายให้กับผู้ที่มาร่วมงานพระราชทานเพลิงศพของท่าน ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มทรงเสมาข้างเลื่อย แบบมีหูในตัว สร้างด้วยเนื้อเงิน เนื้ออัลปาก้า เนื้อทองแดง เนื้อทองแดงกระไหล่เงิน และเนื้อทองแดงกระไหล่ทอง จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

เหรียญหลวงพ่อแดง วัดโพธาราม รุ่นแรก พ.ศ. ๒๔๗๒ เนื้ออัลปาก้า

เหรียญหลวงพ่อแดง วัดโพธาราม รุ่นแรก พ.ศ. ๒๔๗๒ เนื้อเงิน

เหรียญหลวงพ่อแดง วัดโพธาราม รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๗๒ เนื้อทองแดงกระไหล่ทอง

         ด้านหน้า  เป็นรูปหลวงพ่อแดง ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ นั่งสมาธิเต็มองค์ มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "ที่ระฤกในงานศพ พระครูธรรมเสนานี"

         ด้านหลัง  มีอักขระยันต์และอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พ.ศ. ๒๔๗๒" ซึ่งเป็นปีที่สร้างเหรียญ  

         กล่าวกันว่าเหรียญของท่านนั้นมีพระเกจิอาจารย์ของจังหวัดราชบุรี กาญจนบุรี และนครปฐม ในยุคนั้นร่วมกันปลุกเสกเป็นจำนวนหลายท่านและเป็นที่เสาะแสวงหาของชาวบ้านในจังหวัดราชบุรีและพื้นที่ใกล้เคียงเป็นอย่างมาก 

 


โดย : สารานุกรมพระเครื่องลุ่มน้ำแม่กลอง

บทความที่เกี่ยวข้อง


***-[เป็นกำลังใจและสนับสนุน​ให้เราเขียนบทความดีๆ ช่วยกดดูโฆษณาด้านล่างนะคะ]-***

ไม่มีความคิดเห็น

ค้นหาบล็อกนี้