ประวัติและวัตถุมงคลหลวงพ่อแม้น วัดใหญ่โพหัก หรือ พระครูธรรมสาทิศ(แม้น) อีกหนึ่งเหรียญดีของราชบุรี
![]() |
หลวงพ่อแม้น วัดใหญ่โพหัก ราชบุรี |
หลวงพ่อแม้น วัดใหญ่โพหัก หรือ พระครูธรรมสาทิศ (ธมฺมสโร) วัดใหญ่โพหัก ตำบลโพหัก อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี ท่านถือว่าเป็นพระเกจิที่มีวัตถุมงคลเป็นที่นิยมสูงเป็นอันดับต้นๆของอำเภอบางแพ จากประสบการณ์เหรียญของหลวงพ่อที่มีคนนำไปแขวนแล้วยิงไม่เข้า หรือไม่ก็คลาดแคล้วจากอุบัติเหตุต่างๆ อย่างน่าเหลือเชื่อ ทำให้ชื่อเสียงของท่านโด่งดังมาก
วัดโพหักเป็นวัดเก่าแก่ ภายในวัดมีมลฑปและพระพุทธรูปเก่าแก่ เล่ากันว่าสร้างขึ้นในสมัย "เจ้าประคุณในโกษฐ หรือ หลวงพ่อทองดี" อดีตเจ้าอาวาส โดยวัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. ๒๒๗๗ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๓
หลวงพ่อแม้น ท่านเกิดเมื่อวันที่ ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๔ โยมบิดาชื่อนายทอง ทิมบุตร โยมมารดาชื่อนางโมง ทิมบุตร เป็นชาวตำบลโพธิ์หักมาแต่กำเนิด ในว้ยเยาว์ได้ศึกษาการอ่านเขียนภาษาไทยและบาลีจากพระอาจารย์กล่อม วัดใหญ่โพหัก
จนเมื่ออายุครบบวชในปี พ.ศ. ๒๔๕๕ จึงได้ทำการอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดใหญ่โพหัก ได้รับชื่อฉายาว่า "ธมฺมสโร" โดยมี
หลวงพ่อแดง วัดทำนบ เป็นพระอุปัชฌาย์
พระอธิการดำ วัดจินดาราม อำเภอสามพราน นครปฐม เป็นพระกรรมวาจาจารย์
พระอธิการอ้น วัดโพใหญ่หัก เป็นพระอนุสาวนาจารย์
เมื่อบวชแล้วท่านก็ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดใหญ่โพธิ์หัก เพื่อร่ำเรียนวิชาอาคมจากพระอาจารย์หลายท่านทั้งในจังหวัดราชบุรี นครปฐม สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม โดยเริ่มตั้งแต่หลวงพ่อกล่อม วัดโพหัก หลวงพ่อแดง วัดทำนบ หลวงพ่อแช่ม วัดดอนเซ่ง หลวงพ่อดำ วัดจินดาราม หลวงพ่อรุ่ง วัดดอนยายหอม เป็นต้น
หลวงพ่อแม้น วัดใหญ่โพหัก ท่านมีพระสหพันธมิกที่สนิทคือหลวงเงิน วัดดอนยายหอม และหลวงพ่อสาย วัดหนองสองห้อง
จนกระทั่งในปี พ.ศ. ๒๔๖๐ ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดใหญ่โพหักว่างลง ทางคณะสงฆ์จึงแต่งตั้งให้ท่านขึ้นเป็นเจ้าอาวาสวัดใหญ่โพหัก หลังขึ้นเป็นเจ้าอาวาส ท่านได้ทำนุบำรังวัดอย่างสุดความสามารถ
![]() |
หลวงพ่อแม้น วัดใหญ่โพหัก ราชบุรี |
จนในปี พ.ศ. ๒๔๖๓ ท่านก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะตำบลโพหัก ทั้งที่อายุพรรษายังน้อย แสดงถึงความสามารถที่ไม่ธรรมดาเลยทีเดียว
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๘๐ ก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระครูชั้นประทวน
ในปี พ.ศ. ๒๔๙๒ ก็ได้รับพระราชทานยศพระครูสัญญาบัตรที่ "พระครูธรรมสาทิศ"
หลวงพ่อแม้น ดูแลพระสงฆ์และทำนุบำรุงวัดใหญ่โพธิ์หักเป็นย่างดี ด้วยความที่ท่านเป็นพระที่มีเมตตาและมีวาจาสิทธิ์หลวงพ่อแม้นจึงเป็นที่รักและเคารพของชาวบ้านมาก ทั้งยังส่งเสริมการศึกษาสร้างโรงเรียนประถมศึกษาให้ชาวตำบลโพหัก ต่อมาหลวงพ่อแม้นก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปปัชฌาย์ ว่ากันว่ามีพระนิยมให้หลวงพ่อแม้นบวชให้เป็นจำนวนมาก
ด้วยความที่ท่านใจดีใครมิมนต์ให้ไปบวชให้ที่ไหนท่านก็จะขี่ม้าไปทำการบวชให้ทุกที่ที่มาทำการนิมนต์ท่านไปโดยไม่เคยปฏิเสธ อีกทั้งวิชาอาคมที่หลวงพ่อแม้นได้แสดงให้ชาวบ้านได้รับรู้ได้เห็นกันนั้นก็ยิ่งทำให้ชาวบ้านและคนทั่วไปเคารพและศรัทธา
หลวงพ่อแม้น มรณภาพลงในวันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ สิริอายุได้ ๖๕ ปี ๔๔ พรรษา
วัตถุมงคลของหลวงพ่อแม้น
เหรียญหลวงพ่อแม้น วัดใหญ่โพหัก รุ่นแรก
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๔ ลักษณะเป็นเหรียญทรงน้ำเต้าแบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้อทองแดงเพียงเนื้อเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้ โดยเหรียญรุ่นแรกนี้ทางวัดได้มีการทำย้อนออกมาหลายวาระ เช่าหาควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
![]() |
เหรียญหลวงพ่อแม้น วัดใหญ่โพหัก ราชบุรี รุ่นแรก ปี พ.ศ.๒๔๙๔ |
![]() |
เหรียญหลวงพ่อแม้น วัดใหญ่โพหัก ราชบุรี รุ่นแรก ปี พ.ศ.๒๔๙๔ ของคุณโอ |
ด้านหน้า มีรูปหลวงพ่อแม้น ครึ่งองค์ห่มจีวรลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฏิ ด้านบนรูปหลวงพ่อมีอักขระยันต์ "มะ อะ อุ" มีข้อความภาษาไทยเขียนว่า "พระครูธรรมสาทิส (แม้น)"
ด้านหลัง มีอักขระยันต์พระเจ้าห้าพระองค์ ใต้ยันต์มีข้อความภาษาไทยเขียนว่า "วัดใหญ่โพหัก พ.ศ. ๒๔๙๔"
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ลักษณะเป็นเหรียญทรงน้ำเต้าแบบมีหูในตัว
แบบเหรียญรุ่นแรก โดยทางวัดได้ใช้แม่พิมพ์เดิมมาทำการสร้างใหม่ มีการสร้างด้วยเนื้อทองแดงเพียงเนื้อเดียวเท่านั้น
จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
เหรียญหลวงพ่อแม้น วัดใหญ่โพหัก ปี พ.ศ. ๒๔๙๘ รุ่นสอง
![]() |
เหรียญหลวงพ่อแม้น วัดใหญ่โพหัก ราชบุรี รุ่นสอง ปี พ.ศ.๒๔๙๘ ของคุณหนุ่ม โพหัก |
![]() |
เหรียญหลวงพ่อแม้น วัดใหญ่โพหัก ราชบุรี รุ่นสอง ปี พ.ศ.๒๔๙๘ |
ด้านหน้า มีรูปหลวงพ่อแม้น ครึ่งองค์ห่มจีวรลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฏิ ด้านบนรูปหลวงพ่อมีอักขระยันต์ "มะ อะ อุ" มีข้อความภาษาไทยเขียนว่า "พระครูธรรมสาทิส (แม้น)"
ด้านหลัง มีอักขระยันต์พระเจ้าห้าพระองค์ ใต้ยันต์มีข้อความภาษาไทยเขียนว่า "วัดใหญ่โพหัก พ.ศ. ๒๔๙๔" โดยเลข ๔ จะมีรอยชำรุดจากบล็อก
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๘ ในสมัยที่หลวงปู่บัว เป็นเจ้าอาวาส ลักษณะเป็นเหรียญทรงน้ำเต้าแบบมีหูในตัว
แบบเหรียญรุ่นแรก โดยทางวัดได้ทำการแกะแม่พิมพ์ใหม่ มีการสร้างด้วยเนื้อทองแดงเพียงเนื้อเดียวเท่านั้น
จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
เหรียญหลวงพ่อแม้น วัดใหญ่โพหัก ปี พ.ศ. ๒๕๑๘ (หางงอ)
โดยเหรียญรุ่นนี้ได้รับการปลุกเสกในวันเสาร์ที่ ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ โดยมีนามเกจิอาจารย์ชื่อดังที่เข้าพิธีปลุกเสก เช่น หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม หลวงพ่อสาย วัดหนองสองห้อง หลวงปู่โต๊ะ วัดประดูฉิมพลี หลวงพ่อเกลี้ยง วัดเฉลิมอาสน์ เป็นต้น
![]() |
เหรียญหลวงพ่อแม้น วัดใหญ่โพหัก ราชบุรี รุ่นสาม ปี พ.ศ.๒๕๑๘ |
ด้านหน้า มีรูปหลวงพ่อแม้น ครึ่งองค์ห่มจีวรลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฏิ ด้านบนรูปหลวงพ่อมีอักขระยันต์ "มะ อะ อุ" มีข้อความภาษาไทยเขียนว่า "พระครูธรรมสาทิส (แม้น)"
ด้านหลัง มีอักขระยันต์พระเจ้าห้าพระองค์ ใต้ยันต์มีข้อความภาษาไทยเขียนว่า "วัดใหญ่โพหัก พ.ศ. ๒๔๙๔" โดยเลข ๒๔๙๔ ปลายหางจะงอ เป็นเอกลักษณ์ของรุ่นนี้
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๒๗ ในสมัยที่หลวงพ่อไสว เป็นเจ้าอาวาส เพื่อแจกให้กับผู้ทำบุญบริจาคทรัพย์สร้างศาลาการเปรียญ ลักษณะเป็นเหรียญทรงน้ำเต้าแบบมีหูในตัว
แบบเหรียญรุ่นแรก โดยทางวัดได้ทำการแกะแม่พิมพ์ใหม่ มีการสร้างด้วยเนื้อทองแดงเพียงเนื้อเดียวเท่านั้น
จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
เหรียญหลวงพ่อแม้น วัดใหญ่โพหัก ปี พ.ศ. ๒๕๔๒
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้รับการปลุกเสกโดยหลวงพ่อสง่า วัดหนองม่วง ลักษณะเป็นเหรียญทรงน้ำเต้าแบบมีหูในตัว
แบบเหรียญรุ่นแรก โดยทางวัดได้ทำการแกะแม่พิมพ์ใหม่ มีการสร้างด้วยเนื้อเงินลงยา และเนื้อทองแดง
จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
เหรียญหลวงพ่อแม้น วัดใหญ่โพหัก ปี พ.ศ. ๒๕๒๗
![]() |
เหรียญหลวงพ่อแม้น วัดใหญ่โพหัก รุ่นสร้างศาลาการเปรียญ ปี พ.ศ. ๒๕๒๗ |
ด้านหน้า มีรูปหลวงพ่อแม้น ครึ่งองค์ห่มจีวรลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฏิ มีข้อความภาษาไทยเขียนว่า "หลวงพ่อแม้น ธมฺมสโร"
ด้านหลัง มีอักขระยันต์พระเจ้าห้าพระองค์ ใต้ยันต์มีข้อความภาษาไทยเขียนว่า "เนื่องในงานวางศิลาฤกษ์ศาลาการเปรียญ วัดใหญ่โพธิ์หัก ต.โพธิ์หัก อ.บางแพ จ.ราชบุรี วันเสาร์ที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๗"
เหรียญหลวงพ่อแม้น วัดใหญ่โพหัก ปี พ.ศ. ๒๕๔๒
![]() |
เหรียญหลวงพ่อแม้น วัดใหญ่โพหัก ปี พ.ศ. ๒๕๔๒ เนื้อทองแดง |
ด้านหน้า มีรูปหลวงพ่อแม้น ครึ่งองค์ห่มจีวรลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฏิ ด้านบนรูปหลวงพ่อมีอักขระยันต์ "มะ อะ อุ" มีข้อความภาษาไทยเขียนว่า "พระครูธรรมสาทิส (แม้น)"
ด้านหลัง มีอักขระยันต์พระเจ้าห้าพระองค์ ใต้ยันต์มีข้อความภาษาไทยเขียนว่า "วัดใหญ่โพหัก พ.ศ. ๒๕๔๒"
ข้อมูล : ชมรมพระเครื่องวัดใหญ่โพหัก
โดย : สารานุกรมพระเครื่องลุ่มน้ำแม่กลอง
บทความที่เกี่ยวข้อง
***-[เป็นกำลังใจและสนับสนุนให้เราเขียนบทความดีๆ ช่วยกดดูโฆษณาด้านล่างนะคะ]-***
โดย : สารานุกรมพระเครื่องลุ่มน้ำแม่กลอง
บทความที่เกี่ยวข้อง
***-[เป็นกำลังใจและสนับสนุนให้เราเขียนบทความดีๆ ช่วยกดดูโฆษณาด้านล่างนะคะ]-***
ไม่มีความคิดเห็น