โฆษณาแนวนอน728*90

บทความใหม่

ประวัติและวัตถุมงคลหลวงพ่อกริ่ง วัดโพธิ์เลี้ยว(วัดโพธิ์ศรีสุขาราม) กาญจนบุรี ศิษย์เอกหลวงพ่อน้อย วัดศรีษะทอง

หลวงพ่อกริ่ง วัดโพธิ์เลี้ยว (วัดโพธิ์ศรีสุขาราม) กาญจนบุรี

          หลวงพ่อกริ่ง วัดโพธิ์เลี้ยว หรือ พระครูวิธานกาญจนกิจ วัดโพธิ์ศรีสุขาราม อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ท่านมีนามเดิมชื่อ กริ่ง จินดากูล เกิดเมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ ตรงกับวันเสาร์ ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๕ ปีมะเส็ง ณ พื้นที่บ้านทวน ตำบลบ้านทวน อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี มีโยมบิดาชื่อ นายนาค จินดากูล โยมมารดาชื่อ นางเทียบ จินดากูล

          เมื่อหลวงพ่อมีอายุครบบวช โยมบิดาและโยมมารดา จึงได้ทำการอุปสมบท  ณ พัทธสีมาวัดท่าเรือ ตำบลท่าเรือ อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๐ ได้รับฉายาว่า "ปัญญาพโล" โดยมี

          พระครูวรวัตตวิบูลย์ เจ้าอาวาสวัดแสนตอ เป็นพระอุปัชฌาย

          พระอธิการวุ้น พุทธสโร เจ้าอาวาสวัดท่าเรือ เป็นพระกรรมวาจาจารย์

          พระใจ วัดแสนตอ เป็นอนุสาวนาจารย์

          หลังจากอุปสมบทท่านได้อยุ่จำพรรษาที่วัดท่าเรือ ก่อนย้ายไปสังกัดของวัดวังศาล ตำบลวังศาลา อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี 

         หลังจากนั้นได้ไม่นานหลวงพ่อกริ่ง ก็ได้ย้ายไปสังกัดวัดศรีษะทอง อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม เพื่อศึกษาธรรม และวิทยาคม จากหลวงพ่อน้อย นาวารัตน์ เจ้าอาวาสวัดศรีษะทอง เกจิชื่อดังของจังหวัดนครปฐม เจ้าตำหรับราหูอมจันทร์และวัวธน

หลวงพ่อกริ่ง วัดโพธิ์เลี้ยว (วัดโพธิ์ศรีสุขาราม) กาญจนบุรี

          และเมื่อท่านได้รับการถ่ายทอดวิชาจากพระอาจารย์จนเสร็จสิ้น จึงได้กลับมาจำพรรษา ณ.สำนักสงฆ์บ้านหัวพงษ์ วัดหัวพงษ์ ในขณะนั้นมีเจ้าอาวาสองค์แรก นามว่า หลวงตาปั้น ต่อมาหลวงตาปั้น ได้ไปธุดงตามภาษาพระที่แสวงหาวิชาความรู้ และท่านก็ไม่ได้กลับมาที่วัดหัวพงษ์อีกเลย

          ปี พ.ศ. ๒๔๘๗ ชาวบ้านจึงไปนิมนต์ หลวงพ่อกริ่ง มาจากวัดศรีษะทอง เพื่อมาบูรณะวัดหัวพงษ์ จนเจริญรุ่งเรือง 

         ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ หลวงพ่อกริ่ง ท่านได้เปลี่ยนชื่อจากัดหัวพงษ์ มาเป็นวัดโพธิ์ศรีสุขาราม(โพธิ์เลี้ยว) จนถึงปัจจุบัน

          ปี พ.ศ. ๒๔๘๘ ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระกรรมวาจาจารย์

          ปี พ.ศ. ๒๕๑๙ หลวงพ่อกริ่ง ได้รับพระราชทานแต่งตั้งให้เป็น "พระครูวิธานกาญจนกิจ"

          ปี พ.ศ. ๒๕๒๗ ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์

หลวงพ่อกริ่ง วัดโพธิ์เลี้ยว (วัดโพธิ์ศรีสุขาราม) กาญจนบุรี ถ่ายทัสมาฮาล ประเทศอินเดีย

            หลวงพ่อกริ่งท่านเป็นพระที่รักสันโดษและอดทนมั่นคง โดยในฤดูร้อนเกือบทุกปีขณะที่พระลาสิกขาเกือบหมดจะมีท่านอยู่เฝ้าวัดเพียงองค์เดียว ตลอดชีวิตท่านกระทำกิจของสงฆ์จนวาระสุดท้ายและสร้างถาวรวัตถุไว้อย่างมากมาย

ภาพถ่ายหลวงพ่อกริ่ง วัดโพธิ์เลี้ยว กาญจนบุรี นั่ง
หลวงพ่อกริ่ง วัดโพธิ์เลี้ยว (วัดโพธิ์ศรีสุขาราม) กาญจนบุรี

           หลวงพ่อท่านส่งเสริมการศึกษาแก่พระภิกษุสามเณร จนสามารถสอบได้เปรียญธรรม ๖ ประโยค ช่วยสร้างอาคารเรียนวัดโพธิ์ศรีสุขาราม จนได้รับอุบัติเหตุตกหลังคาอาคารเรียนจนขาเสียและเจ็บหลัง จนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต

          หลวงพ่อกริ่ง ปกครองวัดเรื่อยมาจนถึงแก่มรณะภาพลงด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ เวลา ๑๖.๓๐ น นับรวมสิริอายุได้ ๗๗ ปี ๕๕ พรรษา

วัตถุมงคลของหลวงพ่อกริ่ง วัดโพธิ์เลี้ยว

          ราหูกะลาแกะหลวงพ่อกริ่ง วัดโพธิ์เลี้ยว

          เริ่มสร้างขึ้นในช่วง ปี พ.ศ. ๒๔๙๐ เป็นต้นมา ลักษณะของกะลา ที่แกะจะมีทั้งแบบที่เป็นรูปหยดน้ำ และแบบเสมา  ซึ่งจะแตกต่างกับของพระอาจารย์ของท่าน โดยท่านเป็นลูกศิษย์เอกคนสำคัญของ หลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง พระอาจารย์ผู้สร้างราหูกะลาแกะอันดับหนึ่งของเมืองไทย  ราหูเป็นสุดยอดวิชาที่หลวงพ่อกริ่งท่านได้รับการถ่ายทอดมาจากหลวงพ่อน้อยโดยตรง ราหูของท่านสร้างจากกะลาตาเดียวและตะกั่วเก่าจากอำเภอศรีสวัสดิ์ จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

ราหูกะลาแกะ หลวงพ่อกริ่ง วัดโพธิ์เลี้ยว กาญจนบุรี

ราหูกะลาแกะ หลวงพ่อกริ่ง วัดโพธิ์เลี้ยว กาญจนบุรี

ราหูกะลาแกะ หลวงพ่อกริ่ง วัดโพธิ์เลี้ยว กาญจนบุรี

          ด้านหน้า แกะเป็นรูปราหูอมจันทร์แบบเดียวกับของหลวงพ่อน้อยผู้เป็นอาจารย์ แต่จะแตกต่างกันที่รายละเอียด

          ด้านหล้ง มีรอยจาร ของหลวงพ่อกริ่ง (จดจำรอยจารให้ดี)

          ผ้ายันต์สิงห์คู่หลวงพ่อกริ่ง วัดโพธิ์เลี้ยว

          สร้างขึ้นในช่วงก่อนปี พ.ศ. ๒๕๓๐ ลักษณะเป็นผ้าขนาดสี่เหลี่ยม โดยหลวงพ่อกริ่งนั้นจะจารและเขียนรูปราหูลงในผืนผ้า ตามตำหรับวิชาของหลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง ผู้เป็นอาจารย์ จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

ผ้ายันต์สิงคู่ หลวงพ่อกริ่ง วัดโพธิ์เลี้ยว

          ด้านหน้า เป็นรูปสิงห์คู่ ด้านบนมีรูปหลวงพ่อน้อย วัดศรีษะทอง และรูปของหลวงพ่อกริ่ง ใต้รูปมีอักขระยันต์ต่างๆ 

          ด้านหล้ง ไม่มีภาพหรือรอยจารใดๆ

          ผ้ายันต์ราหูหลวงพ่อกริ่ง วัดโพธิ์เลี้ยว

          สร้างขึ้นในช่วงก่อนปี พ.ศ. ๒๕๓๐ ลักษณะเป็นผ้าขนาดสี่เหลี่ยม โดยหลวงพ่อกริ่งนั้นจะจารและเขียนรูปราหูลงในผืนผ้า ตามตำหรับวิชาของหลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง ผู้เป็นอาจารย์ จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

ผ้ายันต์ราหูอมจันทร์ หลวงพ่อกริ่ง วัดโพธิ์เลี้ยว กาญจนบุรี

          ด้านหน้า เป็นรูปราหูอมจันทร์ ในกรอบวงกลม ภาพในวงกลม มีการจารอักขรยันต์ต่างๆ 

          ด้านหล้ง ไม่มีภาพหรือรอยจารใดๆ

          พระขุนแผน หลวงพ่อกริ่ง วัดโพธิ์เลี้ยว

          สร้างขึ้นในหลังปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ลักษณะเป็นพระเนื้อดินพิมพ์ห้าเหลี่ยม แบบพระขุนแผนบ้านกร่าง สุพรรณบุรี จัดเป็นของหายากของหลวงพ่อกริ่ง จำนวนการสร้างไม่มีการจดบันทึกไว้

พระขุนแผนหลวงพ่อกริ่ง วัดโพธิ์เลี้ยว ของคุณเกียรติศักดิ์ กาญจนเรืองเด่น

          ด้านหน้า เป็นพระพุทธประทับนั่งมารวิชัย บนฐานเขียง ๒ ชั้น องค์พระอยู่ภายในซุ้มเรือนแก้ว 

          ด้านหล้ง มีรอยจารของหลวงพ่อ

          แหนบหลวงพ่อกริ่ง วัดโพธิ์เลี้ยว รุ่นแรก

          สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๐๔ เพื่อแจกจ่ายให้กับลูกศิษย์เนื่องในงานผูกพัทธสีมาวัดโพธิ์เลี้ยว ลักษณะเหมือนแหนบทั่วไป มีการสร้างด้วยเนื้อโลหะชุบนิเกิ้ลลงยาสีสวยงาม เพียงเนื้อเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่มีการจดบันทึกไว้

แหนบหลวงพ่อกริ่ง วัดโพธิ์เลี้ยว รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๕๐๔

          ด้านหน้า เป็นรูปหน้าหลวงพ่อกริ่ง สกรีนบนโลหะ ด้านบนมีอุณาโลมรัศมี ด้านล่างอักขระภาษาไทยเขียนว่า "งานผูกพัทธสีมาวัดโพธิ์ศรีฯ ๒๕๐๔"

          ด้านหล้ง มีเข็มสำหรับกลัดติดกับผ้า และมีรอยจารของหลวงพ่อ

          เหรียญหลวงพ่อโสธร หลวงพ่อกริ่ง วัดโพธิ์เลี้ยว

          สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๐๔ เพื่อแจกจ่ายให้กับลูกศิษย์เนื่องในงานผูกพัทธสีมาวัดโพธิ์เลี้ยว ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปใบโพธิ์ขนาดเล็ก มีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้อทองแดงกระไหล่ทองเพียงเนื้อเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่มีการจดบันทึกไว้

เหรียญหลวงพ่อโสธร หลวงพ่อกริ่ง วัดโพธิ์เลี้ยว 2504 ทองแดงกระไหล่ทอง
เหรียญหลวงพ่อโสธร หลวงพ่อกริ่ง วัดโพธิ์เลี้ยว ปี พ.ศ. ๒๕๐๔ เนื้อทองแดงกระไหล่ทอง

          ด้านหน้า เป็นรูปหน้าหลวงพ่อโสธร ข้างรูปหลวงพ่อโสธรมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "หลวงพ่อโสธร"

          ด้านหล้ง มีอักขระยันต์ รอบอักขระยันต์มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "งานผูกพัทธสีมา วัดโพธิ์ศิริ อ.ท่าม่วง ๒๕๐๔"

          เหรียญหลวงพ่อกริ่ง วัดโพธิ์เลี้ยว รุ่นแรก

          สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๒๐ เพื่อแจกจ่ายให้กับลูกศิษย์เนื่องในงานทำบุญอายุหลวงพ่อกริ่งครบ ๖๐ ปี ลักษณะเป็นเหรียญทรงเสมา แบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้อเงิน จำนวน ๑๙ เหรียญ และเนื้อทองแดงเท่านั้น ในบางเหรียญจะมีรอยจารของหลวงพ่อ จำนวนการสร้างเนื้อทองแดงไม่มีการจดบันทึกไว้

เหรียญหลวงพ่อกริ่ง วัดโพธิ์เลี้ยว รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ เนื้อทองแดง

          ด้านหน้า เป็นรูปหลวงพ่อกริ่งครึ่งองค์ ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ ด้านบนมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "หลวงพ่อ (กริ่ง)"

          ด้านหล้ง มีอักขระยันต์สามหรือยันต์ใบพัด ใต้ยันต์มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "ทำบุญอายุครบ ๖๐ ปี วัดโพธิ์เลี้ยว กาญจนบุรี" 

          เหรียญหลวงพ่อกริ่ง วัดโพธิ์เลี้ยว รุ่นสอง (จินดากูล)

          สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๒๘ เพื่อแจกจ่ายให้กับลูกศิษย์เนื่องในงานฉลองสมณศักดิ์ ลักษณะเป็นเหรียญทรงเสมา แบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้อทองแดง เพียงเนื้อเดียวเท่านั้น ในบางเหรียญจะมีรอยจารของหลวงพ่อ จำนวนการสร้างไม่มีการจดบันทึกไว้

เหรียญหลวงพ่อกริ่ง วัดโพธิ์เลี้ยว รุ่น ๒ ปี พ.ศ. ๒๕๒๘ เนื้อทองแดง

          ด้านหน้า เป็นรูปหลวงพ่อกริ่งครึ่งองค์ ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ ด้านบนมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "หลวงพ่อ (กริ่ง) จินดากูล"

          ด้านหล้ง มีอักขระยันต์สามหรือยันต์ใบพัด ใต้ยันต์มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "ที่ระลึกในงาน ฉลองสมณศักดิ์ พระครูวิธานกาญจนกิจ วัดโพธิ์เลี้ยว กาญจนบุรี"

           เหรียญหลวงพ่อกริ่ง วัดโพธิ์เลี้ยว รุ่น ห้าพลัง

          สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๓๒ ลักษณะเป็นเหรียญทรงเสมาแบบมีหูในตัว ในยุคแรกมีการสร้างด้วยเนื้อทองแดง เพียงเนื้อเดียวเท่านั้น ในบางเหรียญจะมีรอยจารของหลวงพ่อ จำนวนการสร้างไม่มีการจดบันทึกไว้

เหรียญหลวงพ่อกริ่ง วัดโพธิ์เลี้ยว รุ่น ห้าพลัง ปี พ.ศ. ๒๕๓๒ เนื้อทองแดง

          ด้านหน้า เป็นรูปหลวงพ่อกริ่งนั่งเต็มองค์ รูปหลวงพ่อเฉื่อยครึ่งองค์ รูปหลวงพ่อวุ้นครึ่งองค์ และรูปหลวงพ่อน้อย ครึ่งองค์ ใต้รูปหลวงพ่อทั้ง ๔ มี รูปจำลองของราชสีห์อยู่ ๑ ตน ด้านบนมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "วัดโพธิ์เลี้ยว"

          ด้านหล้ง มีอักขระยันต์สามหรือยันต์ใบพัด ใต้ยันต์สามมียันต์ราหูอมจันทร์ มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "จ. กาญจนบุรี"

          รูปหล่อหลวงพ่อกริ่ง วัดโพธิ์เลี้ยว รุ่นแรก

          สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๓๒ สร้างเมื่อคราวที่หลวงพ่อมีอายุครบ ๗๒ ปี ลักษณะเป็นรูปหล่อโบราณ มีการสร้างด้วยเนื้อตะกั่ว เนื้อเมฆพัตร และเนื้อทองเหลือง โดยเนื้อทองเหลืองมีจำนวนการสร้าง ๗๒ องค์ ส่วนเนื้ออื่นๆไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

รูปหล่อโบราณหลวงพ่อกริ่ง วัดโพธิ์เลี้ยว รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๕๓๒ เนื้อทองเหลือง

รูปหล่อโบราณหลวงพ่อกริ่ง วัดโพธิ์เลี้ยว รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๕๓๒ เนื้อทองเหลือง

          ด้านหน้า เป็นรูปหลวงพ่อกริ่งห่มจีวรลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฏิ นั่งสมาธิเต็มองค์บนฐานเขียง มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "หลวงพ่อกริ่ง"

          ด้านหล้ง ปลายสังฆาฏิจรดฐานเขียง

          การบูชาราหูนั้นเชื่อกันว่าจะให้คุณด้านเสริมดวงชะตา โชคลาภ และแคล้วคลาดจากเคราะห์ต่างๆ โบราณจารย์ถือเป็นเคล็ดว่าใครบูชาพระราหูก็จะทำให้ชีวิตเป็นอมตะ หากแม้ดวงชะตาถึงฆาตถึงที่จะตายโหงก็จะไม่ตาย หรือแม้แต่ดวงชะตาตกต่ำบูชาแล้วจะทำให้ดวงชะตาดีขึ้น

         ประสบการณ์ของผู้นำไปใช้ต่างได้รับประสบการณ์ที่ดีต่าง ๆ นานา เช่น ค้ำจุนดวงชะตา แคล้วคลาดปลอดภัย มีตบะบารมี เป็นราศรีแก่ตนใครเห็นต่างให้ความรัก ความเมตตา มีคดีความก็มีทางออกได้สิ่งร้าย ๆ ที่คาดว่าจะเกิดก็มลายสูญหายไป ป้องกันสิ่งร้ายต่างๆ คงกระพันชาตรี และเพิ่มพูนทรัพย์สินเงินทอง และยังแก้ปีชง แก้ดวงตก อุปสรรคต่างๆ ที่เข้ามากล้ำกลาย


โดย : สารานุกรม​พระเครื่อง​ลุ่ม​น้ำแม่กลอง

บทความที่เกี่ยวข้อง


***-[เป็นกำลังใจและสนับสนุน​ให้เราเขียนบทความดีๆ ช่วยกดดูโฆษณาด้านล่างนะคะ]-***

ไม่มีความคิดเห็น

ค้นหาบล็อกนี้