โฆษณาแนวนอน728*90

บทความใหม่

ประวัติและวัตถุมงคลพระอาจารย์โหพัฒ โรงเจเข่งซิ่วตั๊ว กาญจนบุรี พระผู้มีตาทิพย์และบารมีร่างกายไม่เน่าเปื่อย

พระอาจารย์โหพัฒ โรงเจเข่งซิ่วตั๊ว กาญจนบุรี

          พระอาจารย์โหพัฒ พื้นเพท่านเป็นชาวบ้านบ้านวังขนาย ตำบลวังขนาย อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ท่านมีนามเดิมว่า ชุ้นหยี เซี่ยงฉิน เกิดเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๗  โยมบิดาชื่อนายจ้ำ เซี่ยงฉิน โยมมารดาชื่อนางเต็กหมา เซี่ยงฉิน

          ปี พ.ศ. ๒๔๕๘ พระอาจารย์โหพัฒ ท่านอายุได้ ๑๑ ขวบ ท่านก็ได้บวชเป็นสามเณรอยู่ที่วัดถาวรวราราม (เค่งซิ่วหยี่) เพื่อศึกษาวิชาและร่ำเรียนหนังสือเขียนอ่าน

          ปี พ.ศ. ๒๔๖๗ พระอาจารย์โหพัฒ ท่านมีอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ท่านจึงได้อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดถาวรวราราม ตำบลบ้านเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ได้รับฉายาว่า “โหพัฒ” โดยมี

          หลวงพ่อเทียม วัดถาวรวราราม เป็นพระอุปัชฌาย์

          หลังอุปสมบทแล้ว ท่านได้อยู่จำพรรษาที่วัดถาวรวรารามเรื่อยมา เพื่อศึกษาพระธรรมวินัยและวิชาตามหลักพุทธศาสนา แบบมหายาน 

          ต่อมาท่านได้ย้ายไปจำพรรษาอยู่ที่วัดมงคลสมาคม ถนนแปลงนาม เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ ซึ่งขณะนั้นมีพระครูคณะบับสมณาจารย์ (เหมิกโงน) เป็นเจ้าอาวาสอยู่ 

          เมื่อท่านเจ้าอาวาสมรณภาพ พระอาจารย์โหพัฒจึงย้ายไปอยู่วัดอุทัยบำรุง เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร เพื่อศึกษาวิชาต่อ

          ปี พ.ศ. ๒๔๘๗ พระอาจารย์โหพัฒ ท่านก็ได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดถ้ำเขาน้อย อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งขณะนั้นมีพระอาจารย์ย้ากเหมิงเป็นเจ้าอาวาส

          ปี พ.ศ. ๒๔๘๙ พระอาจารย์ย้ากเหมิงเป็นเจ้าอาวาสวัดถ้ำเขาน้อยครบกำหนดเงื่อนไขการเป็นเจ้าอาวาส ที่จะดำรงตำแหน่ง ๒ ปี พระอาจารย์โหพัฒ จึงได้รับการนิมนต์ให้เป็นเจ้าอาวาสอยู่ที่วัดถ้ำเขาน้อยทดแทนตำแหน่งที่ว่างลง

          และในช่วงนี้เองพระอาจารย์โหพัฒ ท่านได้พบกับพระอาจารย์เหงียบเส็ง แซ่โจว พระสงฆ์จีนที่เดินทางมาพักอยู่ที่วัดถ้ำเขาน้อย ท่านจึงได้ศึกษาการเจริญสมาธิกับพระอาจารย์เหงียบเส็ง จนสามารถรู้เห็นเหตุการณ์ต่างๆได้ 

โรงเจเข่งซิ่วตั๊ว กาญจนบุรี

          ครั้งหนึ่งมีพระสงฆ์เดินทางธุดงค์มาจากเพชรบุรี และมาได้พบกับพระอาจารย์โหพัฒ จึงได้พูดคุยและเล่าเรื่องที่จะบูรณะซ่อมแซมวัดที่เพชรบุรี

          ท่านพระอาจารย์โหพัฒครั้งได้นั่งหลับตา แล้วได้พูดถึงวัดของพระธุดงค์รูปนั้น ว่าลักษณะของวัดเป็นอย่างไร หันหน้าไปทางไหน ดังตาเห็น จนพระธุดงค์รูปนั้นเลื่อมใสในตัวพระอาจารย์โหพัฒมาก

          ปี พ.ศ. ๒๔๙๒ ครบกำหนดระยะเวลาที่พระอาจารย์โหพัฒท่านครองวัดครบตามระยะเวลาแล้ว ท่านจึงได้ลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาส โดยมี พระอาจารย์อันตึง(หลอย) รับช่วงดูแลวัดถ้ำเขาน้อยแทน

          หลังจากลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาส ท่านได้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดคณะสงฆ์จีนที่จังหวัดยะลา เป็นระยะเวลาสั้นๆ 

โรงเจเข่งซิ่วตั๊ว กาญจนบุรี

          ปี พ.ศ. ๒๔๙๓ ท่านได้เดินทางกลับมาที่จังหวัดกาญจนบุรีอีกครั้ง โดยมาอยู่ที่โรงเจเข่งซิ่วตั๊ว ตำบลท่าเรือ อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี ท่านได้ปรับปรุงโรงเจจนเจริญรุ่งเรือง 

          ท่านได้ช่วยเหลือชาวบ้านที่เดือดร้อนป่วยไข้ทุกคนที่ไปหาให้ท่านช่วย ท่านจะรักษาด้วยสมุนไพรบ้าง น้ำมนต์บ้าง จนชาวบ้านหายดีทุกราย ชาวบ้านต่างเคารพเลื่อมใสท่านมาก

ภาพถ่ายของพระอาจารย์โหพัฒน์-ครั้งมรณภาพ
พระอาจารย์โหพัฒน์ โรงเจเข่งซิ่วตั๊ว กาญจนบุรี ครั้งมรณภาพ

          นอกจากนี้พระอาจารย์โหพัฒ ยังเป็นพระที่มีเมตตาธรรมสูง สั่งสอนชาวบ้านให้อยู่ในศีลในธรรม และท่านก็ไปเยี่ยมเยียนชาวบ้านอยู่เสมอ

          ท่านอาจารย์โหพัฒ จำวัดอยู่ที่โรงเจเข่งซิ่วตั๊วเรื่อยมาจนถึงแก่ได้มรณภาพลงเมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๓ ตรงกับวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๓ ปีขาล เวลาบ่าย ๒ โมง นับรวมสิริอายุเพียง ๔๖ ปี โดยท่านบวชเรียนทั้งสิ้น ๓๕ พรรษา

ภาพถ่ายพระอาจารย์โหพัฒ สภาพไม่เน่าเปื่อย
พระอาจารย์โหพัฒ โรงเจเข่งซิ่วตั๊ว กาญจนบุรีสภาพไม่เน่าเปื่อย

          เมื่อท่านอาจารย์โหพัฒมรณภาพแล้ว คณะศิษย์ที่โรงเจเข่งซิ่วตั๊ว ได้มีการเก็บศพของท่านไว้ในท่านั่งพรมมือตามแบบที่นิยมกันในพุทธศาสนาแบบมหายาน เพื่อรอกำหนดฌาปนกิจในอีก ๓ ปี ข้างหน้าเพื่อสรีระมีอายุ ๕๐ ปี ตามความเชื่อของคนในสมัยนั้น

          ปี พ.ศ. ๒๔๙๖ ครบกำหนดหลังจากเก็บรักษาศพของท่านไว้ครบ ๓ ปี คณะศิษย์ที่โรงเจเข่งซิ่วตั๊ว จึงได้กำหนดที่จะฌาปนกิจ แต่เมื่อได้ทำพิธีเปิดโลงออกมา ปรากฏว่าร่างของท่านไม่เน่าเปื่อย มองดูเหมือนกับยังมีชีวิตอยู่ 

พระอาจารย์โหพัฒ โรงเจเข่งซิ่วตั๊ว กาญจนบุรี

          ชาวบ้านและลูกศิษย์จึงได้นำองค์ท่านมาทำการลงรักปิดทอง และทำพิธีอัญเชิญขึ้นประดิษฐาน ณ โรงเจเข่งซิ่วตั๊ว หรือที่ชาวบ้านมักเรียกว่าโรงเจท่าเรือ เพื่อเป็นที่สักการะบูชาของสาธุชนสืบไปจนถึงปัจจุบัน

วัตถุมงคลของอาจารย์โหพัฒ

          วัตถุมงคลของพระอาจารย์โหพัฒ เริ่มสร้างในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ เป็นต้นมา และทุกรุ่นล้วนไม่ทันท่านปลุกเสก แต่จะใช้การเชิญดวงวิญญาญของพระอาจารย์โหพัฒมาประทับทรง แล้วจึงทำการปลุกเสก

          ซึ่งแม้วัตถุมงคลของท่านทุกรุ่นจะไม่ทันท่านสร้าง แต่ก็มีอิทธิ์ปาฎิหารย์เกิดแก่ผู้ที่ครอบครองวัตถุมงคลของท่านจนเป็นที่เลื่องลือและแสวงหากันเป็นอย่างมาก

          เหรียญพระอาจารย์โหพัฒน์ รุ่นแรก

          สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ ลักษณะเป็นเหรียญทรงเสมาแบบมีหูในตัว เหรียญรุ่นนี้ได้พ่อบ๋าวเอิงทำพิธีเชิญวิญญาณอาจารย์โหพัฒน์ประทับทรงเสก และมีหลวงพ่อโอภาสี และหลวงพ่อลี วัดอโศการาม ร่วมเสกด้วย มีการสร้างด้วยเนื้อทองคำ จำนวนสร้าง ๘ เหรียญ เนื้อเงินลงยาจำนวนการสร้าง ๔๖ เหรียญ และเนื้อทองเหลืองกระไหล่ทอง จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้ 

         ในบางตำราบอกว่าเหรียญสร้างในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ โดยมีการสร้างเนื้อทองเหลืองกระไหล่ทองเพียงชนิดเดียว พอมาถึงปี พ.ศ. ๒๔๙๗ จึงมีการนำเหรียญมาถอดพิมพ์แล้วปั๊มใหม่ออกเนื้อทองคำ และเนื้อเงินลงยาซึ่งพื้นเหรียญจะมีกลาก แต่ในวงการถือเป็นเหรียญรุ่นหนึ่งเหมือนกัน 

เหรียญพระอาจารย์โหพัฒ โรงเจเข่งซิ่วตั๊ว รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ เนื้อเงินลงยา

เหรียญพระอาจารย์โหพัฒ โรงเจเข่งซิ่วตั๊ว รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ เนื้อทองเหลืองกระไหล่ทอง
เหรียญพระอาจารย์โหพัฒน์ รุ่นแรก 2497 ทองแดงกระไหล่ทอง
เหรียญพระอาจารย์โหพัฒ โรงเจเข่งซิ่วตั๊ว รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ เนื้อทองเหลืองกระไหล่ทอง

          ด้านหน้า เป็นรูปท่านครึ่งองค์ ด้านล่างมีอักขระภาษาไทยอ่านได้ว่า "อาจารย์โหพัฒ"

          ด้านหลัง มีอักขระยันต์จีน

          เหรียญพระอาจารย์โหพัฒ รุ่นสอง

          สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่แบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้อทองแดง และทองแดงกระไหล่ทอง จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

เหรียญพระอาจารย์โหพัฒน์ รุ่น2 2498
เหรียญพระอาจารย์โหพัฒ โรงเจเข่งซิ่วตั๊ว รุ่นสอง ปี พ.ศ. ๒๔๙๘ เนื้อทองแดง

เหรียญพระอาจารย์โหพัฒ โรงเจเข่งซิ่วตั๊ว รุ่นสอง ปี พ.ศ. ๒๔๙๘ เนื้อทองแดง

          ด้านหน้า เป็นรูปท่านครึ่งองค์ ด้านบนมีอักขระภาษาไทยอ่านได้ว่า "อาจารย์โหพัฒ" ด้านล่างมีตัวเลข "๒๔๙๘" บอกปีที่สร้าง

          ด้านหลัง มีอักขระยันต์จีน

          เหรียญพระอาจารย์โหพัฒ รุ่นสาม

          สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๐๖ ลักษณะเป็นเหรียญรูปทรงเสมาแบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้อทองแดง และทองแดงกระไหล่ทอง จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

เหรียญพระอาจารย์โหพัฒ โรงเจเข่งซิ่วตั๊ว รุ่น ๓ ปี พ.ศ. ๒๕๐๖ เนื้อทองแดงกระไหล่ทอง

          ด้านหน้า เป็นรูปท่านครึ่งองค์ ด้านบนมีอักขระเลขอาราบิกอ่านได้ว่า "2506" บอกปีที่สร้าง ด้านล่างมีอักขระภาษาไทยอ่านได้ว่า "อาจารย์โหพัฒ" 

          ด้านหลัง มีอักขระยันต์จีน

          รูปเหมือนปั๊มพระอาจารย์โหพัฒ รุ่นแรก

          สร้างในปี พ.ศ. ๒๕๐๖ โดยใช้วิธีการปั๊ม มีการสร้างด้วยเนื้อทองเหลืองเพียงชนิดเดียว จัดเป็นพระรูปหล่อที่หายากของพระอาจารย์โหพัฒ จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

รูปเหมือนปั๊มพระอาจารย์โหพัฒ โรงเจเข่งซิ่วตั๊ว รุ่นแรก

          ด้านหน้า เป็นรูปท่านอาจารย์นั่งเต็มองค์ ปางสมาธิ ห่มจีวรแบบพระจีนหินยาน ด้านล่างมีอักขระภาษาไทยอ่านได้ว่า "อาจารย์โหพัฒ"

          ด้านหลัง มีอักขระยันต์จีน

          เหรียญพระอาจารย์โหพัฒ หลังหลวงพ่อแห้ง

          สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ ลักษณะเป็นเหรียญรูปทรงเสมาแบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้ออัลปาก้า และเนื้อทองแดง จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

เหรียญพระอาจารย์โหพัฒ หลังหลวงพ่อแห้ง โรงเจเข่งซิ่วตั๊ว ปี พ.ศ. ๒๕๑๒ เนื้ออัลปาก้า

เหรียญพระอาจารย์โหพัฒน์หลังหลวงพ่อแห้ง  ปี พ.ศ. 2512 ทองแดง
เหรียญพระอาจารย์โหพัฒ หลังหลวงพ่อแห้ง โรงเจเข่งซิ่วตั๊ว ปี พ.ศ. ๒๕๑๒ เนื้อทองแดง
 
           ด้านหน้า เป็นรูปท่านครึ่งองค์ ด้านบนมีอักขระยันต์จีน ด้านข้างมีอักขระเลขไทยอ่านได้ว่า "๒๕๑๒" บอกปีที่สร้าง ด้านล่างมีอักขระภาษาไทยอ่านได้ว่า "อาจารย์โหพัฒ"

          ด้านหลัง เป็นรูปหลวงพ่อแห้งครึ่งองค์ มีอักขระยันต์จีนอยู่ด้านบน ด้านข้างมีอักขระเลขไทยอ่านได้ว่า "๒๕๑๒" บอกปีที่สร้าง ด้านล่างมีอักขระภาษาไทยอ่านได้ว่า "หลวงพ่อแห้ง"

          เหรียญพระอาจารย์โหพัฒ ปี ๒๑

          สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๒๑ ลักษณะเป็นเหรียญรูปทรงเสมาแบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้ออัลปาก้า และเนื้อทองแดง จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

เหรียญพระอาจารย์โหพัฒ โรงเจเข่งซิ่วตั๊ว ปี พ.ศ. ๒๕๒๑ เนื้อทองแดง

          ด้านหน้า เป็นรูปท่านครึ่งองค์ ด้านบนมีอักขระเลขไทยอ่านได้ว่า "๒๕๒๑" บอกปีที่สร้าง ด้านล่างมีอักขระภาษาไทยอ่านได้ว่า "อาจารย์โหพัฒ"

          ด้านหลัง มีอักขระยันต์จีน
 
          พระบูชาพระอาจารย์โหพัฒ ปี ๒๑

          สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๒๑ ลักษณะเป็นพระบูชาขนาดหน้าตัก ๕ นิ้ว หล่อด้วยเนื้อทองเหลืองรมดำ จัดเป็นพระบูชาที่หายากหลวงพระอาจารย์ จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
 
พระบูชาพระอาจารย์โหพัฒน์ ปี พ.ศ. 2521
พระบูชาพระอาจารย์โหพัฒ โรงเจเข่งซิ่วตั๊ว หน้าตัก ๕ นิ้ว ปี พ.ศ. ๒๕๒๑ เนื้อทองเหลืองรมดำ

          ด้านหน้า เป็นรูปท่านนั่งประธา่นพรเต็มองค์ องค์พระอาจารย์ห่มจีวรแบบจีนมหานิกายเต็มชุด ด้านหน้ามีแผ่นโลหะแป๊ะไว้ มีอักขระภาษาไทยสีแดงเขียนว่า "อาจารย์โหพัฒ ๒๕๒๑" บอกปีที่สร้าง

          ด้านหลัง ไม่ปรากฏอักขระยันต์ใดๆ
 
          ด้านใต้ฐาน ไม่ปรากฏดินไทยหรือดินฝรั่ง


โดย : สารานุกรม​พระเครื่อง​ลุ่ม​น้ำแม่กลอง

บทความที่เกี่ยวข้อง


***-[เป็นกำลังใจและสนับสนุน​ให้เราเขียนบทความดีๆ ช่วยกดดูโฆษณาด้านล่างนะคะ]-***

2 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ27 ม.ค. 2567 16:53:00

    เหรียญรุ่นแรกเนื้อทองคำและเนื้อเงิน จัดสร้างในปี 2506 ครับ

    ตอบลบ

ค้นหาบล็อกนี้