ประวัติและวัตถุมงคลของหลวงพ่อบุญรอด (พระครูสุตาภิรัต) วัดบางขันแตก ศิษย์ก้นกุฏิของหลวงพ่อแก้ว วัดพวงมาลัย
พระครูสุตาภิรัต(บุญรอด) วัดบางขันแตก |
หลวงพ่อบุญรอด หรือ พระครูสุตาภิรัต วัดบางขันแตก ผู้ก่อกำเนิดเหรียญคุณพระซึ่งปรากฏอานุภาพความศักดิ์สิทธิ์ สามารถดลบันดาลช่วยเหลือผู้ที่เคารพเลื่อมใส ให้รอดพ้นจากภัยอันตรายต่างๆ มาแล้ว อย่างไม่น่าเชื่อแม้ว่าเหรียญพระคุณของท่านจะเป็นเหรียญที่ไม่เก่านัก
แต่ด้วยคุณค่าแห่งกฤษฎาคมที่ได้อธิษฐานไว้ประกอบกับมีประสบการณ์หลายด้าน จึงนับเป็นเหรียญดีเหรียญหนึ่งซึ่งค่านิยมในวงการส่วนกลางจะไม่สูงและไม่ค่อยมีผู้รู้จักกันมากนัก
แต่ว่าในท้องถิ่นกลับได้รับความนิยมมีราคาเช่าหาแลกเปลี่ยนอยู่ในเกณฑ์พอสมควร อีกทั้งค่อนข้างหายาก เหตุที่มูลค่าของเหรียญไม่สูงนั้น คงเนื่องจากในจังหวัดนี้มีเหรียญหลักนิยมอยู่ค่อนข้างมาก
พระครูสุตาภิรัต เดิมชื่อบุญรอด นามสกุลอักษรทรัพย์ เกิดเมื่อวันอาทิตย์ เดือนอ้าย ปีเถาะ พ.ศ. ๒๔๒๑ ที่บ้านตำบลคลองไทย อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม โยมมารดาชื่อนางจันทร์ อักษรทรัพย์ โดยท่านเป็นบุตรคนที่ ๕ ในจำนวนพี่น้อง ๗ คนเป็นชาย ๔ หญิง ๓
พอมีอายุอยู่ในวัยศึกษาโยมมารดาได้นำมาฝากไว้ให้เล่าเรียนหนังสือไทยและขอมกับหลวงพ่อแก้ว วัดพวงมาลัย เพื่อศึกษาอักขระสมัยทั้งไทยและขอม จนมีความชำนาญกับเรียนบาลีไวยากรณ์
ปี พ.ศ. ๒๔๔๑ หลวงพ่อบุญรอด ท่านมีจนอายุได้ ๒๐ปี จึงทำการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดพวงมาลัย ตำบลแม่กลอง อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม เมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๔๑ ได้รับฉายาว่า "อุทโย" โดยมี
หลวงพ่อแก้ว วัดพวงมาลัย เป็นพระอุปัชฌาย์
หลวงพ่อบ่าย วัดช่องลม เป็นพระกรรมวาจาจารย์
หลวงพ่อนก วัดบางขันแตก เป็นพระอนุสาวนาจารย์
หลังอุปสมบทแล้วหลวงพ่อบุญรอดได้ศึกษาพระธรรมวินัยและวิชาอาคมอยู่วัดพวงมาลัย จนมีความรู้เป็นอย่างดีกับเรียนทางด้านสมถะวิปัสสนาธุระ และวิทยาคมจากพระอุปัชฌาย์
หลังจากนั้นจึงเริ่มออกเดินธุดงค์ร่วมกับพระคณาจารย์อื่นๆและหลวงพ่อบ่าย วัดช่องลม อยู่เป็นเวลานานถึง ๗ ปี
ปี พ.ศ. ๒๔๕๘ หลวงพ่อนกได้ถึงแก่มรณภาพลง ชาวบ้านจึงเดินทางไปปรึกษากับหลวงพ่อแก้ว วัดพวงมาลัย เพื่อขอนิมนต์หลวงพ่อบุญรอด มาเป็นเจ้าอาวาสวัดบางขันแตกทดแทนตำแหน่งที่ว่างลง ซึ่งหลวงพ่อแก้วก็อนุญาติ
ซุ้มประตูวัดบางขันแตก |
วัดบางขันแตก ตั้งอยู่ หมู่ที่ ๓ ตำบลบางขันแตก อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม โดยวัดมีเนื้อที่ ๙ ไร่ ๓ งาน ๖๐ ตารางวา วัดนี้มีชื่อเรียกกันมาแต่ก่อนว่า วัดอินทร์ประเสริฐ จะสร้างขึ้นแต่เมื่อใดและใครเป็นผู้สร้างไม่อาจหาหลักฐานได้
มีแต่คำบอกเล่าต่อๆกันมาว่าผู้สร้างคือนายทับ กับนางทองอินซึ่งมีจารึกอยู่ที่ธรรมาสน์ซึ่งมีลักษณะคล้ายศาลาตั้งอยู่ในวิหารมีข้อความว่า "ทะมาดสวดนีประสกทับ สีกาทองอิน ส้างไวยไนยพระศาศะนา ขอเป็น มาระคาแก่พระโพทิยาน เถิงยังนีฤาพารโนนเทิฎ..."กับมีจารีกอีกแห่งที่ธรรมาสน์บนศาลาการเปรียญ ข้อความว่า "ทะมาดนี้สีกาทองอิน ทร้างไว้ไนยพระศาศะนา...ข้าปราฏนาเปรบุรุศธายทุกๆชาชไป...ข้าได้ทร้างพระเงิน พระทอง พระทองเหลือง หนังสือเจดคำภี อะศรัจกะทีป ๓ ยก"
แต่อย่างไรก็ตามยังไม่อาจยืนยันได้ว่า นางทองอิน และนายทับ เป็นผู้สร้างวัดหรืออาจมีผู้อื่นสร้างไว้ก่อนหน้านั้นแล้ว นางทองอิน และนายทับ มาสร้างวัตถุขึ้นภายหลังต่อมาทั้งในข้อความนั้นไม่ได้ระบุศักราช หรือปีพุทธศักราช ไว้ด้วยและเดิมก็มีแต่กุฏิหลังเล็กๆเฉพาะพระสงฆ์อยู่ได้รูปเดียว ปลูกอยู่กระจัดกระจายมิได้รวมกันเป็นสัดส่วนหมวดหมู่เช่นปัจจุบัน
เหตุที่เปลี่ยนนามวัดจาก วัดอินทร์ประเสริฐ มาเป็น วัดบางขันแตก นั้นในปี พ.ศ. ๒๔๕๘ สมเด็จพระสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส เสด็จมาตรวจการคณะสงฆ์เมืองสมุทรสงครามได้ทอดพระเนตรวัดต่างๆ อาทิ วัดบางจะเกร็ง วัดอัมพวัน วัดเพชรสมุทร วัดเสด็จ และวัดบางขันแตก
ครั้งนั้นพระครูวัฒนโกศล (ถมยา) เป็นเจ้าคณะแขวงบ้านปรก ซึ่งต่อมาได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูมหาสิทธิการเจ้าคณะจังหวัด มารอรับเสด็จอยู่ที่วัดด้วย
สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงตรัสถามพระอธิการบุญรอด เจ้าอาวาส ว่าวัดนี้ชื่ออะไร พระอธิการบุญรอด ตอบว่าชื่อ"วัดอินทร์ประเสริฐ" สมเด็จ ตรัสถามต่อว่าตำบลนี้ชื่ออะไร ก็ทรงได้รับคำตอบว่า "ตำบลบางขันแตก"
สมเด็จสมณเจ้าฯ ทรงตรัสว่า "วัดนี้ตั้งอยู่ในตำบลบางขันแตกควรจะใช้ชื่อตามตำบลจะเหมาะสมกว่า" และได้พระราชทานนามวัดใหม่ว่า วัดบางขันแตก
หลวงพ่อชัยสิทธิ์ (หลวงพ่อหิน) วัดบางขันแตก |
สิ่งสำคัญภายในวัดนอกจากพระประธานปูนปั้นลงรักปิดทองในพระอุโบสถแล้ว ยังมีพระพุทธรูปสำคัญอีกองค์หนึ่ง ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของผู้คนจำนวนมาก
ด้วยเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์มีอภินิหารเลื่องลือ มักจะมีผู้มาจุดประทัดถวายแก้บนอยู่บ่อยๆ เป็นพระพุทธรูปปางนาคปรกทำด้วยศิลา ขนาดหน้าตักกว้างประมาณ ๔๒ ซม. สูงประมาณ ๗๐ ซม.
เดิมเรียกกันทั่วไปว่า หลวงพ่อหิน ต่อมา พระกวีวงศ์(สนิท เขมจารี) ปัจจุบันเป็นสมเด็จพระธีรญาณมุนี วัดปทุมคงคา ถวายพระนามใหม่ว่า พระชัยสิทธิ์ หรือ หลวงพ่อชัยสิทธิ์ พระพุทธรูปองค์นี้ พระครูมหาสิทธิการ(ถมยา) เป็นผู้อัญเชิญมาจากวัดปู่บัว จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๙
หลังจากที่หลวงพ่อบุญรอดได้เป็นเจ้าอาวาส ท่านก็เริ่มบูรณะปฏิสังขรณ์วัด จัดการย้ายกุฏิที่มีอยู่กระจัดกระจาย ให้มารวมกันเป็นระเบียบขึ้น เพื่อให้ง่ายต่อการดูแล และซ่อมแซมเสนาสนะต่างๆ จนวัดเจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับปี พ.ศ. ๒๔๘๗ ท่านได้จัดสร้างศาลาการเปรียญหลังใหม่ขึ้น เพื่อทดแทนหลังเดิมที่ชำรุด
ด้านการศึกษาทั้งทางโลกและทางธรรม ท่านได้เอาใจใส่และสนใจมากเพราะในสมัยนั้นการศึกษาเล่าเรียนของเยาวชนยังล้าหลัง ท่านได้จัดตั้งโรงเรียนสอนหนังสือไทยขึ้นและจัดหาครูมาสอนเมื่อทางการขยายการศึกษาไปถึงชนบททั่วประเทศ วัดบางขันแตก ก็เป็นอีกแห่งหนึ่งซึ่งทางการได้จัดตั้งโรงเรียนประชาบาล
หลวงพ่อบุญรอด ท่านได้ให้การสนับสนุนและอำนวยความสะดวกทุกอย่าง อาทิให้ใช้ศาลาวัดเป็นที่เรียน และจัดหาอุปกรณ์ต่างๆ ด้านการศึกษาทางธรรม ได้จัดตั้งโรงเรียนสอนนักธรรมขึ้นที่วัดซึ่งเป็นวัดแห่งแรกในตำบลนี้และจัดหาพระภิกษุที่มีความรู้มาสอน
ปี พ.ศ. ๒๔๖๑ เป็นพระปลัดฐานานุกรมของพระครูสิทธิการ(ถมยา) เจ้าคณะจังหวัดสมุทรสงครามปี พ.ศ. ๒๔๗๗ เป็นเจ้าคณะตำบลบางขันแตก
ปี พ.ศ. ๒๔๗๙ เป็นกรรมการศึกษาโรงเรียนประชาบาลวัดบางขันแตก
ปี พ.ศ. ๒๔๘๔ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูชั้นประทวน
ปี พ.ศ. ๒๔๙๐ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ชั้นตรีที่ พระครูสุตาภิรัต
หลวงพ่อบุญรอด ท่านเป็นพระที่มียังมีจริยวัตรที่เคร่งครัดสวดมนต์ทำวัตรเช้า-เย็น ไม่เคยขาดเว้นแต่จะเจ็บป่วยหรือมีกิจนิมนต์ที่สำคัญ ทุกๆเช้าท่านจะตื่นขึ้นมาและลงไปกวาดลานวัดทำความสะอาดลานวัด ทำความสะอาดเสนาสนะ และบริเวณวัดด้วยตัวเองหลวงพ่อบุญรอด ท่านเป็นพระเกจิที่มีความเชี่ยวชาญในวิทยาคม ซึ่งร่ำเรียนมาจากอาจารย์ของท่านคือหลวงพ่อแก้ว วัดพวงมาลัย กับหลวงพ่อบ่ายวัด ช่องลม โดยฝึกฝนในด้านสมถะวิปัสสนาออกเดินธุระร่วมกับพระอาจารย์ทั้งสอง
แต่ด้วยเหตุที่ท่านชอบความสันโดษ ค่อนข้างเงียบขรึม ไม่เคยอวดอ้างคุณ มีเพียงลูกศิษย์และชาวบ้านใกล้ชิดเท่านั้นที่ทราบ
ซึ่งได้ขอให้ท่านทำของขลัง เช่น ตะกรุดบ้าง ผ้ายันต์บ้าง และผู้ที่ได้รับไป ก็ได้พบกับความศักดิ์สิทธิ์มากมาย และทำให้มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่นับถือของผู้คนมากขึ้น แต่ท่านก็ไม่ยอมสร้างวัตถุมงคลอย่างอื่น บรรดาศิษย์และผู้ที่เคารพนับถือได้พยายามอ้อนวอนก็ไม่เป็นผล
ต่อเมื่อสังขารทุกข์โทรมลงจึงหยุด ท่านจึงคิดว่าร่างกายมีความเปลี่ยนแปลงและเสื่อมโทรม จึงได้ปลงสังขารอุทิศสิ่งของและเงินส่วนตัวให้เป็นสมบัติของวัดบางขันแตก ซึ่งท่านได้ทำพินัยกรรมล่วงหน้าไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๘๘
หลวงพ่อบุญรอด ปกครองวัดเรื่อยมาจนถึงแก่มรณภาพลงด้วยโรคชรา เมื่อวันศุกร์ แรม ๖ ค่ำ เดือนอ้าย ปีมะโรง ตรงกับวันศุกร์ที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๕ เวลา ๒๑.๒๕ น. นับสิริรวมอายุได้ ๗๕ ปี ๕๕ พรรษา.วัตถุมงคลของหลวงพ่อบุญรอด วัดบางขันแตก
เหรียญหลวงพ่อบุญรอด วัดบางขันแตก รุ่นแรก
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ ซึ่งเป็นปีสุดท้ายที่ท่านดำรงขรรณ์อยู่ ท่านได้ให้สานุศิษย์และผู้ศรัทธานับถือที่ประสงค์จะได้สิ่งอันเป็นมงคลไว้บูชา ดำเนินการจัดสร้างวัตถุมงคลได้ ซึ่งทำขึ้นเป็นเหรียญรูปของท่าน ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปกระจัง หรือกลีบบัวแบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้อทองแดงผิวไฟ และเนื้อทองแดงกะไหล่ทอง มีจำนวนการสร้างประมาณ ๔,๐๐๐ เหรียญเหรียญหลวงพ่อบุญรอด วัดบางขันแตก รุ่นแรก พ.ศ. ๒๔๙๕ ของคุณสมภพ |
เหรียญหลวงพ่อบุญรอด วัดบางขันแตก รุ่นแรก พ.ศ. ๒๔๙๕ |
ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่อบุญรอดครึ่งองค์ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ ใต้รูปหลวงพ่อมีอักขระอักษรไทยเขียนว่า "พระครูสุตาภิรัต(บุญรอด อุทโย) พ.ศ. ๒๔๙๕"
ด้านหลัง เป็นยันต์สี่เหลี่ยมผืนผ้าและสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนซ้อนใกล้กัน เหมือนกับยันต์อิทธิฤทธิ์มีอักขระขอมด้านบนอ่านว่า "พุท ธะ สัง มิ" และข้างล่างกับในช่องยันต์
ให้ทางวัดเก็บเอาไว้ทั้งหมด หลังจากที่ได้แจกให้กับลูกศิษย์และผู้เคารพนับถือส่วนที่เหลือเก็บไว้นั้นทางวัดนำมาแจกในงานพระราชทานเพลิงศพของท่านจนหมด
โดย : สารานุกรมพระเครื่องลุ่มน้ำแม่กลอง
บทความที่เกี่ยวข้อง
***-[เป็นกำลังใจและสนับสนุนให้เราเขียนบทความดีๆ ช่วยกดดูโฆษณาด้านล่างนะคะ]-***
ไม่มีความคิดเห็น