โฆษณาแนวนอน728*90

บทความใหม่

หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณีกับวิชาใบมะนาวเสก และการให้หวยที่แม่นอย่างตาเห็น

ภาพถ่ายหลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี สมุทรสงคราม-นั่งแคร่
หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี สมุทรสงคราม

           หลวงพ่อเนื่อง ท่านเป็นพระที่ค่อนข้างแปลกจากพระรูปอื่นทั่วไปคือท่านเป็นคนที่ ชอบผื่นดิน ชอบป่า เคร่งในศาสนา หลายครั้งที่ท่าน ธุดงเข้าป่าตามลำพัง เพื่อที่จะวิปัสนากรรมฐาน ตามกิจของสงค์ที่พึงมีตั้งแต่อดีตกาล

         หลวงพ่อเนื่อง ท่านมีวัตรปฏิบัติที่แปลกและน่าอัศจรรย์อยู่อย่างหนึ่งคือทั้งปีท่านจะสรงน้ำเพียง ๑ วันเท่านั้นคือในวันสงกรานต์ 

         ซึ่งน่าประหลาดที่ร่างกายของท่านกลับไม่มีกลิ่น และเหงื่อไคลแต่อย่างใดเลย ดังนั้น ศิษยานุศิษย์ที่เคารพนับถือในตัวหลวงพ่อ จึงแห่แหนกันมาในวันสงกรานต์อย่างเนืองแน่น เพื่อร่วมสรงน้ำท่านกันทุกปี

         ในด้านวิชาอาคมของหลวงพ่อนั้น เล่ากันต่อมาว่าลูกศิษย์ลูกหาของท่านมักจะมาขอความเมตตา ขอใบมะนาวเสกจากหลวงพ่อเนื่อง ซึ่งใบมะนาวเสกถือเป็นของขลังที่หลวงพ่อมักจะหยิบยื่นให้ผู้ที่ไปกราบไหว้

เหรียญใบมะยมหลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี ปี พ.ศ. ๒๕๑๓ เนื้อทองแดง

         โดยใบมะนาวเสกนี้เมื่ออธิษฐานจิตขอในสิ่งที่ปรารถนา เช่น บางคนอยู่เป็นคู่สามีภรรยากันมานานนับสิบๆ ปี ก็ไม่มีลูกสักที แต่เมื่อไปอธิษฐานขอกับหลวงพ่อเนื่องแล้ว ท่านให้ใบมะนาวเสกติดกลับบ้าน ชั่วเวลาไม่นานก็ท้องสมใจ

         หรือบางกรณีมีผู้ไปขอโชคลาภ หรือที่เรียกกันว่าขอหวย ซึ่งทุกคนที่ไปขอก็ได้ไปด้วยความสุขใจ และมีชีวิตที่ดีขึ้น ด้วยบารมีแห่งความเป็นผู้หยั่งรู้ จนชื่อเสียงด้านการให้หวยแม่นอย่างกับตาเห็นของท่านเป็นที่โด่งดัง เป็นผลให้ลูกศิษย์ลูกหาและผู้สนใจในการเสี่ยงโชค ต่างมุ่งหน้าสู่ วัดจุฬามณีเนืองแน่น

         จนครั้งหนึ่งท่านถูกตั้งกรรมการสอบ ด้วยข้อกล่าวหาประพฤติตนไม่เหมาะสมแก่สมณวิสัย โดยการ อวดอุตริมนุษย์ธรรม หรือ การอวดอ้างคุณวิเศษอันไม่มีในตน เนื่องด้วยข่าวทราบถึง ท่านเจ้าคุณพระธรรมปิฎก (สนิท เขมจารี) ต่อมาเลื่อนเป็น สมเด็จพระธีรญาณมุนี วัดปทุมคงคา 

         ซึ่งขณะนั้นเป็นเจ้าอาวาสวัดเพชรสมุทร เจ้าคณะภาค มีบัญชาให้ เจ้าคณะอำเภอ คือ พระครูปัญญาสมุทรคุณ (พจน์) เป็นประธานในการสอบ โดยในวันสอบนั้น ท่านเจ้าพระคุณพระธรรมปิฎก (สนิท เขมจารี) ได้เดินทางไปร่วมสอบด้วย

         ซึ่งหลวงพ่อเนื่อง ได้ให้การแก้ต่างว่า "ไม่ได้อวดอุตริแต่อย่างใด เพียงแต่เห็นอะไร ก็บอกไปอย่างนั้น" ทำให้คณะกรรมการสอบเกิดความสงสัย ว่าจะเป็นจริงหรือไม่ 

         จึงมีการพิสูจน์กันขึ้นโดยหลวงพ่อเนื่องเขียนล็อตเตอรี่รางวัลที่ ๑ ที่จะออกในงวดนั้น ใส่ไว้ในหีบมัดเชือกอย่างหนาแน่น แขวนไว้กลางศาลา จัดเวรยามป้องกันแน่นหนา

         เมื่อถึงวันล็อตเตอรี่ออก และทราบตัวเลขที่ออกแล้ว คณะกรรมการจึงเปิดหีบดูตัวเลขในกระดาษที่เขียนอาไว้ล่วงหน้า ผลปรากฏว่าถูกต้องตามเลขรางวัลโดยไม่มีตัวสลับแม้แต่น้อย คณะกรรมการจึงสิ้นความสงสัย

         แต่ได้กล่าวตักเตือนว่าการบอกเลข (หวย) ให้ชาวบ้านนั้นเป็นการประพฤติที่ไม่เหมาะสมแก่สมณวิสัย จึงขอให้ห้ามบอกอีกต่อไป ตั้งแต่นั้นมาท่านจึงยุติการบอกตัวเลข

         แต่เมื่อชาวบ้านไปขอมากๆ หลวงพ่อเนื่อง ท่านก็ได้เพียงบอกใบ้ให้ชาวบ้านตีความกันเอาเอง ใครมีโชคจากการเสี่ยงดวงมักนำปัจจัยมาถวายท่าน แต่ท่านก็ไม่ได้ใส่ใจนัก เก็บไว้ในตู้ โต๊ะ โดยไม่เคยหยิบจับนับดู 

         กระทั่งภายหลังมรณะภาพ คณะกรรมการได้ตรวจสอบทรัพย์สินภายในกุฏิของท่าน พบธนบัตรเป็นจำนวนมากอยู่ในซองกระดาษที่ไม่ได้ถูกแกะจำนวนมาก นับแล้วเป็นเงินถึง ๒๐ ล้านบาท

         ในคราวที่สมเด็จพระเทพฯ เสด็จมาบูชาหลวงพ่อเนื่อง ทรงทูลถามหลวงพ่อ ว่าได้ "ยินมาว่าหลวงพ่อ ให้หวยชาวบ้านถูกกันง่ายๆ จริงหรือไม่" 

         หลวงพ่อเนื่อง ท่านเลยตอบว่าจะเขียนให้สมเด็จพระเทพฯ เก็บไว้ชมสัก ๑๐ งวด แต่สมเด็จพระเทพฯ ไม่ทรงรับ แต่ขอชมบารมีแค่งวดเดียว หลวงพ่อจึงเขียนให้ไปและเลขก็ออกตามที่เขียน สมเด็จพระเทพฯ ท่านจึงได้เห็นอัศจรรย์ตามนั้น พอภายหลังมาหลวงพ่อป่วย สมเด็จพระเทพฯ จึงทรงรับเป็นอุปถัมภ์ที่โรงบาลสมิติเวชฯ

          หลวงพ่อเนื่อง ปกครองวัดเรื่อยมาจนเมื่อต้นปี พ.ศ. ๒๕๓๐ ท่านเริ่มมีอาการอาพาธ ที่โรงพยาบาลสมิติเวช โดยอยู่ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเทพฯ เรื่อยมาจนถึงแก่มรภาพลงในนวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๐ เวลา ๐๖.๒๐ น. นับสิริรวมอายุได้ ๗๘ ปี ๕๖พรรษา 

          ยังความโศกเศร้าเสียใจ แก่ศิษยานุศิษย์เป็นอันมาก ทิ้งไว้แต่หลักคำสอน วัตถุมงคล และผลงานการก่อสร้างวัดจุฬามณี ที่มีความสวยงามและร่มรื่นจนทุกวันนี้

          และเรื่องที่น่าอัศจรรย์เป็นอย่างยิ่งก็คือ สรีระของ"หลวงพ่อเนื่อง"ท่าน กลับไม่เน่าเปื่อยแต่อย่างใด คงอยู่ในสภาพเดิมๆ ภายในหีบแก้ว บนมณฑป ที่ทางวัดและศิษยานุศิษย์ร่วมกันจัดสร้างขึ้นมาอย่างงดงามยิ่ง.


โดย : สารานุกรมพระเครื่องลุ่มน้ำแม่กลอง

บทความที่เกี่ยวข้อง


***-[เป็นกำลังใจและสนับสนุน​ให้เราเขียนบทความดีๆ ช่วยกดดูโฆษณาด้านล่างนะคะ]-***

ไม่มีความคิดเห็น

ค้นหาบล็อกนี้