โฆษณาแนวนอน728*90

บทความใหม่

ประวัติและวัตถุมงคลหลวงพ่อเปาะ วัดช่องลม (พระราชเขมาจารย์) ผู้สืบทอดวิชาจากหลวงพ่อห้อง

ภาพถ่ายหลวงพ่อเปาะ วัดช่องลม จ.ราชบุรี
หลวงพ่อเปาะ (พระอินทเขมาจารย์) วัดช่องลม จ.ราชบุรี

          หลวงพ่อเปาะ  อินฺทสโร หรือ พระราชเขมาจารย์  แห่งวัดช่องลม จังหวัดราชบุรี ถือเป็นพระเกจิอาจารย์ที่เข้มขลังอีกรูปหนึ่งของวัดช่องลม ถือเป็นศิษย์ที่สืบทอดวิชาจากหลวงพ่อใหญ่ หรือหลวงพ่อห้อง วัดช่องลม มาอย่างเต็มที่ 

          หลวงพ่อเปาะ วัดช่องลม หรือ พระราชเขมาจารย์ ท่านมีนามเดิมว่า เปาะ กิมพิทักษ์ เกิดเมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๒๓ ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๘ ปีมะโรง ณ หมู่บ้านดอนกระต่าย (หรือหมู่บ้านเขาวัง) อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี เป็นบุตรของนายด้วง กิมพิทักษ์ และนางพึ่ง กิมพิทักษ์ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๙ คน โดยท่านเป็นบุตรคนโต

รูปถ่ายหลวงพ่อเปาะ วัดช่องลม จ.ราชบุรี
หลวงพ่อเปาะ วัดช่องลม จ.ราชบุรี


          หลวงพ่อเปาะ เมื่อมีอายุครบบวช ท่านได้เข้ารับการอุปสมบท เมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๓ ตรงกับวันแรม ๑๓ ค่ำ เดือน ๔ ปีชวด ณ พัทธสีมาวัดช่องลม อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี ได้รับฉายาว่า "อินฺทสโร" โดยมี

          หลวงพ่อห้อง (หลวงพ่อใหญ่) วัดช่องลม เป็นพระอุปัชฌาย์

          พระปลัดคลื้น (หลวงพ่อเล็ก) วัดช่องลม เป็นพระกรรมวาจาจารย์

          พระอาจารย์กลับ วัดเกาะนัมมทา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ (สมัยนั้นใช้พระรูป ๒)

          หลังจากอุปสมบทแล้ว ท่านได้อยู่จำพรรษาที่วัดช่องลมเรื่อยมา เพื่อศึกษาวิชาความรู้กับหลวงพ่อห้อง  วัดช่องลม ผู้เป็นพระอุปัชฌาย์

ภาพถ่ายหลวงพ่อเปาะ วัดช่องลม ราชบุรี รวม
หลวงพ่อเปาะ วัดช่องลม ราชบุรี นั่งองค์ที่ ๓

         ในด้านบุคลิกและอุปนิสัยของหลวงพ่อเปาะนั้นพวกพระเณรที่ทันเห็นท่าน พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ท่านเป็นคนดำล่ำสั่น พูดจาน้ำเสียงห้าวหาญมีพลัง ท่าทางดุดัน แต่ท่านเป็นพระที่มีจิตใจดี มีเมตตาสูง 

          หลวงพ่อเปาะ ท่านมีความสามารถในการเทศนาปุจฉาวิสัชนา มีชื่อเสียงมากในยุคนั้น  ในปี พ.ศ. ๒๔๕๓ ท่านเป็นผู้ริเริ่มจัดตั้งโรงเรียนปริยัติธรรม สำนักเรียนวัดช่องลม และริเริ่มตั้งโรงเรียนฯ ในที่อื่นๆ อีกหลายวัด เช่น วัดเนินพลู วัดบํารุ วัดคลองแค วัดท้ายเมือง วัดมหาธาตุ วัดโรงข้าว วัดปากท่อ วัดหนองกระทุ่ม วัดคูหาสวรรค์ ฯลฯ

          นอกจากในทางธรรมแล้ว ทางด้านการศึกษาของบุตรธิดา ท่านก็ไม่เคยทิ้งขว้าง ท่านยังได้สร้างโรงเรียนหลายแห่ง เช่น โรงเรียนประชาบาล วัดพระแท่นดงรัง จังหวัดกาญจนบุรี โรงเรียนสวรรค์เทพกิจ โรงเรียนอินทรเขมานุเคราะห์ โรงเรียนประชาบาลวัดช่องลม ร่วมอำนวยการสร้างโรงพยาบาลสงฆ์จังหวัดราชบุรีอีกด้วย

รูปหล่อจำลองหลวงพ่อเปาะ วัดช่องลม ราชบุรี


          มีเรื่องเล่าถึงคุณวิเศษของหลวงพ่อเปาะ บางส่วนว่า ในช่วงฤดูน้ำเหนือหลากจะมีน้ำท่วมขังบริเวณวัดอยู่ประมาณ ๒ เดือน ในระหว่างเดือน ๑๐ ถึงเดือน ๑๑ พื้นที่บริเวณวัดเป็นที่ลุ่ม วิหารที่หลวงพ่อแก่นจันทน์ ประดิษฐานมีน้ำขังอยู่ตลอด ๒ เดือน

          ต่อมาหลวงพ่อแก่นจันทน์ได้มาเข้าฝันหลวงพ่อเปาะ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดช่องลม รูปที่ ๕ บอกว่าท่านเจ็บพระบาท ตอนเช้าหลวงพ่อเปาะได้ให้พระไปตรวจดูหลวงพ่อแก่นจันทน์ในวิหาร 

          ปรากฏว่าพระบาทหลวงพ่อแก่นจันทน์ถูกปลวกกัดกินเสียหายทั้งหมด หลวงปู่เปาะจึงได้บูรณะซ่อมแซมขึ้นใหม่ลงรักปิดทอง ได้อัญเชิญท่านมาประดิษฐานไว้ที่อุโบสถ และเปิดให้ประชาชนปิดทองหลวงพ่อแก่นจันทน์ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา 

          ซึ่งแสดงให้ถึงว่าท่านมีณาญสมาธิที่สามารถสื่อสารกับหลวงพ่อแก่นจันทน์ได้และวัตถุมงคลของท่าน มักจะมีหลวงพ่อแก่นจันทน์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยแทบทั้งสิ้น

ภาพถ่ายหลวงพ่อเปาะ วัดช่องลม จ.ราชบุรี
หลวงพ่อเปาะ วัดช่องลม จ.ราชบุรี

          นอกจากนี้ตอนเกิดสงคราม พระตามวัดต่างๆ ในเมืองราชบุรี ต่างอพยพหลบหนีภัยสงครามไปอยู่ที่อื่นกันมาก มีอยู่วัดหนึ่งคือวัดช่องลม พระหนีสงครามไปหมดทั้งวัด แต่หลวงพ่อเปาะ เจ้าอาวาสท่านไม่ยอมทิ้งวัด ท่านอยู่เฝ้าวัดรูปเดียวจนสงครามเลิก

          ด้านการปกครองและด้านสมณศักดิ์
   
          พ.ศ. ๒๔๖๖ เป็นเจ้าคณะตำบลหน้าเมือง

          พ.ศ. ๒๔๖๗ เป็นผู้ช่วยเจ้าคณะจังหวัดราชบุรี

          พ.ศ. ๒๔๗๐ เป็นรองเจ้าคณะจังหวัดราชบุรี (วันที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๐)

          พ.ศ. ๒๔๗๓ เป็นเจ้าอาวาสวัดช่องลม 

          พ.ศ. ๒๔๙๐ เป็นเจ้าคณะจังหวัดราชบุรี

          พ.ศ. ๒๔๙๓ เป็นเจ้าอาวาสวัดช่องลม ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดราชบุรี

          พ.ศ. ๒๔๙๖ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ พระอินทเขมาจารย์ (๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๖)

          พ.ศ. ๒๕๐๙ เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชเขมาจารย์ วิธานคณานุศิษฏ์ ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี (๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๙)

          ปี พ.ศ.๒๕๑๘ ตั้งแต่วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๑๘ ด้วยเหตุชราภาพ ปฏิบัติหน้าที่ไม่สะดวก จึงได้มอบหมายหน้าที่เจ้าอาวาสวัดช่องลม ให้พระครูปลัดบรรจบ ฉันทวิริยะ รองเจ้าอาวาสวัดช่องลม ทำการแทนในหน้าที่ เจ้าอาวาสวัดช่องลมเรื่อยมา

          หลวงพ่อเปาะ หรือ พระราชเขมาจารย์ (เปาะ อินฺทสโร) ปกครองวัดเรื่อยมาจนถึงแก่มรณภาพลงในอริยาบทนอนตะแคงขวา พนมมือทั้งสองนาบกับหมอนที่หนุน เมื่อวันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ เวลา ๐๒.๐๐ น. ด้วยโรคชรา นับรวมสิริรวมอายุได้ ๙๘ ปี ๗๘ พรรษา.

วัตถุมงคลของหลวงพ่อเปาะ วัดช่องลม

ปี พ.ศ. ๒๔๘๕

          ตามประวัติว่าวัดช่องลมได้มีการจัดสร้างพระกริ่งขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๘๕ โดยทำการหล่อขึ้นภายในวัดช่องลม โดยใช้ช่างชาวบ้านในพื้นที่เป็นผู้แกะถอดพิมพ์ มีการสร้างด้วยเนื้อทองเหลืองเพียงเนื้อเดียว โดยในการจัดสร้างครั้งนี้ ได้ทำการสร้างพระขึ้นมาหลักๆมี ๓ พิมพ์ด้วยกันคือ พิมพ์ถือหม้อน้ำมนต์(หลังยันต์) พิมพ์ล้อพระกริ่ง(น้ำท่วม/เจ้าคุณศรีฯ) และพระทรงเครื่อง นอกจากนี้ยังมีพิมพ์อื่นๆอีกหลายพิมพ์

          กริ่งน้ำท่วมหลวงพ่อเปาะ วัดช่องลม

          ตามประวัติว่าสร้างปี พ.ศ. ๒๔๘๕ โดยพิมพ์นี้ล้อพิมพ์มาจาก พระกริ่งน้ำท่วมของเจ้าคุณศรีสนธิ์ วัดสุทัศน์ โดยใช้ช่างชาวบ้านในพื้นที่เป็นผู้แกะถอดพิมพ์สร้างด้วยเนื้อทองเหลือง

พระกริ่งน้ำท่วม หลวงพ่อเปาะ วัดช่องลม ราชบุรี ปี พ.ศ. ๒๔๘๕

          ลักษณะคล้ายพระกริ่งน้ำท่วมของวัดสุทัศน์ แต่สีวรรณะของพระจะแตกต่างกัน และมีขนาดที่เล็กกว่าเล็กน้อย ใต้ฐานมีรอยอุดกริ่งปิดทับด้วยทองแดง

          กริ่งหลังยันต์ (หน้าฤาษี) หลวงพ่อเปาะ วัดช่องลม

          ตามประวัติว่าสร้างปี พ.ศ. ๒๔๘๕ โดยใช้ช่างชาวบ้านในพื้นที่เป็นผู้แกะแม่พิมพ์ มีสร้างด้วยเนื้อทองเหลืองเพียงเนื้อเดียว มีทั้งพิมพ์ก้นเรียบ และพิมพ์ก้นยันต์

พระกริ่งหน้าฤาษีก้นเรียบ หลวงพ่อเปาะ วัดช่องลม ราชบุรี ปี พ.ศ. ๒๔๘๕
พระกริ่งหน้าฤาษีก้นยันต์ หลวงพ่อเปาะ วัดช่องลม ราชบุรี ปี พ.ศ. ๒๔๘๕

          เป็นพระกริ่งที่มีเอกลักษณ์สามารถจดจำและแยกแยะได้ง่าย ด้านหลังของพระกริ่งจะมีตัว นะ หล่อมาจากพิมพ์ พระพิมพ์นี้จะมีทั้งก้นเรียบและก้นยันต์

          กริ่งหลังยันต์หลวงพ่อเปาะ วัดช่องลม

          ตามประวัติว่าสร้างปี พ.ศ. ๒๔๘๕ โดยใช้ช่างชาวบ้านในพื้นที่เป็นผู้แกะแม่พิมพ์ มีสร้างด้วยเนื้อทองเหลืองเพียงเนื้อเดียว องค์พระกริ่งมียอดแหลมเหมือนครอบด้วยชฏา ไม่เหมือนพระกริ่งทั่วไป
พระกริ่งทรงเครื่อง หลวงพ่อเปาะ วัดช่องลม ราชบุรี พ.ศ. ๒๔๘๕

          เป็นพระกริ่งที่มีเอกลักษณ์สามารถจดจำและแยกแยะได้ง่าย ด้านหลังพระกริ่งจะมีตัว นะ หล่อมาจากพิมพ์ ที่ก้นพระจะมีอักขระยันต์นูนเด่นชัดเจน

ปี พ.ศ. ๒๔๙๖

          เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อเปาะ วัดช่องลม

           สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ โดยสร้างเมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๖ หลวงพ่อเปาะ ได้รับการแต่งตั้งขึ้นเป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ พระอินทเขมาจารย์ จึงมีการจัดสร้างเหรียญที่ระลึกขึ้น เพื่อแจกจ่ายให้แก่ประชาชนที่มาร่วมในงานฉลองในงานดังกล่าว โดยลักษณะเหรียญเป็นรูปไข่ขนาดเล็ก จัดสร้างด้วยเนื้ออัลปาก้า จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
เหรียญหลวงพ่อเปาะ วัดช่องลม รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๙๖ เนื้ออัลปาก้า


          ด้านหน้า เป็นรูปจำลองหลวงพ่อเปาะ ครึ่งองค์ ห่มจีวรลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฏิ มีอักขระขอมยันต์พระเจ้า ๕ พระองค์ อ่านได้ว่า "นะ โม พุท ธา ยะ" ด้านล่างมีโบว์ภายในโบว์มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระครูอินทเขมา"

          ด้านหลัง มีอักขระเลขยันต์ครูของหลวงพ่อเปาะ มีเลขไทย บอกปีที่สร้าง  "๒๔๙๖"

ปี พ.ศ. ๒๔๙๗

           ในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ หลวงพ่อเปาะ ได้มีอายุครบ ๘๐ ปี ทางคณะศิษย์จึงได้จัดงานฉลองอายุของหลวงพ่อเปาะ และได้มีการสร้างเหรียญวัตถุมงคลเพื่อเป็นที่ระลึกในงานดังกล่าว สามารถแบ่งออกเป็นดังนี้คืิอพิมพ์ใหญ่ และพิมพ์เล็ก โดยทั้ง ๒ ชนิดมีรายละเอียดที่คล้ายกันแตกต่างกันเล็กน้อย

        เหรียญเสมาเล็กหลวงพ่อเปาะ วัดช่องลม รุ่น ๒ 

         สร้างในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด และแจกในงานงานฉลองอายุ ๘๐ ปี ของหลวงพ่อเปาะ ลักษณะเป็นเหรียญเสมาขนาดเล็ก แบบมีหูในตัว สร้างด้วยเนื้อทองแดงกระไหล่ทอง ถือเป็นเหรียญรุ่น ๒ ของหลวงพ่อเปาะ จำนวนสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้



เหรียญเสมาหลวงพ่อเปาะ วัดช่องลม พิมพ์เล็ก ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ เนื้อกระไหล่ทอง


         ด้านหน้า เป็นรูปจำลองหลวงพ่อเปาะครึ่งองค์ห่มจีวรลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฏิ เหนือศรีษะหลวงพ่อมีอักขระยันต์ "มะ อะ อุ" ด้านบนมีอักษรไทยเขียนว่า  "พระอินทเขมาจารย์"

         ด้านหลัง ด้านหลังมีรูปจำลองหลวงพ่อแก่นจันทน์ มีอักขระยันต์ขอม มีอักษรไทยเขียนว่า "หลวงพ่อแก่นจันทร์ ๒๔๙๗"

          เหรียญเสมาใหญ่หลวงพ่อเปาะ วัดช่องลม รุ่น ๓

         สร้างในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด และแจกในงานงานฉลองอายุ ๘๐ ปี ของหลวงพ่อเปาะ ลักษณะ​เป็น​เหรียญ​เสมาขนาดทั่วไป มีหูในตัว สร้างด้วยเนื้อทองแดง มีทั้งที่เป็นผิวไฟ และกระไหล่ทอง ถือเป็นเหรียญรุ่น ๓ ของหลวงพ่อเปาะ จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

เหรียญเสมาหลวงพ่อเปาะ วัดช่องลม ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง

เหรียญเสมาหลวงพ่อเปาะ วัดช่องลม ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ เนื้อผิวไฟ


         ด้านหน้า เป็นรูปจำลองหลวงพ่อเปาะครึ่งองค์ห่มจีวรลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฏิ เหนือศรีษะหลวงพ่อมีอักขระยันต์ "มะ อะ อุ" ด้านบนมีอักษรไทยเขียนว่า  "พระอินทเขมาจารย์" ด้านล่างมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "อายุ ๘๐ ปี"

         ด้านหลัง ด้านหลังมีรูปจำลองหลวงพ่อแก่นจันทน์ มีอักขระยันต์ขอม มีอักษรไทยเขียนว่า "หลวงพ่อแก่นจันทร์ ๒๔๙๗"
 
          เหรียญเสมาใหญ่หลวงพ่อเปาะ วัดช่องลม รุ่น ๔

         สร้างในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด และแจกในงานงานฉลองอายุ ๘๐ ปี ของหลวงพ่อเปาะ ลักษณะ​เป็น​เหรียญ​เสมาทั่วไปมีหูในตัว สร้างด้วยเนื้อทองแดงรมดำบล็อกหลังจะขยับตำแหน่งในเหรียญสูงกว่าเหรียญรุ่น ๓ เล็กน้อย ถือเป็นเหรียญรุ่น ๔ ของหลวงพ่อเปาะ จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

เหรียญเสมาหลวงพ่อเปาะ วัดช่องลม ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ เนื้อรมดำ


         ด้านหน้า เป็นรูปจำลองหลวงพ่อเปาะครึ่งองค์ห่มจีวรลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฏิ เหนือศรีษะหลวงพ่อมีอักขระยันต์ "มะ อะ อุ" ด้านบนมีอักษรไทยเขียนว่า  "พระอินทเขมาจารย์" ด้านล่างมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "อายุ ๘๐ ปี"

         ด้านหลัง ด้านหลังมีรูปจำลองหลวงพ่อแก่นจันทน์ มีอักขระยันต์ขอม มีอักษรไทยเขียนว่า "หลวงพ่อแก่นจันทร์ ๒๔๙๗"

          รูปหล่อโบราณหลวงพ่อเปาะ วัดช่องลม 
       
         สร้างในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด และแจกในงานงานฉลองอายุ ๘๐ ปี ของหลวงพ่อเปาะ ลักษณะเป็นรูปหล่อโบราณขนาดเขื่อง ของหลวงพ่อเปาะ ห่มจีวรลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฏิ รัดประคต ประทับนั่งสมาธิบนฐานเขียง สร้างด้วยเนื้อโลหะทองเหลือง จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

รูปหล่อโบราณหลวงพ่อเปาะ วัดช่องลม จังหวัดราชบุรี ปี พ.ศ. ๒๔๙๗


          ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงพ่อเปาะนั่งสมาธิเต็มองค์บนฐานเขียง องค์หลวงพ่อห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิรัดประคต ที่ฐานเขียงมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "อินทเขมาจาร"

          ด้านหลัง มีอีกขระยันตืลึกลงไปในองค์พระ

 ปี พ.ศ. ๒๕๐๕

          เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน  พ.ศ. ๒๕๐๕ ทางศิษยานุศิษย์ของหลวงพ่อเปาะ ได้ทำการหล่อรูปเหมือนของหลวงพ่อชนาดเท่าองค์จริง โดยทางคณะศิษย์จึงได้ทำการขออนุญาติหลวงพ่อเปาะ เพื่อจัดสร้างวัตถุมลคง เพื่อใช้ในงานดังกล่าวคราวๆดังนี้

          เหรียญหลวงพ่อเปาะ วัดช่องลม รุ่นหล่อรูปเหมือน

          สร้างในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด และแจกในงานหล่อรูปเหมือนเท่าองค์จริงของหลวงพ่อ ลักษณะเป็นเหรียญโล่ยอดแหลมแบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้ออังปาก้าเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

เหรียญหลวงพ่อเปาะ วัดช่องลม ราชบุุรี รุ่นหล่อรูป 2505 อัลปาก้า
เหรียญหลวงพ่อเปาะ วัดช่องลม ราชบุุรี รุ่นหล่อรูป ปี พ.ศ. ๒๕๐๕ เนื้ออัลปาก้า

         ด้านหน้า เป็นรูปจำลองหลวงพ่อเปาะครึ่งองค์ห่มจีวรลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฏิ ใต้รูปหลวงพ่อมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "หลวงพ่ออินทรฯ วัดช่องลม ร.บ. อายุ ๘๓"

         ด้านหลัง ด้านหลังมีอักขระยันต์ขอม ใต้อักขระยันต์มีอักษรภาษาไทยเขียนว่า "เชื่อดีมีคุณ เพื่อหล่อรูปเท่าองค์จริง ๑๑ พ.ย. ๒๕๐๕ ๑ ๑๕ ๑๒ ขาล เวลา ๑๖.๓๘ น."

 ปี พ.ศ. ๒๕๐๙

          เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๙ หลวงพ่อเปาะ ได้รับการเลื่อนสมณะศักดิ์เป็น พระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชเขมาจารย์ วิธานคณานุศิษฏ์ ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี ทางคณะศิษย์จึงได้ทำการขออนุญาติหลวงพ่อเปาะ เพื่อจัดสร้างวัตถุมลคง เพื่อใช้ในงานดังกล่าวคราวๆดังนี้

          เหรียญเสมาฉลองสมณะศักดิ์ หลวงพ่อเปาะ วัดช่องลม

          สร้างในปี พ.ศ. ๒๕๐๙ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด และแจกในงานการเลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระราชาคณะชั้นราชของหลวงพ่อ ลักษณะเป็นเหรียญเสมาขนาดเล็กแบบมีหูในตัวคล้ายเหรียญเสมาเล็กที่สร้างในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ สร้างด้วยเนื้อทองแดง มีทั้งที่เป็นผิวไฟ รมดำ และกระไหล่ทอง จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

เหรียญเสมาหลวงพ่อเปาะ วัดช่องลม ปี พ.ศ. ๒๕๐๙


         ด้านหน้า ใช้บล็อคเดิมของเหรียญปี ๒๔๙๗ คือเป็นรูปจำลองหลวงพ่อเปาะครึ่งองค์ห่มจีวรลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฏิ เหนือศรีษะหลวงพ่อมีอักขระยันต์ "มะ อะ อุ" ด้านบนมีอักษรไทยเขียนว่า "พระอินทเขมาจารย์"

         ด้านหลัง ด้านหลังมีรูปจำลองหลวงพ่อแก่นจันทน์ มีอักขระยันต์ขอม มีอักษรไทยเขียนว่า "หลวงพ่อแก่นจันทร์ ๙ ธ.ค. ๐๙"

          เหรียญรูปไข่ฉลองสมณะศักดิ์ หลวงพ่อเปาะ วัดช่องลม

          สร้างในปี พ.ศ. ๒๕๐๙ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด และแจกในงานการเลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระราชาคณะชั้นราชของหลวงพ่อ ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่แบบมีหูในตัว สร้างด้วยเนื้อทองแดง มีทั้งที่เป็นผิวไฟ รมดำ และกระไหล่ทอง จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้ 

เหรียญรูปไข่หลวงพ่อเปาะ วัดช่องลม จังหวัดราชบุรี ปี พ.ศ. ๒๕๐๙ เนื้อทองแดง


          ด้านหน้า เป็นรูปจำลองหลวงพ่อเปาะครึ่งองค์ห่มจีวรลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฏิ เหนือศรีษะหลวงพ่อมีอักขระยันต์ "นะ โม พุท ธา ยะ" ด้านบนมีอักษรไทยเขียนว่า "อายุ ๘๗ พระราชเขมาจารย์"

          ด้านหลัง ด้านหลังมีรูปจำลองหลวงพ่อแก่นจันทน์ มีอักขระยันต์ขอม มีอักษรไทยเขียนว่า "หลวงพ่อแก่นจันทร์ ๙ ธ.ค. ๐๙"

          เหรียญกลมฉลองสมณะศักดิ์ หลวงพ่อเปาะ วัดช่องลม

          สร้างในปี พ.ศ. ๒๕๐๙ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด และแจกในงานการเลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระราชาคณะชั้นราชของหลวงพ่อ ลักษณะเป็นเหรียญกลมขนาดเล็กแบบมีหูในตัว สร้างด้วยเนื้ออัลปาก้าพบเห็นค่อนข้างยาก จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

เหรียญกลมหลวงพ่อเปาะ วัดช่องลม ปี2509 อัลปาก้า
เหรียญกลมหลวงพ่อเปาะ วัดช่องลม จังหวัดราชบุรี ปี พ.ศ. ๒๕๐๙ เนื้ออัลปาก้า
เหรียญกลมหลวงพ่อเปาะ วัดช่องลม จังหวัดราชบุรี ปี พ.ศ. ๒๕๐๙ เนื้ออัลปาก้า


          ด้านหน้า เป็นรูปจำลองหลวงพ่อเปาะครึ่งองค์ห่มจีวรลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฏิ เหนือศรีษะหลวงพ่อมีอักขระยันต์ "นะ โม พุท ธา ยะ" ด้านบนมีอักษรไทยเขียนว่า "อายุ ๘๗ พระราชเขมาจารย์"

          ด้านหลัง ด้านหลังมีรูปจำลองหลวงพ่อแก่นจันทน์ มีอักขระยันต์ขอม มีอักษรไทยเขียนว่า "หลวงพ่อแก่นจันทร์ ๙ ธ.ค. ๐๙"

          รูปหล่อปั๊มหลวงพ่อเปาะ วัดช่องลม

          สร้างในปี พ.ศ. ๒๕๐๙ เพื่อแจกให้กับผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับทางวัด และแจกในงานการเลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระราชาคณะชั้นราชของหลวงพ่อ ลักษณะเป็นรูปเหมือนที่สร้างด้วยวิธีการปั๊มจำลองเป็นรูป หลวงพ่อเปาะ ห่มจีวรลดไหล่ พาดผ้าสังฆาฏิ รัดประคต ประทับนั่งสมาธิบนฐานเขียง ภายในบรรจุกริ่ง สร้างด้วยเนื้อโลหะทองเหลือง จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

รูปหล่อปั๊มหลวงพ่อเปาะ วัดช่องลม จังหวัดราชบุรี ปี พ.ศ. ๒๕๐๙ เนื้อทองเหลือง

          ด้านหน้า มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "ราชเขมาจารย์"

          ด้านหลัง มีอีกขระยันตืลึกลงไปในองค์พระ อ่านได้ว่า "นะ โม พุท ธา ยะ มะ อะ อุ" บนสังฆาฏิด้านบนมียันต์เฑาะห์

โดย : สารานุกรม​พระเครื่อง​ลุ่ม​น้ำแม่กลอง

บทความที่เกี่ยวข้อง


***-[เป็นกำลังใจและสนับสนุน​ให้เราเขียนบทความดีๆ ช่วยกดดูโฆษณาด้านล่างนะคะ]-***

ไม่มีความคิดเห็น

ค้นหาบล็อกนี้