โฆษณาแนวนอน728*90

บทความใหม่

ประวัติหลวงพ่อแก่นจันทน์ วัดช่องลม และพระบูชาหลวงพ่อแก่นจันทน์ รุ่นแรกและรุ่นต่างๆ พระคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดราชบุรี

หลวงพ่อแก่นจันทน์ วัดช่องลม ราชบุรี

ประวัติหลวงพ่อแก่นจันทน์

และวัดช่องลม  หรือ หลวงพ่อลอยน้ำ

อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี

คัดจากการเปิดงานปิดทองหลวงพ่อแก่นจันทน์ ประจำปี ๒๕๑๙

ประวัติความเป็นมาหลวงพ่อแก่นจันทน์ 

          ผู้เฒ่าผู้แก่สมัยก่อนๆ เล่าสืบกันมาว่า หลวงปู่จันทร์ ​ซึ่งเป็นอดีตเจ้าอาวาสวัดช่องลม อันดับที่ ๓ ของวัด ซึ่งย้ายมาจากวัดมหาธาตุ ท่านเป็นช่างไม้ ท่านได้เข้าไปสร้างศาลาไม้ ๔ หลัง คลุมพระพุทธรูป ๔ องค์ ที่หน้าพระปรางค์ วัดมหาธาตุ จังหวัดราชบุรี 

          ซึ่งในสมัยนั้น วัดมหาธาตุเกือบจะเป็นวัดร้าง บางครั้งก็มีพระภิกษุอยู่จำพรรษา บางครั้งก็ไม่มีพระภิกษุอยู่ พื้นที่โดยรอบเป็นป่ารกชัฏเต็มไปด้วยสัตว์ป่า โดยเฉพาะมีลิงอาศัยอยู่มาก ในวิหารคดล้อมรอบองค์พระปรางค์ ปรากฏว่ามี พระพุทธรูปปางต่างๆ มากมาย และมีเศียรพระตกอยู่เกลื่อนกลาด 

          เมื่อหลวงปู่จันทร์สร้างศาลาเสร็จ ได้พิจารณาเห็นความสวยงามของพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์โบราณที่มีเพียงพระเศียรถึงพระอุระ เกรงว่าหากปล่อยทิ้งไว้อย่างนี้ก็จะสูญหายหรือถูกทำลายไป ดังนั้นท่านจึงอัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดช่องลม 

          กาลต่อมาหลวงปู่จันทร์ได้นำไม้จันทน์หอมมาแกะสลักในส่วนองค์พระตั้งแต่พระอุระถึงพระบาท พระกร และบาตร เป็นไม้แก่นจันทน์หอมทั้งหมดสำเร็จเป็นพระพุทธรูปปางอุ้มบาตรที่สง่างาม และได้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ในวิหารหลังเดิมของวัดช่องลม 

          ช่วงฤดูน้ำเหนือหลากจะมีน้ำท่วมขังบริเวณวัดอยู่ประมาณ ๒ เดือน ในระหว่างเดือน ๑๐ ถึงเดือน ๑๑ พื้นที่บริเวณวัดช่องลมเป็นที่ลุ่ม วิหารที่หลวงพ่อแก่นจันทน์ประดิษฐานจึงมีน้ำขังอยู่ตลอด ๒ เดือนต่อมา 

หลวงปู่เปาะ หรือ พระราชเขมาจารย์ เจ้าอาวาสวัดวัดช่องลม รูปที่ ๕

          หลวงพ่อแก่นจันทน์ได้มาเข้าฝันหลวงปู่เปาะ (พระราชเขมาจารย์) อดีตเจ้าอาวาสวัดช่องลม รูปที่ ๕ บอกว่าท่านเจ็บพระบาท ตอนเช้าหลวงปู่เปาะได้ให้พระไปตรวจดูหลวงพ่อแก่นจันทร์ในวิหาร ปรากฏว่าพระบาทหลวงพ่อแก่นจันทน์ถูกปลวกกัดกินเสียหายทั้งหมด 

          หลวงปู่เปาะจึงได้บูรณะซ่อมแซมและลงรักปิดทองใหม่แล้วอัญเชิญท่านมาประดิษฐานไว้ที่อุโบสถ และเปิดให้ประชาชนเข้าสักการะ รวมถึงปิดทองด้วย 

          ปัจจุบันนี้พระเทพญาณมุนี (ประเทศ กวีธโร ป.ธ.6) อดีตเจ้าอาวาสวัดช่องลม และที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดราชบุรีได้สร้างวิหารทรงจัตุรมุข ประดิษฐานหลวงพ่อแก่นจันทน์ แทนที่พระอุโบสถที่บางครั้งทำสังฆกรรมไม่สะดวกต่อการเข้าสักการะของประชาชนในบางโอกาส.

ประวัติความเป็นมาหลวงพ่อแก่นจันทน์ บทตำนาน

          หลวงพ่อแก่นจันทน์มีประวัติคู่บ้านเมืองราชบุรีก็ ว่าได้ย้อน กลับไปก่อนสมัยที่จะสร้างหลวงพ่อแก่นจันทน์ขึ้นนี้  มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาเป็นที่เชื่อถือได้ว่า มีคหบดีผู้หนึ่งเข้าไปทำกิจธุระเพื่อทำไม้ในป่าเหนือเมืองกาญจนบุรี ไปพบเสือตัวหนึ่งใหญ่โตมาก มีความตกใจกลัวเป็นที่สุดจึงตะเกียกตะกายปีนหนีขึ้นต้นไม้ คือต้นจันทน์ต้นใหญ่ 

          แล้วบนบานว่า ถ้าพ้นภัยจากการหนีเสือร้ายนี้ไปได้แล้วจะสร้างพระพุทธรูปด้วยไม้แก่นจันทน์  ครั้นบนบานแล้วปรากฎว่าเสือโคร่งตัวนั้นก็เลยกลับไปไม่ทำอันตราย ก็เป็นอันว่าคหบดีผู้นั้นก็รอดปลอดภัยกลับมาได้ ไม่ลืมที่ตนได้บนบานศาลกล่าวไว้ จึงนำคนงานหลายสิบคนพร้อมด้วยช่างแกะสลักฝีมือดีร่วมทางไปด้วย  ขึ้นป่าหาต้นจันทน์ที่ตนได้อาศัยหนีเสือครั้งนั้นจนพบ

ภาพจิตรกรรมฝาผนัง เสือของวัดพระแก้ว

          ในขณะเดียวกันนั้นได้พบพระธุดงค์รูปหนึ่งอายุมากแล้วเดินธุดงค์มา คหบดีผู้นั้นเห็นเป็นโอกาสดี จึงได้อาราธนาท่านไว้ และหารือเรื่องที่จะทำสร้างด้วยต้นจันทน์ พระธุดงค์รูปนั้นแนะให้สร้างแบบปางอุ้มบาตร ด้วยให้เหตุผลว่าปางอุ้มบาตรเป็นกรณียกิจที่สำคัญยิ่งของพระเป็นปางโปรด สัตว์เป็นปางที่อุดมสมบูรณ์พูลสุข

          เมื่อคหบดีได้ฟังดังนั้นก็เกิดปิติพอใจเป็นอย่างยิ่ง จึงให้คนงานจัดการทำพิธีบวงสรวงขอไม่แก่เทพาอารักษ์ จัดการตัดแล้วให้ช่างแกะสลักจนสำเร็จเรียบร้อยดี สันนิฐานว่าพระธุดงค์รูปนั้นท่านลงทางคุณวิทยาและคุณธรรมสูงอาจอธิฐานส่ง กระแสจิตให้เกิดพลังความศักดิ์สิทธิ์ ทั้งคงเชิญเทพผู้ศักดิ์สิทธิ์ให้พิทักษ์รักษาองค์พระปฏิมานี้ด้วย

พระบูชาหลวงพ่อแก่นจันทน์ วัดช่องลม ราชบุรี รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๕๐๐

         เมื่อ ทำพิธีเสร็จแล้วก็ตั้งใจจะนำองค์ท่านไปประดิษฐานวัดใดวัดหนึ่ง  แต่ก็ต้องรอถึงฤดูน้ำเหนือไหลหลากมามากๆจึงจะนำท่านไปได้  เพราะสมัยนั้นไม่ว่าจะเอาไม้ซุงหรือแพไม้อะไรไปก็ต้องมาถึงฤดูน้ำมากจึงจะนำไปได้  เพราะสมัยนั้นไม่มีรถเรือยวดยานพาหนะหรือถนนหนทางขนส่งเหมือนสมัยปัจจุบันนี้ มีทางเดียวเท่านั้นคือล่องไปตามลำแม่น้ำแม่กลองจึงจะไปได้ และก็ต้องเป็นฤดูน้ำไหลหลากด้วย

          พระพุทธรูปที่สร้างนี้ มีทั้งสิ้นสามองค์ด้วยกันคือ องค์ใหญ่มีชื่อว่า “พยอม” องค์ที่สองมีชื่อว่า “แก่นจันทน์”  และองค์ที่สามมีชื่อว่า “สามเณรสมนึก”  เหตุที่พระพุทธรูปทั้งสามลอยน้ำมานี้ พอจะสันนิษฐานได้ว่า

          ครั้งหนึ่งได้เกิดน้ำป่าท่วมไหลบ่ามาในพื้นที่ ณ แก่งหลวงนี้  ก็ได้พัดเอาพระพุทธรูปทั้งสามนี้มากับสิ่งปรักหักปักอื่นๆด้วย แล้วได้ไหลตามลำน้ำแม่กลองมาจนถึงวัดช่องลม อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรแล้วก็ได้มีผู้นำขึ้นมาประดิษฐานไว้ ณ วัดช่องลมนี้  จำนวนสององค์ด้วยกัน คือ องค์ที่มีชื่อว่า “แก่นจันทน์ สูง ๒.๒๖ม.”  และองค์ที่มีชื่อว่า “สามเณรสมนึก สูง ๑.๕๖ ม.” ส่วนองค์ที่มีชื่อว่า “พยอม”  ทราบภายหลังว่าได้จมอยู่ตรงบริเวณหน้าวัด “โคกหม้อ”  ระหว่างตำบลหลุมดินกับตำบลโคกหม้อ

          องค์ที่มีชื่อว่าแก่นจันทน์นี้  ประชาชนเคารพนับถือเป็นพระพุทธรูปที่มีความศักดิ์สิทธิ์ จึงถึงกับเรียกกันจนคุ้นปากว่า “หลวงพ่อแก่นจันทน์”  เพราะสร้างด้วยไม้แก่นจันทน์  หรือ  “หลวงพ่อลอยน้ำ”  เพราะลอยน้ำมา.
 
 พระบูชาหลวงพ่อแก่นจันทน์ วัดช่องลม

         พระบูชาหลวงพ่อแก่นจันทน์ วัดช่องลม รุ่นแรก

         สร้างในปี พ.ศ. ๒๔๙๙ แต่ออกให้บูชาในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ โดยเป็นการหล่อโบราณแบบการหล่อพระยืนสมัยรัชกาล เนื้อทองผสมแก่ทองเหลืองออกแดงแบบพระรัชกาลหายาก องค์พระมีตามุก ขนาดสูง ๑๓ นิ้วรวมฐานและมีดินไทยที่ใต้ฐาน โดยใช้การเทหล่อ ๒ ชิ้น ได้แก่
        ๑. ฐานบัวจนถึงข้อพระบาท ๑ ชิ้น ฐานกว้าง ๓ นิ้ว
        ๒. ตั้งแต่สบงค์ขึ้นไปจนถึงพระเกศ ๑ ชิ้น ( หล่อโลหะตัน )
 
         แล้วจึงนำมาประกอบกัน จัดเป็นพระบูชาของหลวงพ่อแก่นจันทน์ที่หายาก หาพบเห็นอย่าปล่อยให้หลุดมือ จำนวนการสร้างไม่มีการบันทึกไว้เป็นหลักฐาน

พระบูชาหลวงพ่อแก่นจันทน์ วัดช่องลม ราชบุรี รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๕๐๐

พระบูชาหลวงพ่อแก่นจันทน์ วัดช่องลม ราชบุรี รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๕๐๐

         ด้านหน้า เป็นรูปจำลองหลวงพ่อแก่นจันทน์ โดยฐานบัวจะเป็นฐานบัวซ้อนกัน ๓ ชั้น มีการแกะอักขระภาษาไทยด้วยมือ อ่านได้ว่า "หลวงพ่อแก่นจันทน์  ช,ล, ราชบุรี" องค์พระมีตามุกสวยงาม

         ด้านหลัง ขององค์พระจะไม่เรียบ มีนูนในบางส่วนเนื่องจากการปั้นหุ่นเทียน องค์พระมีน้ำหนักมาก

         ด้านใต้ฐาน มีดินไทย สีดำแดงแบบพระรัชกาล

         พระบูชาหลวงพ่อแก่นจันทน์ วัดช่องลม รุ่นสอง

         สร้างในปี พ.ศ. ๒๕๐๓ หล่อโบราณแบบการหล่อพระยืนสมัยรัชกาล เนื้อทองเหลือง องค์พระมีตามุก มีดินไทยที่ใต้ฐาน โดยใช้การเทหล่อ ๒ ชิ้น ได้แก่
        ๑. ฐานบัวจนถึงข้อพระบาท ๑ ชิ้น ฐานกว้าง ๓ นิ้ว
        ๒. ตั้งแต่สบงค์ขึ้นไปจนถึงพระเกศ ๑ ชิ้น ( หล่อโลหะตัน )
 
         แล้วจึงนำมาประกอบกัน จัดเป็นพระบูชาของหลวงพ่อแก่นจันทน์ที่หายากอีกรุ่นหนึ่ง จำนวนการสร้างไม่มีการบันทึกไว้เป็นหลักฐาน

พระบูชาหลวงพ่อแก่นจันทน์ วัดช่องลม ราชบุรี รุ่นสอง ปี พ.ศ. ๒๕๐๓

         ด้านหน้า เป็นรูปจำลองหลวงพ่อแก่นจันทน์ โดยฐานจะเป็นฐานบัวสี่เหลี่ยม ในบางองค์​มีการสลักข้อความที่ฐาน

         ด้านหลัง ขององค์พระไม่ค่อยเรียบ 

         ด้านใต้ฐาน มีดินไทย

         พระบูชาหลวงพ่อแก่นจันทน์ วัดช่องลม รุ่นเสาร์ ๕ ปี ๒๕๑๒

         สร้างในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ เป็นพระที่เทหล่อด้วยเนื้อทองเหลืองรมน้ำตาล องค์พระเป็นการหล่อแบบชิ้นเดียว ขนาดสูง ๑๕.๕ นิ้ว (รวมฐาน) ออกให้บูชาเพื่อสมนาคุณแก่ผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับวัดช่องลม จำนวนการสร้างไม่มีการบันทึกไว้เป็นหลักฐาน

พระบูชาหลวงพ่อแก่นจันทน์ วัดช่องลม ราชบุรี รุ่นเสาร์ ๕ ปี พ.ศ. ๒๕๑๒

         ด้านหน้า เป็นรูปจำลองหลวงพ่อแก่นจันทน์ โดยฐานจะเป็นฐานบัวเหนือโต๊ะ มีการแกะอักขระภาษาไทยด้วยมือ อ่านได้ว่า "หลวงพ่อแก่นจันทน์ ว.ช.ล ร.บ. เสาร์ ๕ พ.ศ. ๒๕๑๒" องค์พระมีตามุก

         ด้านหลัง ขององค์พระเรียบ มีก้านเสริมความแข็งแรงที่ขาพระ 

         ด้านใต้ฐาน มีดินไทย

         พระบูชาหลวงพ่อแก่นจันทน์ วัดช่องลม รุ่น ปี ๒๕๑๕

         สร้างในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ เป็นพระที่เทหล่อด้วยเนื้อทองเหลืองรมดำ องค์พระเป็นการหล่อแบบชิ้นเดียว ขนาดสูง ๑๓.๕ นิ้ว (รวมฐาน) ออกให้บูชาเพื่อสมนาคุณแก่ผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับวัดช่องลม จำนวนการสร้างไม่มีการบันทึกไว้เป็นหลักฐาน

พระบูชาหลวงพ่อแก่นจันทน์ วัดช่องลม ราชบุรี รุ่นปี พ.ศ. ๒๕๑๕

         ด้านหน้า เป็นรูปจำลองหลวงพ่อแก่นจันทน์ โดยฐานบัวจะเป็นฐานบัวหงาย มีการแกะอักขระภาษาไทยด้วยมือ อ่านได้ว่า "หลวงพ่อแก่นจันทน์" องค์พระไม่มีตามุก

         ด้านหลัง ขององค์พระเรียบ มีการแกะอักขระภาษาไทยด้วยมือ อ่านได้ว่า "๑๘ ส.ค. ๑๕ วัดช่องลม จ.ราชบุรี"

         ด้านใต้ฐาน ปิดด้วยปูนปาสเตอร์ มีการประทับตรายางของวัดด้วยหมึกสีน้ำเงิน

         พระบูชาหลวงพ่อแก่นจันทน์ วัดช่องลม รุ่น ๗ ปี ๒๕๑๕

         สร้างในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ เป็นพระที่ถอดแบบมาจากรุ่นเสาร์ ๕ ของปี พ.ศ. ๒๕๑๒ องค์พระเทหล่อด้วยเนื้อทองเหลืองรมดำ องค์พระเป็นการหล่อแบบชิ้นเดียว ขนาดสูง ๑๕.๕ นิ้ว (รวมฐาน) ออกให้บูชาเพื่อสมนาคุณแก่ผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับวัดช่องลม จำนวนการสร้างไม่มีการบันทึกไว้เป็นหลักฐาน

พระบูชาหลวงพ่อแก่นจันทน์ วัดช่องลม ราชบุรี รุ่น ๗ ปี พ.ศ. ๒๕๑๕

         ด้านหน้า เป็นรูปจำลองหลวงพ่อแก่นจันทน์ โดยฐานจะเป็นฐานบัวเหนือโต๊ะ มีการแกะอักขระภาษาไทยด้วยมือ อ่านได้ว่า "หลวงพ่อแก่นจันทน์ ว.ช.ล ร.บ. พ.ศ. ๒๕๑๕ รุ่น ๗ ๑๐๘" องค์พระมีตามุก

         ด้านหลัง ขององค์พระเรียบ มีก้านเสริมความแข็งแรงที่ขาพระ 

         ด้านใต้ฐาน มีดินไทย

         พระบูชาหลวงพ่อแก่นจันทน์ วัดช่องลม รุ่น ๘ ปี ๒๕๑๗

         สร้างในปี พ.ศ. ๒๕๑๗ องค์พระเทหล่อด้วยเนื้อทองเหลืองรมดำ องค์พระเป็นการหล่อแบบชิ้นเดียว ขนาดสูง ๑๕.๕ นิ้ว (รวมฐาน) ออกให้บูชาเพื่อสมนาคุณแก่ผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับวัดช่องลม จำนวนการสร้างไม่มีการบันทึกไว้เป็นหลักฐาน

พระบูชาหลวงพ่อแก่นจันทน์ วัดช่องลม ราชบุรี รุ่น ๘ ปี พ.ศ. ๒๕๑๗

         ด้านหน้า เป็นรูปจำลองหลวงพ่อแก่นจันทน์ โดยฐานจะเป็นฐานบัวเหนือโต๊ะ มีการแกะอักขระภาษาไทยด้วยมือ อ่านได้ว่า "หลวงพ่อแก่นจันทน์ วัดช่องลม ร,บ," องค์พระมีตามุก

         ด้านหลัง ขององค์พระเรียบ มีการแกะอักขระภาษาไทยด้วยมือ อ่านได้ว่า "รุ่น ๘ พ,ศ, ๒๕๑๗" มีก้านเสริมความแข็งแรงที่ขาพระ 

         ด้านใต้ฐาน มีดินไทย

         พระบูชาหลวงพ่อแก่นจันทน์ วัดช่องลม รุ่น ปี ๒๕๑๗

         สร้างในปี พ.ศ. ๒๕๑๗ เป็นพระที่เทหล่อด้วยเนื้อทองเหลืองรมดำ องค์พระเป็นการหล่อแบบชิ้นเดียว ขนาดสูง ๑๔ นิ้ว (รวมฐาน) ออกให้บูชาเพื่อสมนาคุณแก่ผู้ที่บริจาคทรัพย์ให้กับวัดช่องลม จำนวนการสร้างไม่มีการบันทึกไว้เป็นหลักฐาน

พระบูชาหลวงพ่อแก่นจันทน์ วัดช่องลม ราชบุรี รุ่นปี พ.ศ. ๒๕๑๗

         ด้านหน้า เป็นรูปจำลองหลวงพ่อแก่นจันทน์ โดยฐานจะเป็นฐานบัวเหนือโต๊ะ มีการแกะอักขระภาษาไทยด้วยมือ อ่านได้ว่า "หลวงพ่อแก่นจันทร์ วัดช่องลม จ.ราชบุรี ๒๕๑๗"

         ด้านหลัง ขององค์พระเรียบ มีก้านเสริมความแข็งแรงที่ขาพระ 

         ด้านใต้ฐาน ไม่มีดินไทย

         พระบูชาหลวงพ่อแก่นจันทน์ วัดช่องลม รุ่นสร้างวิหาร

         สร้างในปี พ.ศ. ๒๕๒๒ เป็นพระที่เทหล่อแบบสมัยปัจจุบัน เนื้อทองเหลืองทาทอง องค์พระเป็นการหล่อแบบชิ้นเดียว ขนาดสูง ๑๐.๕ นิ้ว และ ขนาดสูง ๑๔.๕ นิ้ว(รวมฐาน) ออกให้บูชาเพื่อสมนาคุณแก่ผู้ที่บริจาคทรัพย์สร้างวิหารหลวงพ่อแก่นจันทน์ วัดช่องลม เมื่อวันที่ ๒๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ จำนวนการสร้างไม่มีการบันทึกไว้เป็นหลักฐาน

พระบูชาหลวงพ่อแก่นจันทน์ วัดช่องลม ราชบุรี รุ่นสร้างวิหาร ปี พ.ศ. ๒๕๒๒

         ด้านหน้า เป็นรูปจำลองหลวงพ่อแก่นจันทน์ โดยฐานบัวจะเป็นฐานบัวแบบบัวคว่ำบัวหงาย มีการแกะอักขระภาษาไทยด้วยมือ อ่านได้ว่า "หลวงพ่อแก่นจันทน์ "

         ด้านหลัง ขององค์พระจะเรียบร้อย มีการแกะอักขระภาษาไทยด้วยมือ อ่านได้ว่า "รุ่นสร้างวิหาร วัดช่องลม จ.ราชบุรี พ.ศ. ๒๕๒๒"

         ด้านใต้ฐาน ไม่มีดินไทย

         พระบูชาหลวงพ่อแก่นจันทน์ วัดช่องลม รุ่นปฏิสังขรณ์

         สร้างในปี พ.ศ. ๒๕๒๔ เป็นพระที่เทหล่อแบบสมัยปัจจุบัน เนื้อทองเหลืองรมดำ องค์พระเป็นการหล่อแบบชิ้นเดียว หล่อที่โรงหล่อพุทธ​รังษี ขนาดสูง ๑๒,๑๔,๑๕ และ ๑๙ นิ้ว(รวมฐาน) ออกให้บูชาเพื่อสมนาคุณแก่ผู้ที่บริจาทรัพย์​ เพื่อปฏิสังขรณ์วัดช่องลม โดยมีพิธีพุทธาภิเษกเมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๔ โดยสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินฺธโร) แห่งวัดสามพระยา เป็นองค์ประธานในพิธี จำนวนการสร้างไม่มีการบันทึกไว้เป็นหลักฐาน

พระบูชาหลวงพ่อแก่นจันทน์ วัดช่องลม ราชบุรี รุ่นปฏิสังขรณ์ ปี พ.ศ. ๒๕๒๔

         ด้านหน้า เป็นรูปจำลองหลวงพ่อแก่นจันทน์ โดยฐานบัวจะเป็นฐานบัวแบบบัวคว่ำบัวหงาย มีการอักขระภาษาไทย อ่านได้ว่า "หลวงพ่อแก่นจันทน์ "

         ด้านหลัง ขององค์พระจะเรียบร้อย มีการแกะอักขระภาษาไทยด้วยมือ อ่านได้ว่า "รุ่นปฏิสังขรณ์ วัดช่องลม จ.ราชบุรี"

         ด้านใต้ฐาน ไม่มีดินไทย มีแผ่นโรงหล่อพระ พุทธรังสี

         พระบูชาหลวงพ่อแก่นจันทน์ วัดช่องลม รุ่นฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี

         สร้างในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ เป็นพระที่เทหล่อแบบสมัยปัจจุบัน เนื้อทองเหลืองรมดำ องค์พระเป็นการหล่อแบบชิ้นเดียว ขนาดสูง ๑๑,๑๔ และ ๑๘ นิ้ว(รวมฐาน) ออกให้บูชาเพื่อเป็นการฉลองที่กรุงรัตนโกสินทร์มีอายุครบ ๒๐๐ ปี จำนวนการสร้างไม่มีการบันทึกไว้เป็นหลักฐาน

พระบูชาหลวงพ่อแก่นจันทน์ วัดช่องลม รุ่นฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี ปี พ.ศ. ๒๕๒๕

         ด้านหน้า เป็นรูปจำลองหลวงพ่อแก่นจันทน์ โดยฐานบัวจะเป็นฐานบัวแบบบัวหงาย มีการอักขระภาษาไทย อ่านได้ว่า "หลวงพ่อแก่นจันทน์ "

         ด้านหลัง ขององค์พระจะเรียบร้อย มีการแกะอักขระภาษาไทยด้วยมือ อ่านได้ว่า "รุ่นฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี วัดช่องลม ราชบุรี"

         ด้านใต้ฐาน ไม่มีดินไทย

         พระบูชาหลวงพ่อแก่นจันทน์ วัดช่องลม รุ่นรัชมังคลาภิเษก

         สร้างในปี พ.ศ. ๒๕๓๑ เป็นพระที่เทหล่อแบบสมัยปัจจุบัน เนื้อทองเหลือง องค์พระเป็นการหล่อแบบชิ้นเดียว ขนาดสูง ๗,๑๑,๑๔,๑๕ และ ๑๘ นิ้ว(รวมฐาน) ออกให้บูชาเพื่อเป็นการ เทิดพระเกียรติ ในหลวง ร. ๙ ทรงครองสิริราชสมบัติยาวนานกว่าพระมหากษัตริย์ พระองค์อื่นๆ โดยมีสมเด็จพระเทพฯ
ทรงเป็นองค์ประธาน ในการเททองหล่อ นำฤกษ์ จำนวนการสร้างไม่มีการบันทึกไว้เป็นหลักฐาน

พระบูชาหลวงพ่อแก่นจันทน์ วัดช่องลม รุ่นรัชมังคลาภิเษก ปี พ.ศ. ๒๕๓๑

         ด้านหน้า เป็นรูปจำลองหลวงพ่อแก่นจันทน์ โดยฐานบัวจะเป็นฐานบัวแบบบัวคว่ำบัวหงาย มีการอักขระภาษาไทย อ่านได้ว่า "หลวงพ่อแก่นจันทน์ วัดช่องลม ราชบุรี"

         ด้านหลัง ขององค์พระจะเรียบร้อย มีการแกะอักขระภาษาไทยด้วยมือ อ่านได้ว่า "รัชมังคลาภิเษก"

         ด้านใต้ฐาน ไม่มีดินไทย

         พระบูชาหลวงพ่อแก่นจันทน์ วัดช่องลม รุ่นสมโภชพระอารามหลวง

         สร้างในปี พ.ศ. ๒๕๓๓ เป็นพระที่เทหล่อแบบสมัยปัจจุบัน เนื้อทองเหลืองทาทอง องค์พระเป็นการหล่อแบบชิ้นเดียว ขนาดสูง ๑๕ นิ้วรวมฐาน ออกให้บูชาในงานสมโภชวัดช่องลม ที่ได้เลื่อนฐานะเป็นพระอารามหลวง จำนวนการสร้างไม่มีการบันทึกไว้เป็นหลักฐาน

พระบูชาหลวงพ่อแก่นจันทน์ วัดช่องลม ราชบุรี รุ่นสมโภชพระอารามหลวง ปี พ.ศ. ๒๕๓๓

         ด้านหน้า เป็นรูปจำลองหลวงพ่อแก่นจันทน์ โดยฐานบัวจะเป็นฐานบัวแบบบัวคว่ำบัวหงาย มีการแกะอักขระภาษาไทยด้วยมือ อ่านได้ว่า "หลวงพ่อแก่นจันทร์ " องค์พระมีตามุกสวยงาม

         ด้านหลัง ขององค์พระจะเรียบร้อย มีการแกะอักขระภาษาไทยด้วยมือ อ่านได้ว่า "สมโภชพระอารามหลวง วัดช่องลม ราชบุรี" องค์พระมีตามุกสวยงาม

         ด้านใต้ฐาน ไม่มีดินไทย



องค์สามเณรสมนึก คือองค์ที่อยู่ขวามือของหลวงพ่อแก่นจันทน์
โดย : สารานุกรม​พระเครื่อง​ลุ่ม​น้ำแม่กลอง
  
บทความที่เกี่ยวข้อง


***-[เป็นกำลังใจและสนับสนุน​ให้เราเขียนบทความดีๆ ช่วยกดดูโฆษณาด้านล่างนะคะ]-***

ไม่มีความคิดเห็น

ค้นหาบล็อกนี้