โฆษณาแนวนอน728*90

บทความใหม่

ประวัติและวัตถุมงคลพระครูล้อม วัดประสาทสิทธิ์ พระนักพัฒนาของวัดหลักห้า ราชบุรี

ภาพถ่ายพระครูล้อม วัดปราสาทสิทธิ์ ราชบุรี
พระครูล้อม วัดปราสาทสิทธิ์ ราชบุรี

         พระครูล้อม วัดประสาทสิทธิ์ หรือ หลวงพ่อล้อม อดีตเจ้าอาวาสวัดปราสาทสิทธิ์ ตำบลคลองไผ่ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี พื้นเพท่านเป็นชาวเพชรบุรี เกิดที่บ้านตำบลวังตะโก หมู่ ๑๐ อำเภอคลองกระแซง จังหวัดเพชรบุรี เมื่อวันอังคาร แรม ๙ ค่ำ เดือน ๕ ปีมะแม ตรงกับวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๒๖ โยมบิดาชื่อนายแดง แสงมณี โยมมารดาชื่อนางจุ้ย แสงมณี ประกอบอาชีพกสิกรรม

         หลวงพ่อล้อม ท่านมีพี่น้องร่วมบิดา-มารดาเดียวกัน ๑๒ คน คือ 

         ๑. นางแหวน

         ๒. หลวงพ่อแก้ว รตนโชติ

         ๓. นายเกตุ แดงปุ่น

         ๔. พระครูล้อม

         ๕. นางแรม

         ๖. นายดี แดงปุ่น

         ๗. นายจีน แดงปุ่น

         ๘. นางเริ่ม สงวนวงศ์

         ๙. นายเติม แดงปุ่น (อีกสองคนตายตั้งแต่ยังเยาว์)

หลังสืออนุสรณ์งานฌาปนกิจศพพระครูล้อม พรหมสโร วัดปราสาทสิทธิ์ ราชบุรี-หน้าปกใน.jpg
หลังสืออนุสรณ์งานฌาปนกิจศพพระครูล้อม พรหมสโร วัดปราสาทสิทธิ์ ราชบุรี-หน้าปกใน

         เมื่อพระครูล้อม มีอายุได้ ๑๖ ปี ท่านได้ย้ายถิ่นฐานภูมิลำเนาจากเพชรบุรี มาอยู่ที่บ้านตำบลดอนไผ่ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ช่วบครอบครัวประกอบอาชีพกสิกรรม จนมีอายุได้ ๒๑ ปี

         ปี พ.ศ. ๒๔๔๗ พระครูล้อมมีอายุได้ ๒๒ ปี ท่านจึงเข้ารับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทสีมาวัดประสาทสิทธิ์(วัดหลักห้า) ตำบลดอนไผ่ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี เมื่อวันที่ ๑๙ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๔๔๗ ได้รับฉายาว่า "พรหมฺสโร" โดยมี

         พระครูวรปรีชาวิหารกิจ(ช่วง) วัดโชติทายาการาม เป็นพระอุปัชฌาย์

         พระธรรมวิรัติสุนทร (เชย) วัดโชติทายาการาม เป็นพระกรรมวาจาจารย์

         พระอาจารย์วัชร์ วัดโชติทายาการาม เป็นพระอนุสาวนาจารย์

         หลังจากอุปสทบทแล้ว หลวงพ่อล้อม ท่านก็ได้่อยู่จำพรรษาที่วัดปราสาทสิทธิ์เรื่อยมา เพื่อศึกษาวิชาภาษาบาลีและศึกษาวิชาปริยัติธรรมจนชำนาญ

         ปี พ.ศ. ๒๔๖๘ พระอธิการแก้ว (พี่ชาย) เจ้าอาวาสวัดปราสาทสิทธิ์ได้ลาสิกขา จึงทำให้ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดปราสาทสิทธิ์ว่างลง ชาวบ้านและคณะกรรมการวัดจึงพร้อมใจกันนิมนต์หลวงพ่อล้อมขึ้นเป็นเจ้าอาวาสสืบแทน

ภาพถ่ายหลวงพ่อแก้ว วัดหลักห้า ราชบุรี
หลวงพ่อแก้ว วัดหลักห้า(ปราสาทสิทธิ์) ราชบุรี

         วัดปราสาทสิทธิ์ (วัดหลักห้า) เดิมชื่อว่า "วัดสมเด็จปราสาทสิทธิ์ธิดาราม" ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่หมู่ ๕ ตำบลประสาทสิทธิ์ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ซึ่งแต่เดิมตำบลประสาทสิทธิ์รวมอยู่กับตำบลดอนไผ่ ในบริเวณหลัก ๕ ริมคลองดำเนินสะดวก ชาวบ้านจึงมักเรียกว่า วัดโคกไผ่ วัดดอนไผ่ หรือ วัดหลักห้า วัดมีพื้นที่ ๑๒ ไร่เศษ

         เดิมวัดตั้งอยู่ห่างจากริมคลองดำเนินสะดวกประมาณ ๕๐๐ เมตร ซึ่งปัจจุบันคือที่ตั้งพระอุโบสถ สร้างโดยสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ในสมัยรัชกาลที่ ๔ โดยสร้างขึ้นหลังปี พ.ศ. ๒๔๑๑ เพื่อเป็นที่ระลึกในการขุดคลองดำเนินสำเร็จ (ขุดคลองปี พ.ศ. ๒๔๐๙ แล้วเสร็จปี พ.ศ. ๒๔๑๑) 

         และเพื่อเป็นวัดไว้สำหรับประกอบศาสนกิจ ให้กับผู้อยู่อาศัยในพื้นที่หลักห้าแถบนี้ ซึ่งในสมัยนั้นหลังจากขุดคลองแล้วเสร็จ ชาวบ้านได้มีการย้ายถิ่นฐานมาอยู่ในเขตริมคลองมากจนเป็นแหล่งชุมชนขนาดใหญ่ วัดได้รับวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๔ มีรายนามเจ้าอาวาสปกครองวัดดังนี้

         ๑. พระสมุห์สิน ปกครองวัดราว ๖-๗ ปี บ้างก้ว่า ๑๒ ปี ก่อนย้ายกลับวัดราชาธิวาส

         ๒. พระอธิการทอง

         ๓. พระอธิการแดง ซึ่งต่อมาได้ลากสิกขา วัดจึงว่างการปกครองไประยะหนึ่ง

         ๔. พระอธิการแก้ว รัตนโชติ

         ๕. พระครูล้อม พรหมสโร พ.ศ. ๒๔๖๘ - ๒๔๙๖

         ๖. พระครูประสาทรัตนกิจ หรือ พระปลัดบุญ ปทุมสโร นามเดิมชื่อบุญ ศรีเมือง มรณภาพเมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๕  

         ๗. พระครูประศาสน์สิทธิรักษ์ หรือ หลวงพ่อกิมใช้ รตนวณโณ นามเดิมชื่อกิมใช้ แซ่เฮ้ง มรณภาพปี พ.ศ. ๒๕๔๘ 

         ๘. พระครูประภัสสรวรคุณ หรือ หลวงพ่อพระมหาชัยพร วลลโภ ปธ.4 มรณภาพเมื่อวันที่  ๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓

         ๙. พระครูอนูกูลวรากร (รวีโรจน์ วรมังคโล) พ.ศ. ๒๔๖๓ - ปัจจุบัน

หลังสืออนุสรณ์งานฌาปนกิจศพพระครูล้อม พรหมสโร วัดปราสาทสิทธิ์ ราชบุรี
หลังสืออนุสรณ์งานฌาปนกิจศพพระครูล้อม พรหมสโร วัดปราสาทสิทธิ์

         หลังจากที่หลวงพ่อล้อมได้ขึ้นเป็นเจ้าอาวาส ท่านก็ได้พัฒนาวัดอย่างสุดความสามารถ ทั้งการสร้างเสนาสนะต่างๆ อาทิเช่น ท่านได้สร้างกุฏิยาว ๙ ห้อง ทางทิศตะวันตกเพิ่มอีก ๑ หลัง และทิศตะวัตออกอีก ๑ หลัง และยังสร้างโรงเรียนปริยัติธรรม ๒ หลัง แล้วสร้างถนนเชื่อมระหว่างกุฏิบนและกุฏิล่างยาว ๑๒ เส้นเศษอีกด้วย

         ปี พ.ศ. ๒๔๗๓ ท่านได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะหมวดดอนไผ่ (เจ้าคณะตำบลในปัจจุบัน) 

         ปี พ.ศ. ๒๔๗๔ ท่านได้รับการแต่งตั้งสมณศักดิ์ เป็นพระครูชั้นประทวน ที่"พระครูล้อม"  

         ปี พ.ศ. ๒๔๘๒ พระครูล้อม ท่านได้รวมมือกับผู้ใหญ่ศรี และหลวงพ่อมหาพิณ วัดอุบลวรรณาราม ซึ่งขณะนั้นจำวัดอยู่ที่วัดปราสาทสิทธิ์ สร้างโรงเรียนศรีพรหมมินทร์ ขึ้นเพื่อใช้สำหรับการศึกษาของบุตร-ธิดาของชาวบ้านในพื้นที่ ด้งปรากฏอยู่จนถึงปัจจุบันนี้

         ปี พ.ศ. ๒๔๙๑ ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์   

         ปี พ.ศง ๒๔๙๔ ท่านได้เริ่มสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ ทดแทนหลังเดิมที่ชำรุดผุพัง โดยพระอุโบสถหลังนี้สร้างเสร็จในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ แต่ยังไม่ได้ผูกพัทธสีมาพระครูล้อมก็มรณภาพลงเสียก่อน    

         พระครูล้อม ปกครองวัดเรื่อยมาจนถึงแก่มรณภาพด้วยโรคลมปัจจุบัน เมื่อวันที่ ๑๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙๖ ตรงกับวันขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๙ เวลา ๑๑.๓๐ น. นับรวมสิริอายุได้ ๗๑ ปี ๔๙ พรรษา.

วัตถุมงคลของพระครูล้อม วัดปราสาทสิทธิ์

         เหรียญหลวงพ่อล้อม วัดปราสาทสิทธิ์ รุ่นแรก (เหรียญตาย)

         สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ เพื่อออกให้บูชาแก่ผู้ที่มาร่วมในงานศพของท่าน ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่แบบมีหูในตัว มีการสร้างด้วยเนื้อทองแดงกระไหล่ทอง ทองแดงกระไหล่เงิน ทองแดงผิวไฟ และเนื้ออัลปาก้า จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

เหรียญพระครูล้อม วัดประสาทสิทธิ์ ราชบุรี รุ่นแรก ปี 2498 อัลปาก้า
เหรียญพระครูล้อม วัดประสาทสิทธิ์ ราชบุรี รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ เนื้ออัลปาก้า

เหรียญพระครูล้อม วัดประสาทสิทธิ์ ราชบุรี รุ่นแรก ปี 2498 ทองแดงกระไหล่เงิน
เหรียญพระครูล้อม วัดประสาทสิทธิ์ ราชบุรี รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ ทองแดงกระไหล่เงิน

         ด้านหน้า มีรูปจำลองของหลวงพ่อล้อม ครึ่งองค์ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระครูล้อม พรหมฺสโร"

         ด้านหลัง  ไม่มีขอบเหรียญ ตรงกลางมีอักขระยันต์ตาราง 


ข้อมูล : หลังสืออนุสรณ์งานฌาปนกิจศพพระครูล้อม พรหมสโร วัดปราสาทสิทธิ์ ของคุณนิพนธ์ ประไพจิต (บ้านครูโพธิ์ หลักห้า)

โดย : สารานุกรม​พระเครื่อง​ลุ่ม​น้ำแม่กลอง

บทความที่เกี่ยวข้อง


***-[เป็นกำลังใจและสนับสนุน​ให้เราเขียนบทความดีๆ ช่วยกดดูโฆษณาด้านล่างนะคะ]-***

ไม่มีความคิดเห็น

ค้นหาบล็อกนี้