ประวัติและวัตถุมงคลหลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว กาญจนบุรี พระผู้เป็นศิษย์เอกใกล้ชิดหลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว
![]() |
หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว กาญจนบุรี |
หลวงพ่อเหรียญ วัดหนองบัว หรือ พระโสภณสมาจารย์ อดีตเจ้าอาวาสวัดศรีอุปลาราม ท่านเป็นเจ้าคณะอำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี โดยท่านมีนามเดิมชื่อ เหรียญ รัสสุวรรณ เกิดเมื่อ ปีชวด เดือนยี่ แรม ๗ ค่ำ ตรงกับวันที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๑๙ ณ บ้านหนองบัว ตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี โยมบิดาชื่อคุณพ่อโผ รัสสุวรรณ โยมมารดาชื่อคุณแม่แย้ม รัสสุวรรณ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๗ คน ที่บ้านประกอบอาชีพทำนา-ทำไร่
เมื่อหลวงพ่อเหรียญยังเป็นเด็ก โยมบิดาและโยมมารดา ได้นำตัวไปฝากอยู่กับเจ้าอธิการยิ้ม วัดหนองบัว (วัดศรีอุปลาราม) ได้เรียนหนังสือไทยและขอมพออ่านออกเขียนได้ ต่อมาได้ลาออกไปช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพ
![]() |
ภาพถ่ายหลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว และหลวงปู่เหรียญวัดหนองบัว |
ปี พ.ศ. ๒๔๔๐ ในขณะที่หลวงพ่อเหรียญ มีอายุย่าง ๒๒ ปี ได้อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดศรีอุปลาราม (วัดหนองบัว) เมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๔๐ เวลา ๑๐ นาฬิกา ๓๐ นาที ได้รับฉายาว่า "สุวรรณโชติ" โดยมี
เจ้าอธิการยิ้ม วัดศรีอุปลาราม (วัดหนองบัว) เป็นพระอุปัชฌาย์
พระครูสิงคิบุรณคณาจารย์ (คง ทองสุด) วัดเทวสังฆาราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์
พระอาจารย์อยู่ วัดศรีอุปลาราม (วัดหนองบัว) เป็นพระอนุสาวนาจารย์
หลังจากที่ได้รับอุปสมบทแล้ว หลวงพ่อเหรียญได้อยู่จำพรรษาอยู่วัดศรีอุปลารามตลอดมา ครั้นมีพรรษาพอสมควร หลวงปู่ยิ้ม ผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้มอบกิจการต่างๆ ให้ช่วยดูแล และเป็นพระกรรมวาจาจารย์สวดนาค
ปี พ.ศ. ๒๔๕๔ ท่านเจ้าอธิการยิ้ม ถึงแก่มรณภาพลง พระครูวิสุทธิรังษี (อินฺทสโร เปลี่ยน) วัดชัยชุมพลชนะสงคราม เจ้าคณะจังหวัด พร้อมด้วยพระครูสิงคิบุรคราจารย์ (สุด) วัดเทวสังฆาราม รองเจ้าคณะจังหวัด ตั้งให้หลวงพ่อเหรียญ เป็นเจ้าอาวาสวัดศรีอุปลารามสืบต่อมา เมื่อวันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๔๕๔ มีตำแหน่งเป็นพระอธิการ
![]() |
หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว กาญจนบุรี |
เมื่อหลวงพ่อเหรียญ ท่านได้เป็นเจ้าอาวาส ท่านก็มิได้นิ่งนอนใจ ท่านได้พัฒนาวัดหนองบัว ให้เจริญยิ่งๆขึ้นไป ทั้งด้านถาวรวัตถุและด้านการสั่งสอนญาติโยมและชาวบ้านในพื้นที่ของวัด จนวัดเจริญรุ่งเรืองเรื่อยมา
ปี พ.ศ. ๒๔๕๘ เจ้าคณะจังหวัด ได้แต่งตั้งให้หลวงพ่อเหรียญ เป็นผู้รั้งเจ้าคณะแขวงเมือง เมื่อวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๕๘
ปี พ.ศ. ๒๔๖๐ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ประทานตราตั้งให้เป็นเจ้าคณะแขวงเมือง เมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๐
ปี พ.ศ. ๒๔๖๑ ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระครูนิวิฐสมาจาร เมื่อวันที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๑ (ในรัชกาลที่ ๖)
![]() |
หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว กาญจนบุรี |
ปี พ.ศ. ๒๔๗๓ สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ ประทานตราตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อ วันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๓
ปี พ.ศ. ๒๔๙๒ เป็นสาธารณูปการจังหวัด ตำแหน่งกรรมการสงฆ์ จังหวัดกาญจนบุรี
ปี พ.ศ. ๒๔๙๐ เป็นพระครูเจ้าคณะอำเภอชั้นเอก ในราชทินนามเดิม เมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๐
ปี พ.ศ. ๒๔๙๒ เป็นสาธารณูปการจังหวัด ตำแหน่งกรรมการสงฆ์ จังหวัดกาญจนบุรี
ปี พ.ศ. ๒๔๙๖ เป็นพระโสภณสมาจารย์ เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๖
หลวงพ่อเหรียญ วัดหนองบัว ครองวัดเรื่อยมาจนถึงแก่มรณภาพลงด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ ๒๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๓ นับรวมสิริอายุได้ ๘๔ ปี ๖๒ พรรษา.
วัตถุมงคลของหลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว
หลวงปู่เหรียญ ท่านได้ใช้เวลาในการรวบรวมมวลสารตามตำราของพระอาจารย์ รวมทั้งใช้เวลาในการปลุกเสกด้วยกันอยู่เป็นเวลานานประมาณ ๓ ปีเศษ เมื่อท่านได้รวบรวมอุปกรณ์ในการทำพระผงได้ครบบริบูรณ์แล้ว ท่านจึงได้เริ่มทำพระผงเครื่องรางของขลังดังกล่าวขึ้น ท่านได้ทำการปลุกเสกในทางเวทวิทยาคมตามที่ท่านได้เล่าเรียนมา
และนอกจากท่านได้ทำการปลุกเสกของท่านเองแล้ว ท่านยังได้นิมนต์พระอาจารย์ผู้ที่เชี่ยวชาญในทางเวทวิทยาคมมาจากสำนักวัดต่างๆ อีก ๑๐๘ รูป มาทำพิธีปลุกเสกและสวดพุทธาภิเษก ณ วัดศรีอุปลาราม (วัดหนองบัว) เมื่อวันที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๗ เริ่มทำพิธีตั้งแต่เวลา ๑๗.๐๐ น. จนถึงเวลา ๐๓.๐๐ น. ของวันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๗ จึงเสร็จพิธี
และได้นำออกมาแจกในงานฉลองอายุครบ ๗๘ ปี
และงานฉลองพระอุโบสถหลังใหม่ที่ท่านดำเนินการสร้างในปี พ.ศ. ๒๔๙๗
มีรูปแบบพระเครื่องและเครื่องรางด้วยกันมากมาย หลายพิมพ์
สันนิษฐานว่าพระเครื่องทั้งหมดที่ท่านได้สร้างในคราวนั้น
มีจำนวนทั้งสิ้นถึง ๘๔,๐๐๐ องค์ บางพิมพ์ก็สร้างไว้น้อยมาก
แบบพิมพ์ที่ได้รับความนิยม พอจะรวบรวมได้
พระเครื่องและวัตถุมงคลที่หลวงปู่เหรียญจัดสร้างขึ้นมานั้น รวบรวมได้ดังนี้
พระปิดตาหลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว พิมพ์เส้นด้ายใหญ่(หลังอูม)
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ ลักษณะเหมือนพระปิดตาของหลวงปู่ยิ้ม ผู้เป็นอาจารย์แต่เนื้อพระจะเป็นสีขาว จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
![]() |
พระปิดตาเส้นด้ายใหญ่หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ ของคุณInkam |
ด้านหน้า เป็นรูปจำลองพระปิดตาภควัมบดี แบบเดียวกับพระปิดตาทั่วไป แต่มือและเส้นสายจะเรียวเล็กกว่า
ด้านหลัง อูมกว่าพิมพ์อื่นๆทั่วไป พิมพ์พระไม่มีอักขระยันต์ใดๆ
พระปิดตาหลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว พิมพ์เส้นด้ายเล็ก (หัวตะเข้)
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ ลักษณะเหมือนพระปิดตาเนื้อผงสีขาว จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
![]() |
พระปิดตาเส้นด้ายเล็ก (หัวตะเข้) หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ |
ด้านหน้า เป็นรูปจำลองพระปิดตาภควัมบดี แบบเดียวกับพระปิดตาทั่วไป แต่มือและเส้นสายจะเรียวเล็กกว่าพิมพ์เส้นด้ายใหญ่
ด้านหลัง เรียบ พิมพ์พระไม่มีอักขระยันต์ใดๆ พระปิดตาหลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว พิมพ์หลังกระดาษสา (นิยม)
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๘๑ ถือเป็นวัตถุมงคลยุคต้นของ หลวงปู่เหรียญ กล่าวกันว่ามีมวลสารของหลวงปู่เฒ่ายิ้มมากที่สุด ลักษณะเป็นพระปิดตาคลุกรักแล้วจึงจุ่มรักอีกชั้นหนึ่ง ส่วนกระดาษสาเกิดจากเมื่อจุ่มรักแล้ว รักยังไม่แห้ง เมื่อนำมาวางไว้บนกระดาษสา เมื่อแห้งกระดาษสาจึงติดด้านหลังองค์พระ จึงเป็นที่มาของ "พระปิดตาหลังกระดาษสา" จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
![]() |
ปิดตาหลังกระดาษาสา หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว ปี พ.ศ. ๒๔๘๑ (นิยม) |
ด้านหน้า เป็นรูปจำลองพระปิดตาภควัมบดี ประทับบนฐานเขียง แบบเดียวกับพระปิดตาทั่วไป แต่องค์พระจะดูอวบอ้วนกว่า
พระปิดตาหลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว พิมพ์แข้งหมอน (หลังเบี้ย)
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ ลักษณะเหมือนพระปิดตาเนื้อผงสีขาวอมเหลือง แต่ด้านหลังจะอูมเหมือนเบี้ยจึงเป็นที่มาของชื่อพิมพ์ มีจำนวนการสร้างที่น้อยมากหากนับจากจำนวนพระที่หมุนเวียนอยู่ในปัจจุบัน จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
![]() |
ปิดตาแข้งหมอน (หลังเบี้ย) หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ ของพระเมืองเหนือ |
ด้านหน้า เป็นรูปจำลองพระปิดตาภควัมบดี แบบเดียวกับพระปิดตาทั่วไป องค์พระประทับบนฐานหมอน จึงเป็นที่มาของชื่อพิมพ์ องค์พระจะดูอวบอิ่มมีเอกลักษณ์สวยงาม
ด้านหลัง อูมเหมือนเบี้ย พิมพ์พระไม่มีอักขระยันต์ใดๆ
พระปิดตาหลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว พิมพ์แขนกลม (หลังเบี้ย)
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ ลักษณะเหมือนพระปิดตาเนื้อผงสีขาวอมเหลือง ในบางองค์จะมีการลงรักเพื่อรักษาเนื้อพระ แต่ด้านหลังจะอูมเหมือนเบี้ยจึงเป็นที่มาของชื่อพิมพ์ มีจำนวนการสร้างที่น้อยมากหากนับจากจำนวนพระที่หมุนเวียนอยู่ในปัจจุบัน จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
![]() |
ปิดตาแขนกลมหลังเบี้ย หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว กาญจนบุรี ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ ของคุณเชิด พระหิ้ว |
ด้านหน้า เป็นรูปจำลองพระปิดตาภควัมบดี แบบเดียวกับพระปิดตาทั่วไป วงแขนที่ยกขึ้นมาปิดตาจะมีลักษณะกลม จึงเป็นที่มาของชื่อพิมพ์ องค์พระจะดูอวบอิ่มมีเอกลักษณ์สวยงาม
ด้านหลัง อูมเหมือนเบี้ย พิมพ์พระไม่มีอักขระยันต์ใดๆ
พระปิดตามหาอุตย์หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว พิมพ์ท้องป่อง (พุงป่อง)
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ ลักษณะเหมือนพระปิดตาเนื้อผงสีขาวอมเหลือง ในบางองค์จะมีการลงรักเพื่อรักษาเนื้อพระ องค์พระเป็นแบบพระมหาอุตย์ปิดทวารทั้ง ๙ เป็นอีกพิมพ์หนึ่งมีจำนวนการสร้างที่น้อยมากหากนับจากจำนวนพระที่หมุนเวียนอยู่ในปัจจุบัน จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
![]() |
ปิดตามหาอุตย์ท้องป่อง (พุงป่อง) หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว กาญจนบุรี ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ ของคุณModjung |
ด้านหน้า
เป็นรูปจำลองพระปิดตามหาอุด หรือปิดทวารทั้ง ๙ ที่ท้องขององค์ปิดตาจะมีลักษณะป่องนูน จึงเป็นที่มาของชื่อพิมพ์
องค์พระจะดูอวบอิ่มมีเอกลักษณ์สวยงาม
ด้านหลัง เรียบ พิมพ์พระไม่มีอักขระยันต์ใดๆ
พระปิดตามหาอุตย์หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว พิมพ์ท้องแฟบ (พุงแฟบ)
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ ลักษณะเหมือนพระปิดตาเนื้อผงสีขาวอมเหลือง ในบางองค์จะมีการลงรักเพื่อรักษาเนื้อพระ องค์พระเป็นแบบพระมหาอุตย์ปิดทวารทั้ง ๙ เป็นอีกพิมพ์หนึ่งมีจำนวนการสร้างที่น้อยมากหากนับจากจำนวนพระที่หมุนเวียนอยู่ในปัจจุบัน จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
![]() |
ปิดตามหาอุตย์ท้องแฟบ (พุงแฟบ) หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว กาญจนบุรี ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ |
ด้านหน้า
เป็นรูปจำลองพระปิดตามหาอุด หรือปิดทวารทั้ง ๙ ที่ท้องขององค์ปิดตาจะมีลักษณะตามปกติแตกต่างจากพิมพ์พุงป่อง จึงทำให้ถูกเรียกตามชื่อพิมพ์ว่าพุงแฟบ
องค์พระจะดูอวบอิ่มมีเอกลักษณ์สวยงาม
ด้านหลัง เรียบ พิมพ์พระไม่มีอักขระยันต์ใดๆ
พระปิดตาหลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว พิมพ์แข้งซ้อน
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๐๓ ลักษณะเหมือนพระปิดตาเนื้อผงสีขาวอมเหลือง ในบางองค์จะมีการลงรักเพื่อรักษาเนื้อพระ องค์พระเป็นแบบพระปิดตาทั่วไป จัดเป็นพระปิดตาพิมพ์มาตรฐานอีกพิมพ์หนึ่งของหลวงพ่อ จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
![]() |
ปิดตาแข้งซ้อน หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว กาญจนบุรี ปี พ.ศ. ๒๕๐๓ |
ด้านหน้า
เป็นรูปจำลองพระปิดตามหาอุด หรือปิดทวารทั้ง ๙
ที่ท้องขององค์ปิดตาจะมีลักษณะตามปกติแตกต่างจากพิมพ์พุงป่อง
จึงทำให้ถูกเรียกตามชื่อพิมพ์ว่าพุงแฟบ
องค์พระจะดูอวบอิ่มมีเอกลักษณ์สวยงาม
ด้านหลัง เรียบ พิมพ์พระไม่มีอักขระยันต์ใดๆ
พระพุทธชินราชบูชา หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ มีลักษณะเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมขนาดบูชา คือมีขนาดกว้าง ๔ นิ้ว สูง ๖ นิ้ว เนื้อผงสีขาวอมเหลือง ในบางองค์จะมีการปิดทองพระ จัดเป็นพระเนื้อผงพิมพ์มาตรฐานอีกพิมพ์หนึ่งของหลวงพ่อ จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
![]() |
พระพุทธชินราชบูชา หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว กาญจนบุรี ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ |
ด้านหน้า เป็นรูปจำลองพระพุทธชินราช องค์พระอยู่ภายในกรอบสี่เหลี่ยม
ด้านหลัง เรียบ มีอักขระยันต์โภคทรัพย์อ่านได้ว่า "นะ ชา ลี ติ" ตรงกลางมีตัวอุณาโลม
พระพิมพ์ปางประทานพร หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ มีลักษณะเป็นพระพิมพ์สี่เหลี่ยมปลายแหลม เป็นพระเนื้อผงมีสีขาวอมเหลือง แบ่งออกเป็นพิมพ์เล็ก และพิมพ์ใหญ่ จัดเป็นพระเนื้อผงพิมพ์มาตรฐานอีกพิมพ์หนึ่งของหลวงพ่อ จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
![]() |
พระพิมพ์ปางประทานพร หลวงพ่อเหรียญ วัดหนองบัว กาญจนบุรี ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ |
![]() |
พระพิมพ์ปางประทานพร หลวงพ่อเหรียญ วัดหนองบัว กาญจนบุรี ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ |
![]() |
พระพิมพ์ปางประทานพร หลวงพ่อเหรียญ วัดหนองบัว กาญจนบุรี ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ |
![]() |
พระพิมพ์ปางประทานพร หลวงพ่อเหรียญ วัดหนองบัว กาญจนบุรี ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ |
![]() |
พระพิมพ์ปางประทานพรนิ้ว(พิมพ์เล็ก) หลวงพ่อเหรียญ วัดหนองบัว ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ ของคุณใจ แผ่นดิน |
ด้านหน้า เป็นรูปพระพุทธรูปปางประทานพร องค์พระประทับยืนบนฐานบัวมีนาคซ้ายขวา องค์พระอยู่ในซุ้มกระหนกสวยงาม
ด้านหลัง เรียบ มีอักขระยันต์
พระสมเด็จพิมพ์ใหญ่ หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ มีลักษณะเป็นพระพิมพ์สมเด็จสี่เหลี่ยมแบบทั่วๆไป องค์พระ เป็นพระเนื้อผงมีสีขาวอมเหลือง ในองคืที่ใช้จะมีเนื้อจัดคล้ายพระสมเด็จ จัดเป็นพระเนื้อผงพิมพ์มาตรฐานอีกพิมพ์หนึ่งของหลวงพ่อ จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
![]() |
พระสมเด็จพิมพ์ใหญ่ หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว กาญจนบุรี ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ |
![]() |
พระสมเด็จพิมพ์ใหญ่ หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว กาญจนบุรี ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ (พระใช้เนื้อจัด) |
ด้านหน้า เป็นรูปพระพุทธรูปปางสมาธิบนฐาน ๓ ชั้นแบบพระสมเด็จทั่วไป องค์พระเป็นแบบสมเด็จทั่วไปแต่มือจะชนกันเป็นรูปตัววี
ด้านหลัง เรียบ ไม่มีอักขระยันต์ใดๆพระสมเด็จหลังยันต์อุ หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ มีลักษณะเป็นพระพิมพ์สมเด็จสี่เหลี่ยมปลายหมน เป็นพระเนื้อผงมีสีขาวอมเหลือง จัดเป็นพระเนื้อผงพิมพ์มาตรฐานอีกพิมพ์หนึ่งของหลวงพ่อ จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
![]() |
พระสมเด็จพิมพ์กลางหลังยันต์อุ หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว กาญจนบุรี ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ |
ด้านหน้า เป็นรูปพระพุทธรูปปางสมาธิบนฐาน ๓ ชั้นแบบพระสมเด็จทั่วไป โดยองค์พระจะตัดขอบล้อไปกับเส้นซุ้มระฆังครอบ องค์พระเป็นแบบสมเด็จอกร่อง
ด้านหลัง เรียบ มีอักขระยันต์ตัว "อุ" จึงเป็นที่มาของชื่อพิมพ์พระสมเด็จหลังนิวิฐ หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ มีลักษณะเป็นพระพิมพ์สมเด็จสี่เหลี่ยมปลายหมน เป็นพระเนื้อผงมีสีขาวอมเหลือง จัดเป็นพระเนื้อผงพิมพ์มาตรฐานอีกพิมพ์หนึ่งของหลวงพ่อ จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
![]() |
พระสมเด็จพิมพ์เล็กหลังนิวิฐ หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว กาญจนบุรี ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ |
ด้านหน้า เป็นรูปพระพุทธรูปปางสมาธิบนฐาน ๓ ชั้นแบบพระสมเด็จทั่วไป โดยองค์พระจะตัดขอบชิดซุ้มระฆังครอบ องค์พระเป็นแบบสมเด็จอกร่อง
ด้านหลัง เรียบ มีอักขระยันต์ ตรงกลางยันต์มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "นิวิฐ" จึงเป็นที่มาของชื่อพิมพ์พระขุนแผนพิมพ์ใหญ่ หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ มีลักษณะเป็นพระพิมพ์ขุนแผน องค์พระเป็นพระเนื้อผงมีสีขาวอมเหลือง จัดเป็นพระเนื้อผงพิมพ์มาตรฐานอีกพิมพ์หนึ่งของหลวงพ่อ จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
![]() |
พระขุนแผนพิมพ์ใหญ่ หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว กาญจนบุรี ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ |
ด้านหน้า เป็นรูปพระพุทธรูปปางสมาธิบนฐานบัวคว่ำบัวหงาย องค์พระประทับอยู่ในซุ้มเรือนแก้ว สวยงาม
ด้านหลัง เรียบ มีอักขระยันต์พระขุนแผนพิมพ์เล็ก หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว (พิมพ์พระพุทธชินราช)
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ มีลักษณะเป็นพระพิมพ์ขุนแผน แต่ชาวบ้านมักเรียกว่าพิมพ์พระพุทธชินราช องค์พระเป็นพระเนื้อผงมีสีขาวอมเหลือง จัดเป็นพระเนื้อผงพิมพ์มาตรฐานอีกพิมพ์หนึ่งของหลวงพ่อ ที่พบค่อนข้างยาก จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
![]() |
พระขุนแผนพิมพ์เล็ก (พระพุทะชินราช) หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว กาญจนบุรี ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ |
ด้านหน้า เป็นรูปพระพุทธรูปปางมารวิชัยบนฐาน ๓ ชั้น องค์พระประทับอยู่ในซุ้มเรือนแก้ว สวยงาม
ด้านหลัง เรียบ ไม่มีอักขระยันต์ใดๆพระกลีบบัว หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ มีลักษณะเป็นพระพิมพ์กลีบบัว องค์พระเป็นพระเนื้อผงมีสีขาวอมเหลือง จัดเป็นพระเนื้อผงพิมพ์มาตรฐานอีกพิมพ์หนึ่งของหลวงพ่อ จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
![]() |
พระพิมพ์กลีบบัว หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว กาญจนบุรี ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ |
ด้านหน้า เป็นรูปพระพุทธรูปปางสมาธิบนฐานบัวหงาย องค์พระประทับอยู่ในซุ้มเรือนแก้ว สวยงาม
ด้านหลัง เรียบ มีอักขระยันต์ตัว "เฑาะห์" อยู่หนึ่งตัวพระพิมพ์ชัยวัฒน์ หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ มีลักษณะเป็นพระพิมพ์พิมพ์นี้เป็นพิมพ์พระชัยวัฒน์ ได้นำพระพุทโธพิมพ์กลางหลังยันต์อะระหังของแม่ชีบุญเรือนเป็นต้นแบบ องค์พระเป็นพระเนื้อผงมีสีขาวอมเหลือง ในองค์พระ เนื้อจัดและองค์กดพิมพ์ชัดเจนทั้งหน้าหลัง มักถูกนำไปเล่นเป็นของแม่ชีบุญเรือน เพราะเนื้อหาและอายุใกล้เคียงกัน จัดเป็นพระเนื้อผงพิมพ์มาตรฐานอีกพิมพ์หนึ่งของหลวงพ่อ จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
![]() |
พระพิมพ์ชัยวัฒน์หลวงพ่อเหรียญ วัดหนองบัว กาญจนบุรี ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ |
ด้านหน้า
เป็นรูปพระพุทธรูปปางมารวิชัย ในมือถือหม้อน้ำมนต์แบบพระชัยวัต์ องค์พระประทับนั่งบนฐานบัวคว่ำบัวหงาย แบบเดียวกับพระพุทโธน้อยของคุณแม่ชีบุญเรือน
พระพิมพ์แหวกม่าน หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ มีลักษณะเป็นพระพิมพ์สี่เหลี่ยม องค์พระเป็นพระเนื้อผงมีสีขาวอมเหลือง จัดเป็นพระเนื้อผงพิมพ์มาตรฐานอีกพิมพ์หนึ่งของหลวงพ่อที่ค่อนข้างจะหาได้ยาก จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
![]() |
พระพิมพ์แหวกม่านหลวงพ่อเหรียญ วัดหนองบัว กาญจนบุรี ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ |
ด้านหน้า
เป็นรูปพระพุทธรูปปางสมาธิบนฐานเขียง องค์พระประทับอยู่ในซุ้มเรือนแก้ว มีเส้นบังคับพิมพ์สี่เหลี่ยมสวยงามคล้ายผ้าม่าน จึงเป็นที่มาของชื่อพิมพ์
นางกวัก หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ มีลักษณะเป็นนางกวักสี่เหลี่ยมปลายมน สร้างจากเนื้อผงมีสีขาวอมเหลือง จัดเป็นเครื่องรางเนื้อผงที่เป็นพิมพ์มาตรฐานอีกพิมพ์หนึ่งของหลวงพ่อ ที่ค่อนข้างจะหาได้ยาก จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
![]() |
นางกวักหลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว กาญจนบุรี ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ |
ด้านหน้า เป็นรูปนางกวักบนฐานเขียง องค์พระประทับอยู่ในซุ้มครอบแก้ว
ด้านหลัง เรียบ ไม่มีอักขระยันต์ใดๆ
พระท่ากระดาน หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว ปี พ.ศ. ๒๔๙๗
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ มีลักษณะเป็นพระพิมพ์ท่ากระดานเนื้อชินตะกั่ว เล่ากันว่าทางวัดหนองบัวสมัยหลวงปู่เหรียญเป็นเจ้าอาวาส ได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์พระอารามขึ้น เนื่องจากมีสภาพชำรุดทรุดโทรม ขณะที่รื้อซ่อมพระอุโบสถเก่าได้พระท่ากระดานจำนวน ๙๓ องค์ แต่ชำรุดเสียหายเป็นส่วนใหญ่ เหลือสภาพสมบูรณ์เพียง ๗ องค์เท่านั้น รวมถึงยังได้ค้นพบพระพิมพ์ต่างๆของหลวงปู่ยิ้มอีกจำนวนหนึ่ง ทั้งหมดถูกบรรจุรวมกันอยู่ภายใน โถโบราณ หรือ บาตร ลูกหนึ่ง ตั้งอยู่บนเพดานพระอุโบสถ ตรงกับทับหลังของประตู ด้านหลังพระประธาน ซึ่งพระท่ากระดานที่ชำรุดแตกหักเหล่านั้น ท่านได้นำมาหล่อหลอมรวมกับโลหะอื่นๆ สร้างเป็นพระท่ากระดานขึ้น โดยหลอมรวมกับตะกั่วโบราณ หรือ เนื้อชินโบราณ ซึ่งลูกศิษย์ได้นำมาถวาย จัดเป็นเครื่องรางเนื้อผงที่เป็นพิมพ์มาตรฐานอีกพิมพ์หนึ่งของหลวงพ่อ ที่ค่อนข้างจะหาได้ยาก จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
![]() |
พระท่ากระดาน เนื้อตะกั่ว หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว กาญจนบุรีปี พ.ศ. ๒๔๙๗ |
ด้านหน้า
เป็นรูปพระพุทธรูปปางมารวิชัยบนฐานเขียง องค์พระไม่ตัดชิดแบบพระท่ากระดานทั่วๆไป พระเกศขององค์พระแหลมแต่สั้นไม่โค้งงอ
ด้านหลัง เรียบ ไม่มีอักขระยันต์ใดๆ
พระท่ากระดานเนื้อผง หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ มีลักษณะเป็นพระพิมพ์ท่ากระดาน องค์พระเป็นพระเนื้อผงมีสีขาวอมเหลือง จัดเป็นพระเนื้อผงพิมพ์มาตรฐานอีกพิมพ์หนึ่งของหลวงพ่อที่ค่อนข้างจะหาได้ยาก จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
![]() |
พระท่ากระดาน เนื้อผง หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว กาญจนบุรีปี พ.ศ. ๒๔๙๗ |
ด้านหน้า
เป็นรูปพระพุทธรูปปางมารวิชัยบนฐานเขียง องค์พระไม่ตัดชิดแบบพระท่ากระดานทั่วๆไป พระเกศขององค์พระแหลมแต่สั้นไม่โค้งงอ
ด้านหลัง เรียบ ไม่มีอักขระยันต์ใดๆ
พระท่ากระดาน หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว ปี พ.ศ. ๒๕๐๐
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ มีลักษณะเป็นพระพิมพ์ท่ากระดานเนื้อชินตะกั่ว โดยท่านรวบรวมตะกั่วโบราณ หรือ เนื้อชินโบราณ ซึ่งลูกศิษย์ได้นำมาถวายเป็นส่วนผสมหลักในการสร้างพระ จัดเป็นพระเครื่องเนื้อชินตะกั่วที่เป็นพิมพ์มาตรฐานอีกพิมพ์หนึ่งของหลวงพ่อ ที่ค่อนข้างจะหาได้ยาก จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
![]() |
พระท่ากระดาน หลวงพ่อเหรียญ วัดหนองบัว กาญจนบุรี ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ |
ด้านหน้า
เป็นรูปพระพุทธรูปปางมารวิชัยบนฐานเขียง แบบพระท่ากระดานกรุศรีสวัสดิ์ พระเกศขององค์พระโค้งงอไปทางขวาขององค์พระ
ด้านหลัง เรียบ ไม่มีอักขระยันต์ใดๆ
เหรียญปั๊มรูปเหมือนหลวงปู่ยิ้ม-หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ มีลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปเสมาแบบมีหูในตัว สร้างด้วยเนื้อโลหะทองแดงกระไหล่ทองเพียงชนิดเดียวเท่านั้น จัดเป็นพระเครื่องที่เป็นพิมพ์มาตรฐานอีกพิมพ์หนึ่งของหลวงพ่อ จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
![]() |
เหรียญปั๊มรูปเหมือนหลวงปู่ยิ้ม-หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว กาญจนบุรี ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ |
ด้านหน้า
เป็นรูปจำลองหลวงปู่ยิ้ม ครึ่งองค์ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระอุปัชฌาย์ยิ้ม จนฺทโชติ วัดหนองบัว จ.กาญจนบุรี"
ด้านหลัง เป็นรูปจำลองหลวงปู่เหรียญ ครึ่งองค์ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระโศภนสมาจาร หลวงพ่อเหรียญ"
แหวนเงินลงถมหลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ มีลักษณะเป็นแหวนสร้างขึ้นจากเนื้อเงิน แล้วจึงทำการลงถม เพื่อให้เกิดเป็นรูปหลวงปู่ยิ้ม จัดเป็นพระเครื่องที่เป็นพิมพ์มาตรฐานอีกพิมพ์หนึ่งของหลวงพ่อ จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
![]() |
แหวนเงินลงถมหลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว กาญจนบุรี ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ |
ด้านหน้า
เป็นรูปจำลองหลวงปู่ยิ้ม ครึ่งองค์ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "หลวงพ่อยิ้ม"
ด้านหลัง ท้องแหวนเรียบ ไม่มีอักขระยันต์ใดๆ
แหวนเงินลงถมหลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ มีลักษณะเป็นแหวนสร้างขึ้นจากเนื้อเงิน แล้วจึงทำการลงถม เพื่อให้เกิดเป็นรูปหลวงปู่เหรียญ จัดเป็นพระเครื่องที่เป็นพิมพ์มาตรฐานอีกพิมพ์หนึ่งของหลวงพ่อ จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
![]() |
แหวนเงินลงถมหลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว กาญจนบุรี ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ |
ด้านหน้า เป็นรูปจำลองหลวงปู่เหรียญ ครึ่งองค์ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระโสภนสมาจาร"
ด้านหลัง ท้องแหวนเรียบ ไม่มีอักขระยันต์ใดๆสิงห์งาแกะหลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ มีลักษณะเป็นสิงห์แกะ สร้างขึ้นจากงาช้าง แต่ก็มีที่สร้างจากไม้เสาโบสถ์ พุทธศิลป์มีทั้งแบบที่ยืนธรรมดาและแบบที่ยกเท้าหน้าหนึ่งข้าง มีทั้งขนาดใหญ่ กลาง และเล็ก โดยแบ่งออกเป็นแบบ ๒ ขวัญ และ ๓ ขวัญ จัดเป็นเครื่องรางที่เป็นพิมพ์มาตรฐานอีกพิมพ์หนึ่งของหลวงพ่อ การเล่นหาควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
![]() |
สิงห์งาแกะหลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว กาญจนบุรี ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ (๒ ขวัญ) |
![]() |
สิงห์งาแกะหลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว กาญจนบุรี ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ (ยกขา ๒ ขวัญ) |
![]() |
สิงห์งาแกะหลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว กาญจนบุรี ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ (ยกขา ๓ ขวัญ) ของคุณอัทธพล |
ด้านหน้า เป็นรูปจำลองเป็นรูปสิงห์แกะจากงา ศิลปะเชิงช่างมีเอกลักษณ์คือขวัญจะต้องคล้ายเลขหนึ่งไทย ดวงตราของสิงห์ลงชาดสีแดงสด
ด้านหลัง เรียบ ไม่มีอักขระยันต์ใดๆ ในบางองค์มีรอยจารคชสีห์งาแกะหลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ มีลักษณะเป็นคชสีห์แกะ สร้างขึ้นจากงาช้าง แต่ก็มีที่สร้างจากไม้เสาโบสถ์ จัดเป็นเครื่องรางที่เป็นพิมพ์มาตรฐานอีกพิมพ์หนึ่งของหลวงพ่อ การเล่นหาควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
![]() |
คชสีห์งาแกะ หลวงพ่อเหรียญ วัดหนองบัว กาญจนบุรี ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ ของคุณอัทธพล |
ด้านหน้า เป็นรูปจำลองเป็นรูปคชสีห์แกะจากงา ศิลปะเชิงช่างมีเอกลักษณ์
ด้านหลัง เรียบ ไม่มีอักขระยันต์ใดๆ ในบางองค์มีรอยจารและอุดผงนางกวักงาแกะหลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ มีลักษณะเป็นนางกวักแกะด้วยงา แบบลอยองค์ แต่ก็มีที่สร้างจากไม้เสาโบสถ์ จัดเป็นเครื่องรางที่เป็นพิมพ์มาตรฐานอีกพิมพ์หนึ่งของหลวงพ่อ การเล่นหาควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
![]() |
นางกวักงาแกะหลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว กาญจนบุรี ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ ของคุณพัชรพล |
![]() |
นางกวักงาแกะหลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว กาญจนบุรี ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ ของคุณพัชรพล |
ด้านหน้า เป็นรูปจำลองเป็นรูปนางกวักลอยองค์แกะจากงา ศิลปะเชิงช่างมีเอกลักษณ์
ด้านหลัง เรียบ ไม่มีอักขระยันต์ใดๆ ในบางองค์มีรอยจารพระกริ่งก้นย่ามหลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว (กริ่งหลังยันต์)
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ พร้อมพระชุดเนื้อผงหลวงปู่เหรียญและเครื่องราง ลักษณะเป็นพระกริ่งเนื้อทองผสมแก่ทองเหลือง จัดเป็นพระกริ่งรุ่นเดียวที่หลวงปู่เหรียญท่านได้สร้างไว้ พระกริ่งหลังยันต์พุทธ(กริ่งก้นย่าม)หลวงปู่สร้างไว้น้อยมาก ท่านจะแจกเฉพาะญาติโยมที่ใกล้ชิด ท่านจะหยิบจากก้นย่ามออกมาแจกในสมัยนั้น จึงเป็นที่มาของการเรียกขาน ของชื่อ "พระกริ่งก้นย่าม" จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้![]() |
พระกริ่งก้นย่าม หลวงพ่อเหรียญ วัดหนองบัว กาญจนบุรี ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ |
ด้านหน้า เป็นรูปจำลองเป็นรูปพระกริ่ง มือข้างซ้ายถือบาตรน้ำมนต์ ประทับนั่งบนฐานบัวคว่ำบัวหงาย
ด้านหลัง มีอักขระยันต์ตัว "พุท" ลึกลงไปที่ฐานพระ
ด้านใต้ฐาน เรียบ มีรอยจาร
ตะกรุดลูกอม ลงหัวใจโลกธาตุ หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ เป็นต้นมา โดยตะกรุดโลกธาตุนี้หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว ท่านสำเร็จวิชาตะกรุดโลกธาตุ มีพระเกจิที่เป็นลูกศิษย์ลูกหามาร่ำเรียนกับหลวงปู่ยิ้มหลายองค์ และหลวงปู่เหรียญก็เป็นหนึ่งในผู้ที่สำเร็จวิชาตะกรุดโลกธาตุ ซึ่งตะกรุดของหลวงปู่เหรียญจะมีการสร้างเนื้อทองคำ เนื้อเงิน เนื้อนาค เนื้อกระดาษสา และเนื้อทองแดง
![]() |
ตะกรุดโลกธาตุ หลวงพ่อเหรียญ วัดหนองบัว กาญจนบุรี เนื้อทองแดง ของคุณแจ็ค เชียงดาว |
โดยเอกลักษณ์คือการคลิบปลายเป็นแนวโค้งสวยได้รูป ยุคต้นจะม้วยด้วยแกนไม้จึงไม่แน่น และมีการโรยผงลงในช่องว่างระหว่างแผ่นโลหะ ส่วนยุคหลังจะม้วนด้วยเครื่องม้วน ม้วนแน่นและไม่คลายง่ายๆ
เชือกคาดเอวพร้อมตะกรุดเงิน หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว
สร้างขึ้นก่อนปี พ.ศ. ๒๕๐๓ ลักษณะจะเป็นเชือกด้ายดิบกวั้น จัดเป็นของดีหายาก
โดยหลวงปู่เหรียญท่านนำผ้าขาวมาจารยันต์ลงอาคม
แล้วถักเป็นเชือกคาดเอวด้วยมือท่านเองทั้งเส้น และท่านจะสร้างพร้อมตะกรุดเงินจารมืออีกหนึ่งดอก
![]() |
เชือกคาดเอวหลวงพ่อเหรียญ วัดหนองบัว กาญจนบุรี |
โดยที่จะใช้เชือกที่ควั้นเสร็จแล้วสอดเข้าไปในรูตะกรุด
โดยตะกรุดส่วนใหญ่ที่พบจะเป็นตะกรุดเงิน มีขนาดยาวตั้งแต่ ๒.๕ - ๕ นิ้ว
จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
ขันน้ำมนต์ไม้ส้มป่อย หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว
สร้างขึ้นปี พ.ศ. ๒๔๙๗ ลักษณะจะเป็นขันน้ำไว้สำหรับใส่หรือทำน้ำมนต์ โดยใช้ไม้ส้มป่อยมาแกะเป็นรูปขัน จัดเป็นของดีหายาก โดยหลวงปู่เหรียญท่าน จะนำพระปิดตา โดยหลวงปู่เหรียญท่าน จะนำพระปิดตามาติดไว้ที่ก้นขัน แล้วจึงจารอักขระยันต์ต่างๆ ตามตำราการสร้างของอาจารย์ของท่าน แล้วจึงทำการลงรักปิดทองที่ขอบขัน เพื่อเป็นการรักษาเนื้อไม้และเนื้อพระปิดตาที่อยู่ภายในขัน![]() |
ขันส้มป่อยหลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว กาญจนบุรี ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ ของพันเอกนำพล คงพันธ์ |
เชื่อกันว่าสามารถเอาไว้ทำน้ำมนต์โดยไม่ต้องเสกถาคาใดๆ เพียงแค่ตักน้ำแล้วระลึกถึงคุณของพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ น้ำภายในขันก็จะมีความศักดิ์สิทธิ์ สามารถเอาไว้ดื่มกินหรือประพรมเพื่อเป็นศิริมงคลและแก้คุณไสย์ต่างๆได้เป็นอย่างดี
ปัจจุบันวัตถุมงคลของหลวงปู่เหรียญได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะพระปิดตาของท่านนั้นได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ไม่แพ้พระปิดตาของหลวงปู่ยิ้มผู้เป็นอาจารย์เลย นับวันยิ่งราคาสูงขึ้นๆทุกวัน ราคาตั้งแต่หลักพันต้นถึงหลักแสน แล้วแต่พิมพ์และความสวยขององค์
พระเครื่องของหลวงปู่ท่านจัดได้ว่าเป็นพระที่มีศิลปะสวยงาม มีเอกลักษณ์ สามารถจดจำได้ง่าย ทั้งยังมีประสบการณ์เด่นชัดมาตลอดหลายสิบปี หลวงพ่อเหรียญนับว่าเป็นพระเกจิอาจารย์ที่รู้จัก มีชื่อเสียงในด้านเมตตามหานิยม อำนวยโชคลาภ และป้องกันเภทภัยให้กับผู้บูชา ได้รับการกล่าวขวัญถึงมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบันนี้
นอกจากนี้ท่านยังเป็นพระอาจารย์ของหลวงพ่อลำไย วัดทุ่งลาดหญ้า ผู้ซึ่งเป็นพระนักพัฒนาของเมืองกาญจนบุรีอีกด้วย.
โดย : สารานุกรมพระเครื่องลุ่มน้ำแม่กลอง
บทความที่เกี่ยวข้อง
***-[เป็นกำลังใจและสนับสนุนให้เราเขียนบทความดีๆ ช่วยกดดูโฆษณาด้านล่างนะคะ]-***
ไม่มีความคิดเห็น