โฆษณาแนวนอน728*90

บทความใหม่

ประวัติและวัตถุมงคลหลวงพ่อพิมพ์มาลัย (มาลโย) วัดหุบมะกล่ำ ราชบุรี เจ้าของวิชาเข็มทองอันลือชื่อ

พระอาจารย์พิมพ์มาลัย วัดหุบมะกล่ำ  ราชบุรี

         หลวงพ่อพิมพ์มาลัย วัดหุบมะกล่ำ ท่านมีนามเดิมว่า พิมพ์ มาลัย พื้นเพท่านเป็นคนเพชรบุรี เกิดปี พ.ศ. ๒๔๔๑ โยมบิดาชื่อนายพา มาลัย โยมมารดาชื่อนางอ่วม มาลัย ถือกำเนิดที่บ้านหนองรี ตำบลบ้านเลือก อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ท่านเป็นบุตรคนที่ ๔ ในจำนวน ๕ คน

         ชีวิตในวัยเยาว์ท่านดำเนินอย่างเรียบง่ายเหมือนชาวชนบททั่วๆไป และเมื่ออายุครบเกณฑ์ท่านได้เข้าเป็นทหารรับใช้ชาติในหน่วยเสนารักษ์ที่ราชบุรีอยู่ ๖ ปี

         ปี พ.ศ. ๒๔๖๗  ซึ่งในขณะนั้นหลวงพ่อมีอายุได้ ๒๖ ปี ท่านเกิดความเบื่อหน่ายในชีวิตฆราวาส จึงลาออกจากทหาร มาอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดโตนดหลวง จังหวัดเพชรบุรี ได้ฉายาว่า "มาลโย" โดยมี

         พระอาจารย์แช่ม วัดบางนา เป็นพระอุปัชฌาย์ 
         หลวงพ่อทองศุข วัดโตนดหลวง เป็นพระกรรมวาจา

         หลังจากอุปสมบทหลวงพ่อพิมพ์มาลัย ได้จำพรรษาอยู่วัดโตนดหลวงโดยมี หลวงพ่อทองศุข ประสิทธิ์ประสาทสรรพวิชาต่างๆ อย่างเต็มที่โดยไม่ปิดบัง และท่านก็เรียนอย่างวิริยะอุตสาหะจนสำเร็จและเข็มขลัง จนเป็นที่ไว้วางใจของหลวงพ่อทองศุข ขนาดให้ท่านซึ่งบวชไม่นานสักยันต์ครูในสายวัดโตนดหลวงแทนท่านได้

         หลวงพ่อพิมพ์มาลัย นอกจากร่ำเรียนวิชามาจากหลวงพ่อทองศุขแล้ว ท่านยังเรียนวิชาฝังเข็มทอง โดยท่านเรียนมาจาก พระอาจารย์สมพงษ์ วัดหนองไม้เหลือง เพชรบุรี ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะคือหากทำสำเร็จเข็มทองที่ประจุอาคม จะสามารถวิ่งผ่านชั้นหนังไปยังส่วนต่างๆของร่างกายโดยไม่เกิดอันตราย ซึ่งแตกต่างจากการฝังเข็มทั่วไปคือเป็นเข็มตายอยู่กับที่

         หลวงพ่อพิมพ์มาลัย ท่านเรียนอย่างวิริยะมานะเป็นที่สุด คือต้องฝึกกันอย่างจริงจังยากที่จะสำเร็จกันง่ายๆ เมื่อสำเร็จท่านยังต้องธุดงค์เพื่อหาที่บำเพ็ญเพียรเพื่อให้จิตใจเข็มแข็ง จนสามารถเสกเข็มที่แช่ในน้ำมันงาลอยขึ้นมาได้ 


         หลวงพ่อพิมพ์มาลัย ท่านธุดงค์เรื่อยมาจนราวปี พ.ศ. ๒๕๐๒ โยมมารดาท่านป่วย ท่านจึงขึ้นจากวัดมาลัย เพื่อดูแลโยมมารดาท่านที่บ้านหนองรี ในช่วงนั้นพอดีวัดหุบมะกล่ำ กำลังทรุดโทรมอย่างหนัก ไม่ว่าโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ เสนาสนะและถาวรวัตถุอื่นๆ เกือบจะหาชิ้นดีแทบไม่ได้ 

         มีหลวงตาแก่ๆชื่อหลวงตาปิ้น ปัญญาพโล (โยมตาพระอาจารย์ป้อม วัดหนองม่วง อดีตผู้ใหญ่บ้าน บ้านหุบมะกล่ำ) องค์เดียวเท่านั้นที่รักษาวัด ยิ่งทำอะไรไม่ได้มากคงปล่อยตามยถากรรม ความที่ท่านเป็นเกลอเก่ากับหลวงตาปิ้น และเพื่ออยู่ดูแลโยมมารดาท่าน ท่านจึงปลงใจบูรณะวัดหุบมะกล่ำแต่นั้นมา

          หลวงพ่อพิมพ์มาลัย วัดหุบมะกล่ำ ท่านมรณภาพลงด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ สิริอายุได้ ๗๘ ปี ๕๒ พรรษา


วัตถุมงคลของหลวงพ่อพิมพ์มาลัย

          เหรียญหลวงพ่อพิมพ์มาลัย วัดหุบมะกล่ำ รุ่นแรก

          สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๔ ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่ แบบมีหูในตัว สร้างด้วยเนื้อทองแดง และเนื้ออัลปาก้า จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

เหรียญหลวงพ่อพิมพ์มาลัย วัดหุบมะกล่ำ รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๕๐๔ เนื้อทองแดง

เหรียญหลวงพ่อพิมพ์มาลัย วัดหุบมะกล่ำ รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๕๐๔ เนื้ออัลปาก้า

         ด้านหน้า เป็นรูปหลวงพ่อพิมพ์มาลัย เต็มองค์ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ ประทับนั่งสมาธิบนฐานเขียง บนรูปหลวงพ่อมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระอาจารย์ พิมพ์มาลัย"

         ด้านหลัง เป็นยันต์พระเจ้าห้าพระองค์ ใต้ยันต์มีเลขไทยเขียนว่า "๒๕๐๔" ซึ่งหมายถึงปีที่สร้างเหรียญ

          เหรียญหลวงพ่อพิมพ์มาลัย วัดหุบมะกล่ำ รุ่น ๒

          สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๑ ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่ แบบมีหูในตัวเหมือนเหรียญรุ่นแรก โดยใช้แม่พิมพ์ด้านหน้าตัวเดิมมาใช้ในการปั๊มเหรียญ สร้างด้วยเนื้ออัลปาก้าเพียงชนิดเดียว จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

เหรียญหลวงพ่อพิมพ์มาลัย วัดหุบมะกล่ำ รุ่น ๒  ปี พ.ศ. ๒๕๑๑ เนื้ออัลปาก้า

         ด้านหน้า เป็นรูปหลวงพ่อพิมพ์มาลัย เต็มองค์ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ ประทับนั่งสมาธิบนฐานเขียง บนรูปหลวงพ่อมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระอาจารย์ พิมพ์มาลัย"

         ด้านหลัง เป็นยันต์ ใต้ยันต์มีเลขไทยเขียนว่า "๒๕๑๑" ซึ่งหมายถึงปีที่สร้างเหรียญ

          เหรียญหลวงพ่อพิมพ์มาลัย วัดหุบมะกล่ำ รุ่น ๓

          สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๖ ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่ แบบมีหูในตัวเหมือนเหรียญรุ่นสอง โดยใช้แม่พิมพ์ด้านหน้าตัวเดิมมาใช้ในการปั๊มเหรียญ สร้างด้วยเนื้ออัลปาก้า และเนื้อทองแดง จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้

เหรียญหลวงพ่อพิมพ์มาลัย วัดหุบมะกล่ำ รุ่น ๓  ปี พ.ศ. ๒๕๑๖ เนื้อทองแดง

เหรียญหลวงพ่อพิมพ์มาลัย วัดหุบมะกล่ำ รุ่น ๓  ปี พ.ศ. ๒๕๑๖ เนื้ออัลปาก้า

         ด้านหน้า เป็นรูปหลวงพ่อพิมพ์มาลัย เต็มองค์ห่มจีวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ ประทับนั่งสมาธิบนฐานเขียง บนรูปหลวงพ่อมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พระอาจารย์ พิมพ์มาลัย"

         ด้านหลัง เป็นยันต์ ใต้ยันต์มีเลขไทยเขียนว่า "๒๕๑๖" ซึ่งหมายถึงปีที่สร้างเหรียญ

         พระนาคปรก หลวงพ่อพิมพ์มาลัย วัดหุบมะกล่ำ

         สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๖ ลักษณะเป็นพระนาคปรกขนาดเล็ก มีการสร้างด้วยเนื้อเงิน และเนื้อทองแดง จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้ เล่ากันว่า พระนาคปรกที่ท่านสร้างปลุกเสกจนบินได้ต่อหน้าลูกศิษย์ และประสบการณ์ที่ชาวบ้านต่างพบเจอเรื่องความแคล้วคลาดคงกระพัน

ปรกหลวงพ่อพิมพ์มาลัย วัดหุบมะกล่ำ รุ่นแรก  ปี พ.ศ. ๒๕๑๖ เนื้อเงิน

ปรกหลวงพ่อพิมพ์มาลัย วัดหุบมะกล่ำ รุ่นแรก  ปี พ.ศ. ๒๕๑๖ เนื้อทองแดง

         ด้านหน้า เป็นรูปพระพุทธรูปปางนาคปรก องค์พระประทับนั่งปางมารวิชัย

         ด้านหลัง เป็นยันต์ 

         พระนาคปรก หลวงพ่อพิมพ์มาลัย วัดหุบมะกล่ำ หลังพระเจ้าห้าพระองค์

         สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๖ ลักษณะเป็นพระนาคปรกขนาดเล็ก มีการสร้างด้วยเนื้อเงิน  เนื้อนวโลหะ และเนื้อทองแดง ทุกเหรียญจะมีการตอกโค้ด จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้ เล่ากันว่าพระนาคปรกที่ท่านสร้างปลุกเสกจนบินได้ต่อหน้าลูกศิษย์ และประสบการณ์ที่ชาวบ้านต่างพบเจอเรื่องความแคล้วคลาดคงกระพัน

ปรกพระอาจารย์พิมพ์มาลัย วัดหุบมะกล่ำ รุ่นแรก 2516 เงิน
ปรกหลวงพ่อพิมพ์มาลัย วัดหุบมะกล่ำ รุ่นแรก  หลังยันต์พระเจ้าห้าพระองค์ ปี พ.ศ. ๒๕๑๖ เนื้อเงิน

ปรกหลวงพ่อพิมพ์มาลัย วัดหุบมะกล่ำ รุ่นแรก  หลังยันต์พระเจ้าห้าพระองค์ ปี พ.ศ. ๒๕๑๖ เนื้อทองแดง

         ด้านหน้า เป็นรูปพระพุทธรูปปางนาคปรก องค์พระประทับนั่งปางมารวิชัย

         ด้านหลัง เป็นยันต์พระเจ้าห้าพระองค์ อ่านได้ว่า "นะ โม พุท ธา ยะ" มีอักขระตัว "อุ" อยู่ตรงกลาง

         พระสมเด็จไพ่ตองหลวงพ่อพิมพ์มาลัย วัดหุบมะกล่ำ

         สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๖ ลักษณะเป็นพระสมเด็จพิมพ์สี่เหลี่ยมผืนผ้า สร้างด้วยเนื้อผงที่หลวงพ่อพิมพ์มาลัยเป็นผู้เก็บรวบรวม จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้ โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น ๓ พิมพ์คือ พิมพ์หลังยันต์นะ พิมพ์หลังเรียบ และพิมพ์หลังยันต์ครู แบบในตัวอย่าง

สมเด็จหลวงพ่อพิมพ์มาลัย วัดหุบมะกล่ำ พิมพ์หลังยันต์ครู ปี พ.ศ. ๒๕๑๖

         ด้านหน้า เป็นรูปพระพุทธรูปปางสมาธิบนฐาน ๗ ชั้น แบบพระสมเด็จหูบายศรี ทั่วไป

         ด้านหลัง มีทั้งหมด ๓ พิมพ์ คือหลังเรียบ หลังยันต์นะ และหลังยันต์ครู 

          พระบูชาหลวงพ่อพิมพ์มาลัย วัดหุบมะกล่ำ รุ่นแรก

         สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๑ เป็นพระรูปหล่อบูชาขนาดหน้าตัก ๕ นิ้ว โรงช่างหล่อบุญยผลเป็นผู้รับหล่อ โดยจัดพิธีหล่อที่วัดหุบมะกล่ำในราวเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๑ สร้างด้วยเนื้อโลหะทองเหลืองรมดำ จัดเป็นรูปหล่อบูชารุ่นแรกของหลวงพ่อพิมพ์มาลัย วัดหุบมะกล่ำ สร้างจำนวน ๑๐๘ องค์ โดยออกให้บูชากับผู้ที่ร่วมทำบุญตั้งแต่ ๖๐๐ บาท ขึ้นไป

พระบูชาหลวงพ่อพิมพ์มาลัย วัดหุบมะกล่ำ รุ่นแรก ปี พ.ศ. 2511
พระบูชาหลวงพ่อพิมพ์มาลัย วัดหุบมะกล่ำ รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๕๑๑

         ด้านหน้า เป็นรูปหลวงพ่อพิมพ์มาลัย นั่งสมาธิเต็มองค์บนฐานเขียง องค์หลวงพ่อห่มจัวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "หลวงพ่อพิมพ์มาลัย มาลโย ๔ พ.ค. ๒๕๑๑"

         ด้านหลัง ไม่มีอักขระภาษาไทยใดๆ ใต้ฐานเป็นดินไทย

         รูปหล่อหลวงพ่อพิมพ์มาลัย วัดหุบมะกล่ำ รุ่นแรก

         สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๑ รูปหล่อเนื้อทองแดงรุ่นนี้ทางวัดหุบมะกล่ำ ได้ว่าจ้างโรงช่างหล่อบุญยผลเป็นผู้รับหล่อ โดยทำการหล่อที่โรงหล่อ ซึ่งพระทุกองค์จะบรรจุเข็มทองหลวงพ่อไว้ในองค์พระ เมื่อสร้างเสร็จแล้วจึงนำมาให้หลวงพ่อพิมพ์มาลัย แจกแก่บรรดาศิษย์ของท่านในโอกาสต่างๆ แต่มาแจกมากที่สุดในงานฉลองอายุครบ ๖ รอบ ของท่านเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๓ สร้างจำนวน ๔,๖๙๑ องค์

รูปหล่อหลวงพ่อพิมพ์มาลัย วัดหุบมะกล่ำ รุ่นแรก ปี พ.ศ. 2513
รูปหล่อหลวงพ่อพิมพ์มาลัย วัดหุบมะกล่ำ รุ่นแรก ปี พ.ศ. ๒๕๑๑

ฐานรูปหล่อหลวงพ่อพิมมาลัย วัดหุบมะกล่ำ ราชบุรี ฝังเข็มทอง 2511
รูปหล่อหลวงพ่อพิมพ์มาลัย วัดหุบมะกล่ำ ที่มีการบรรจุเข็มทองไว้ภายใน ภาพของคุณโอ

          ด้านหน้า เป็นรูปหลวงพ่อพิมพ์มาลัย นั่งสมาธิเต็มองค์บนฐานเขียง องค์หลวงพ่อห่มจัวรลดไหล่พาดผ้าสังฆาฏิ มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "หลวงพ่อพิมพ์มาลัย" ที่สังฆาฏิมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "พุทฺโธ"

         ด้านหลัง มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "วัดหุบมะกล่ำ" ที่สังฆาฏิมีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "อุตฺธงฺ อตฺโท" ใต้ฐานมีรอยอุดด้วยทองแดง มีการตอกโค้ด


โดย : สารานุกรมพระเครื่องลุ่มน้ำแม่กลอง

บทความที่เกี่ยวข้อง



***-[เป็นกำลังใจและสนับสนุน​ให้เราเขียนบทความดีๆ ช่วยกดดูโฆษณาด้านล่างนะคะ]-***

ไม่มีความคิดเห็น

ค้นหาบล็อกนี้