ประวัติและวัตถุมงคลหลวงพ่อเบี้ยว วัดตะโหนดราย
![]() |
หลวงพ่อเบี้ยว วัดตะโหนดราย สมุทรสงคราม |
หลวงพ่อเบี้ยว (พรหมสโร) วัดตะโหนดราย จังหวัดสมุทรสงคราม ท่านเป็นพระเกจิยุคเก่าของเมืองแม่กลอง ที่ไม่มีการจดบันทึกหลักฐานใดๆ มีเพียงภาพถ่ายของท่านที่ยังตกทอดมาถึงคนรุ่นหลัง ให้ได้ศึกษาค้นคว้ากันเพียงเท่านั้น
วัดตะโหนดราย เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลบางกระบือ อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม
วัดตะโหนดราย ได้ขอตั้งเป็นวัดเมื่อปี
พ.ศ. ๒๓๓๕ ในสมัยรัชกาลที่ ๑
แต่เดิมเป็นสวนต้นตาลโตนดเรียงรายอยู่หลายต้นจึงได้ชื่อว่า "วัดตะโหนดราย"
ต่อมามีนายปาน และนางแป้ง ได้ช่วยสร้างอุโบสถให้ ๑ หลัง และกุฏิสงฆ์อีก ๕ หลัง ซึ่งปัจจุบันนี้ทรุดโทรมไปหมดแล้ว
และได้ซ่อม สร้าง ปฏิสังขรณ์ใหม่ ต่อมานางลำภู รุ่งเจริญ ได้ถวายที่ดินให้เป็นที่ธรณีสงฆ์ของวัด ๑ แปลง ขนาดเนื้อที่ ๑๒ ไร่ และ เป็นผู้มีศรัทธาอุปถัมภ์วัดด้วยดีเสมอมา
ต่อมาท่านกำนันกรึง รุ่งเจริญ และนางเม้ย รุ่งเจริญ ผู้เป็นภรรยาได้เป็นผู้นำประชาชนร่วมจัดหาทุนสร้างอาคารเรียนขึ้น ๑ หลัง ให้ชื่อว่า โรงเรียนศึกษารุ่งเจริญ
วัดตะโหนดราย ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๕ ในสมัยรัชกาลที่ ๕หลวงพ่อเบี้ยว ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดตะโหนดรายเมื่อใดไม่มีการจดบันทึกไว้ ทราบแค่เพียงว่าท่านมรณภาพลงเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๔
วัตถุมงคลของหลวงพ่อเบี้ยว วัดตะโหนดราย
เหรียญหลวงพ่อเบี้ยว วัดตะโหนดราย รุ่นแรก
สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๘๔ เพื่อเป็นที่ระลึกในงานศพของหลวงพ่อเบี้ยว โดยเหรียญรุ่นนี้ได้หลวงพ่อบ่าย วัดช่องลมเป็นผู้ปลุกเสก ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่แบบมีหูในตัว มีการสร้างขึ้นด้วยเนื้อทองแดง และเนื้ออัลปาก้า จำนวนการสร้างไม่ได้มีการจดบันทึกไว้
![]() |
เหรียญหลวงพ่อเบี้ยว วัดโตนดลาย สมุทรสงคราม ปี พ.ศ. ๒๔๘๔ เนื้อทองแดง |
![]() |
เหรียญหลวงพ่อเบี้ยว วัดโตนดลาย สมุทรสงคราม ปี พ.ศ. ๒๔๘๔ เนื้ออัลปาก้า |
ด้านหน้า เป็นรูปจำลองหลวงพ่อเบี้ยว นั่งเต็มองค์มือทั้ง ๒ ข้างจับที่หัวเข่า องค์หลวงพ่อนั่งบนอาสนะสวยงาม มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า "ที่ระลึกในงานศพ พระครู(พรหมสโร)"
ด้านหลัง มีอักขระยันต์เกราะเพชรอยู่กลางเหรียญ และไม่ปรากฏอักขระภาษาไทยใดๆ
โดย : สารานุกรมพระเครื่องลุ่มน้ำแม่กลอง
บทความที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีความคิดเห็น